ห้างหุ้นส่วนและบริษัท

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ห้างหุ้นส่วนและบริษัท by Mind Map: ห้างหุ้นส่วนและบริษัท

1. บริษัทจำกัด

1.1. การจัดตั้งบริษัทจำกัด

1.1.1. มาตรา 1012

1.1.2. มาตรา 1096

1.1.2.1. บริษัทจำกัดคือ บริษัทที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมูลค่าเท่าๆกัน

1.1.2.2. โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

1.1.3. มาตรา 1097

1.1.3.1. บุคคลใดๆตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก้ได้ โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำอย่างอื่นตามบทบัญญัติกฎหมายนี้

1.1.4. มาตรา 1098

1.1.4.1. หนังสือบริคณห์สนธินั้นต้องมีรายการดังต่อไปนี้

1.1.4.1.1. 1.ชื่อบริษัทที่ต้องมีคำว่า "จำกัด" ต่อท้าย

1.1.4.1.2. 2.ที่ตั้งสำนักงานของบริษัท

1.1.4.1.3. 3.วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท

1.1.4.1.4. 4.ถ้อยคำที่ดำแดงว่า ความรับผิดของผู้ถือหุ้นมีจำกัด

1.1.4.1.5. 5.จำนวนทุน หุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าไร

1.1.4.1.6. 6.ชื่อ สำนัก อาชีวะ และลายมือชื่ของบรรดาผู้เริ่มก่อการและจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าซื้อไว้คนละเท่าไร

1.1.5. มาตรา 1100

1.1.5.1. ผู้เริ่มก่อการทุกคน ต้องลงชื่อซื้อหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น

1.1.6. มาตรา 1108

1.1.6.1. สิ่งที่ต้องทำในการประชุมจัดตั้งบริษัท คือ

1.1.6.1.1. 1.ทำความตกลงตั้งข้อบังคับต่างๆของบริษัท

1.1.6.1.2. 2.ให้สัตยาบันแก่

1.1.6.1.3. 3.วางกำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้ผู้เริ่มก่อการ ถ้าหากมีเจตนาว่าจะให้

1.1.6.1.4. 4.วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ

1.1.6.1.5. 6.เลือกตั้งกรรมการและพนักงานสอบบัญชีอันเป็นชุดแรกของบริษัท และวางกำหนดอำนาจของคนเหล่านี้ด้วย

1.1.7. มาตรา 1110

1.1.7.1. วรรค 1 เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทมอบการทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัท

1.1.7.2. วรรค 2 เมื่อกรรมการได้รับการแล้ว

1.1.7.3. ก็ให้ลงมือจัดการเรียกผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้นที่ลงซึ่งจะต้องเป็นตัวเงิน และเรียกเก็บไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือชวนให้ซื้อหุ้น

1.1.8. มาตรา 1111

1.1.8.1. เมื่อจำนวนเงินที่กล่าวไว้ใน มาตรา 1110 ได้ใช้เสร็จแล้ว กรรมาการต้องไปขอจดทะเบียนบริษัท

1.1.8.2. อนุ 6 ถ้าให้กรรมการต่างมีอำนาจจัดการของบริษัทได้โดยลำพังตัว ก็ให้แสดงอำนวจของกรรมการนั้นๆ ว่าคนใดมีเพียงใด และบอกจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญ

1.2. กรณีที่ประชุมตั้งบริษัทแล้ว เก็บเงินค่าหุ้นแล้ว แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียน

1.2.1. มาตรา 1112

1.2.1.1. ว1 ถ้าการจดทะเบียนไม่ได้ทำภายในสามเดือนตั้งแต่ประชุมตั้งบริษัท ก็ถือว่าบริษัทไม่ได้จัดตั้งขึ้น และเงินที่ได้จากการลงหุ้นของผู้เข่าชื่อซื้อหุ้น ก็ใช้คืนเต็มจำนวนทั้งหมด

1.2.1.2. ว2 ถ้าจำนวนเงินที่ว่านั้นยังค้างอยู่ยังไม่ได้คืนในสามเดือนภายหลังการประชุมตั้งบริษัท ท่านให้กรรมการชุดแรกของบริษัทร่วมกันรับผิดใช้เงินทั้งต้นและดอกเบี้ยที่คิดตั้งแต่เวลาสิ้นกำหนดสามเดือน

1.2.1.3. ว3 แต่ถ้ากรรมการคนใดพิสูจน์ได้ว่า การที่เงินขาดหรือที่ใช้คืนช้าไปไม่ได้เป็นเพราะความผิดของตน กรรมการคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินต้นหรือดอกเบี้ย

1.3. มาตรา 1113

1.3.1. ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกันอย่างไม่จำกัดในบรรดาหนี้และการจ่ายเงิน ไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท

1.4. หุ้นและผู้ถือหุ้น

1.4.1. มาตรา 1117

1.4.1.1. มูลค่าของหุ้นๆหนึ่งนั้นไม่ให้ต่ำกว่าห้าบาท

1.4.2. มาตรา 1118

1.4.2.1. ว1 หุ้นนั้นจะแบ่งแยกไม่ได้

1.4.2.2. ว2 ถ้าบุคคลจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้นเดียวกัน ท่านว่าต้องให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานผู้ถือหุ้น

1.4.2.3. ว3 แต่บุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้นเดียวร่วมกันต้องร่วมความกันรับผิดต่อบริษัทในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น

1.4.3. มาตรา 1120

1.4.3.1. บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งให้ครบนั้น กรรมการจะเรียนกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เว้นแต่การประชุมใหญ่จะวินิจฉัยไว้เป็นอย่างอื่น

1.4.4. 1120+1121ใช้คู่กัน

1.4.5. มาตรา 1121

1.4.5.1. การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นแค่ละครั้งนั้นต้องส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต่ำกว่ายี่สิบเอ็ดวันด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ และผู้ถือหุ้นก็ต้องใช้เงินตามจำนวนที่เรียก สุดแต่กรรมการจะกำหนดว่าให้ส่งไปให้ผู้ใด ณที่ใดและเวลาใด

1.4.6. มาตรา 1123

1.4.6.1. ถ้าผู้ถือหุ้นคนไหนละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันที่กำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งเงินและดอกเบี่ยด้วยก็ได้

1.4.6.2. ในคำบอกกล่าวอันนี้ให้กำหนดวันเวลาไปพอสมควรเพื่อให้ใช้เงินที่เรียกกับทั้งดอกเบี่ย และต้องบอกไปด้วยว่าให้ส่งใช้ ณสถานที่ใด

1.4.6.3. แต่คำบอกกล่าวนั้นจะแจ้งไปด้วยก็ได้ว่า ถ้าถ้ายังไม่ใช้เงินตามเรียก หุ้นก็อาจจะถูกริบ

1.4.6.4. เมื่อหุ้นถูกริบไปจะนำไปหายทอดตลาด

1.4.7. มาตรา 1125

1.4.7.1. หุ้นเมื่อริบแล้วให้เอาไปขายทอดตลาดโดยเร็วที่สุด ได้จำนวนเงินเท่าใดให้หักใช้ค่าหุ้นและดอกเบี่ยค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือก็ให้ส่งคือแก่ผู้ถือหุ้นนั้น

1.4.8. การโอนหุ้น

1.4.8.1. มาตรา 1129

1.4.8.1.1. ว1 หุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยิมจากบริษัท เว้นแต่เป็นชื่อหุ้นชนิดระบุชื่อ ซึ่งมีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

1.4.8.1.2. ว2 การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อในใบลงหุ้นนั้น

1.4.8.1.3. ว3 การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะจดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

1.4.8.2. มาตรา 1130

1.4.8.2.1. หุ้นใดที่ยังมีเงินค่าหุ้นค้างชำระอยู่ หุ้นนั้นบริษัทจะไม่ยอมรับให้จดทะเบียนโอนก็ได้

1.4.8.3. มาตรา 1131

1.4.8.3.1. ในระหว่างสิบสี่วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ บริษัทจะปิดสมัดทะเบียนพักการโอนหุ้นเสียก็ได้

1.4.8.4. มาตรา 1134

1.4.8.4.1. ใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือนั้น จะออกได้ก็ต่อเมื่อ

1.4.8.4.2. ในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ทรงใบหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมมีสิทธิจะได้รับใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ เมื่อเวนคือใบหุ้มชนิดระบุชื่อนั้นให้ขีดฆ่าเสีย

1.4.8.5. มาตรา 1135

1.4.8.5.1. หุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนกันได้ด้วยเพียงส่งมอบใบหุ้นแก่กัน

1.4.8.6. มาตรา 1136

1.4.8.6.1. ผู้ทรงใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ย่อมมีสิทธิมาขอเปลี่ยนเอาใบหุ้นระบุชื่อได้ เมื่อเวนคือใบหุ้นฉบับออกให้แก่ผู้นั้นให้ขีดฆ่าเสีย

1.5. กรรมการ

1.5.1. มาตรา 1150

1.5.1.1. กรรมการจะมีมากน้อยเท่าไหร่ และ จะได้บำเหน็จเท่าไหร่ก็ให้ขึ้นอยู่กับที่ประชุมใหญ่จะกำหนด

1.5.2. มาตรา 1051

1.5.2.1. อันผู้เป็นกรรมาการนั้นจะถูกตั้งหรือถอดถอนได้แค่ในที่ประชุมใหญ่เท่านั้น

1.5.3. มาตรา 1067

1.5.4. มาตรา 1068

1.5.4.1. ค้าขายแข่ง

1.5.4.1.1. ว1 ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้น กรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่อง อย่างบุคคลค้าขายผู้ผู้ประกอบด้วยความระมัดระวัง

1.5.4.1.2. ว2 โดยเฉพาะกรรมาการต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ

1.5.4.1.3. ว3 แต่ท่านไม่ให้กรรมการประกอบการค้าขายใด

1.5.4.1.4. ว4 บทบัญญัติที่กล่าวมานี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนกรรมการด้วย

1.6. บริษัทฟ้องกรรมการ

1.6.1. มาตรา 1169

1.6.1.1. ว1 ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท

1.6.1.1.1. 1.บริษัทจะฟ้องร้องเรียนเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการก้ได้

1.6.1.1.2. 2.หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นก็ว่าได้

1.6.1.2. ว2 อนึ่ง การเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้ เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่

1.7. ประชุมใหญ่

1.7.1. ประชุมสามัญ

1.7.1.1. มาตรา 1171

1.7.1.1.1. ว1 ให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นปรุชุมใหญ่ ภายในหกเดือนตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนบริษัทและก็ให้ประชุมแบบนี้หนึ่งครั้งต่อปี

1.7.1.1.2. ว2 การประชุมเช่นนี้เรียนว่าการประชุมสามัญ

1.7.1.1.3. ว3 การประชุมใหญ่แบบอื่นนอกจากนี้เรียกว่าประชุมวิสามัญ

1.7.2. ประชุมวิสามัญ

1.7.2.1. มาตรา 1172

1.7.2.1.1. ว1 กรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก้ได้สุดจะเห็นสมควร

1.7.2.1.2. ว2 ถ้าบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมาการจะต้องเรียกประชุมวิสามัญทันทีเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบการขาดทุนนั้น

1.7.3. มาตรา 1194

1.7.3.1. การใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรืิ่องนั้นด้วยคะแนนเสียงข้างมาก และไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมด ของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

2. บริษัทมหาชนจำกัด

2.1. การเริ่มจัดตั้งบริษัท

2.1.1. มาตรา 15

2.1.1.1. บริาัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทที่ตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นให้กับประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ ในหนังสือบริคณห์สนธิ

2.2. การโอนหุ้น

2.2.1. มาตรา 57

2.2.1.1. ว1 บริษัทจะกำหนดข้อจำกัดใดๆ ในการโอนหุ้นมิได้ เว้นแต่ข้อจำกัดนั้นๆ จะเป็นไปเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตามกฎหมายหรือเพื่อเป็น การรักษาอัตราส่วนการถือหุ้นของคนไทยกับคนต่างด้าว

2.3. ค้าแข่ง

2.3.1. มาตรา 86

2.3.1.1. ว1 ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของ บริษัทเอกชนหรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง

2.3.1.2. ว2 ในกรณีที่กรรมการคนใดฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่ง บริษัทจะเรียกค่าสินไหมทดแทนในการที่บริษัทได้รับความ เสียหายจากกรรมการคนนั้นก็ได้ ทั้งนี้ ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บริษัททราบถึงการฝ่าฝืนและไม่เกินสองปีนับแต่วันฝ่าฝืน

2.3.1.3. ว3 ในกรณีที่บริษัทไม่ใช้สิทธิเรียกร้องตามวรรคสอง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งหรือหลายคนซึ่งถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจะแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัทดำเนินการเรียกร้องก็ได้ ถ้าบริษัทไม่ดำเนินการตามที่ผู้ถือหุ้น แจ้งภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่แจ้ง หรืออายุความตามวรรคสองเหลือน้อยกว่าหนึ่งเดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวจะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นเพื่อบริษัทก็ได้ และให้นำมาตรา 85 วรรคสอง(2) และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

2.4. การประชุมผุ็ถือหุ้น

2.4.1. มาตรา 98

2.4.1.1. ว1 คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมสามัญประจำปีภายในสี่เดือนนับแต่วัน สิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัท

2.4.1.2. ว2 การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากวรรคหนึ่ง ให้เรียกว่าการประชุมวิสามัญ

2.5. การเพิ่มทุนและการลดทุน

2.5.1. มาตรา 136

2.5.1.1. บริษัทจะเพิ่มทุนจากจำนวนที่จดทะเบียนไว้แล้วได้โดยการออกหุ้นใหม่เพิ่มขึ้น การออกหุ้นเพิ่มตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้เมื่อ (1) หุ้นทั้งหมดได้ออกจำหน่ายและได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้วหรือในกรณีหุ้นยังจำหน่ายไม่ครบหุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นที่ออกเพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมด ของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และ (3) นำมตินั้นไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้นำหมวด 3 และหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

2.5.2. มาตรา 139

2.5.2.1. ว1 บริษัทจะลดทุนจากจำนวนที่จดทะเบียนไว้แล้วได้โดยการลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลงหรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงก็ได้ แต่จะลดทุนลงไปให้ถึงต่ำกว่าจำนวนหนึ่งในสี่ของทุนทั้งหมดหาได้ไม่

2.5.2.2. ว2 การลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้นตามวรรคหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดและด้วยวิธีการอย่างใด จะกระทำได้เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง ทั้งนี้ บริษัทต้องนำมตินั้นไปขอจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ

3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

3.1. ความเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด

3.1.1. มาตรา 1077

3.1.1.1. ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นจะมีหุ้นส่วนสองจำพวก

3.1.1.1.1. 1.หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น

3.1.1.1.2. 2.หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน

3.1.2. มตรา 1078

3.1.2.1. การลงทะเบียนจะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

3.1.2.1.1. 1.ชื่อห้าง

3.1.2.1.2. 2.ข้อความที่บอกว่าห้างเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และวัตถุประสงค์ของห้าง

3.1.2.1.3. 3.ที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขาทั้งหมด

3.1.2.1.4. 4.ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำนวนเงินซึ่งเขาได้ลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน

3.1.2.1.5. 5.ชื่อ ยี่ห้อ สำนัก และอาชีวะของหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด

3.1.2.1.6. 6.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ

3.1.2.1.7. 7.ข้อจำกัดอำนาจห้างหุ้นผู้จัดการ

3.2. มาตรา 1079

3.2.1. อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นท่านบังคับว่าต้องจดทะเบียน

3.2.1.1. ในกรณีที่ห้างไม่ได้จดทะเบียน ห้างจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างอย่างไม่จำกัด ตามมาตรา 1025

3.3. มาตรา 1080

3.3.1. มาตราที่เอาไว้เชื่อมกับมาตราในห้างหุ้นส่วนสามัญ

3.4. นำชื่อของหุ้นส่วนจำกัดควมรับผิดมาใช้เป็นชื่อห้าง 1081+1082

3.4.1. มตรา 1081

3.4.1.1. ห้ามไม่ให้เอาชื่อของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาตั้งเป็นชื่อห้าง

3.4.2. มาตรา 1082

3.4.2.1. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยาย ให้ใช้ชื่อของตนเป็นชื่อห้าง ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนว่าเป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด แต่ในห้างตนยังเป็นหุ้นส่วนแบบจำกัดอยู่

3.5. แสดงตนอวดอ้างว่าตนเป็นคนลงทุนมากหรือผู้จัดการ 1085+1087

3.5.1. มาตรา 1085

3.5.1.1. ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดคนใดได้แสดงตนหรืออวดอ้างให้บุคคลภายนอกทราบว่าตนได้ลงหุ้นมากกว่าที่ตนลงไว้ในการจดทะเบียนเท่าไหร่ ท่านว่าผู้นั้นก็ต้องรับผิดถึงเพียงที่ตนอวดอ้าง

3.5.2. มาตรา 1087

3.5.2.1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่านว่าผู้ที่จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้จะต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นที่เป็นผู้จัดการ

3.6. สอดกิจการของห้าง 1088

3.6.1. ถ้าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดคนใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน ในหนี้ที่ตนสอดเข้าไปเกี่ยวข้อง

3.6.2. ข้อยกเว้น

3.6.2.1. 1.การออกความเห็นและการแนะนำ

3.6.2.2. 2.ออกเสียงเป็นคะแนนนับในการตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มีบังคับไว้ในสัญญาห้างหุ้นส่วน

3.7. การฟ้องหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด 1095

3.7.1. ตราบใดที่ห้างหุ้นส่วนยังไม่ได้เลิกกิจการ ตราบนั้นเจ้าหนี้ของห้างจะฟ้องร้องผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไ่ม่ได้

3.7.2. ถ้าห้างได้เลิกกิจการแล้วเข้าหนี้ของห้างจะมีสิทธิฟ้องร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดได้ดังนี้

3.7.2.1. 1.จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังค้างส่งแกห้างหุ้นส่วน

3.7.2.2. 2.จำนวน

4. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

4.1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

4.1.1. การจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลได้จะต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1015

4.1.1.1. เมื่อห้างจดทะเบียนแล้ว ห้างจะกลายเป็นนิติบุคคลต่างหากจากหุ้นส่วน

4.1.1.1.1. เมื่อห้างผิดนัดชำระหนี้ 1070+1071

4.1.2. การค้าแข่งกับห้าง 1066

4.1.2.1. เกณฑ์ในการค้าแข่งนั้นจะใช้เหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญ

4.1.2.2. หลักในการดูการค้าแข่ง

4.1.2.2.1. 1.กิจการเป็นสภาพดุจเดียวกัน

4.1.2.2.2. 2.และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น

4.1.2.2.3. 3.ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นหรือตนเอง

4.1.2.2.4. 4.หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนไปก่อนหน้า

4.1.2.3. ข้อยกเว้นของการค้าแข่ง

4.1.2.3.1. หุ้นส่วนทุกคนยินยอมให้กระทำ

4.1.2.4. มาตรา 1066 จะใช้ไม่ได้หาก ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้กันอยู่แล้ว ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างอื่นที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนก็ไม่ได้บังคับไว้ว่าให้ถอนตัว

4.1.2.5. มาตรา 1067 ข้อเรียกร้องของหุ้นส่วนต่อผู้ค้าแข่ง

4.1.2.5.1. 1.ห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนจะเอาผลกำไรที่ผู้นั้นหามาได้ทั้งหมด

4.1.2.5.2. 2.หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้น

4.1.2.5.3. ระยะเวลาในการฟ้อง ให้ฟ้องภายในหนึ่งปีตั้งแต่วันที่ทำการฝ่าฝืน

4.2. ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมอย่างไม่จำกัดจำนวนหนี้ ตามมาตรา 1025

4.3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก้ได้ ตามมาตรา 1064 วรรคแรก

4.4. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก

4.4.1. มาตรา 1050 จะมีความสัมพันธ์กับมาตรา 1025 เนื่องจากเนื้อหาในมาตราของ 1050 นั้นมีเนื้อความว่า ถ้ามีหุ้นส่วนคนหนึ่งไปทำกิจการหนึ่งในทางธรรมดาของห้างหากเกิดความเสียหายขึ้นมาอย่างเช่นทำให้เป็นหนี้ หุ้นส่วนทุกคนก็จะต้องรับผิดร่วมกัน เพราะหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีความผูกพันกันในการนั้นๆ ดังนั้น หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันอย่างไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้