ธุรกิจแฟรนไชส์
by Menara Sayaki
1. ความหมาย
1.1. สิทธิพิเศษหรือสิ่งที่บริษัทมอบให้กับผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจ
1.2. ครอบคลุมเกือบทุกขั้นตอนทุกระบบ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้โดย ไม่ต้องมีความรู้หรือมีประสบการณ์มาก่อน ในลักษณะการถ่ายทอดรูปแบบของการทำงานทั้งหมด
1.2.1. เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด
1.2.2. ต้องการให้รูปแบบและวิธีดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบ การในทุกๆสาขาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
2. ลักษณะธุรกิจ
2.1. ต้องมีองค์กระกอบเป็นปัจจัยสำคัญ 3 ประการ
2.1.1. จะต้องมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและ ไม่มีสัญญา
2.1.2. จะต้องมีเครื่องหมายการค้าหรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน
2.1.3. ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee)
3. ข้อดี
3.1. ลดความเสี่ยง: ซึ่งหลายๆ คนได้บอกว่า ต้องการซื้อทั้งแพ็กเกจ ต้องการซื้ออะไรที่สำเร็จรูป คือ ซื้อแฟรนไชส์ (Franchise) แล้วไม่ขาดทุน ซึ่งต้องมีการวิจัยตลาดเสียก่อน
3.2. ได้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและส่วนประสมทางการตลาด: เช่น ถ้าเขาจะทำร้านอาหาร เห็นป้ายนี้แล้วจะต้องอร่อย ตรงนี้เขาจะต้องได้ประโยชน์
3.3. ประหยัดเวลาและเงิน: ใช้แบบระบบบัญชี คือ First in–First out เงินเข้ามาเราต้องเก็บให้นานที่สุด แต่เงินจะออกให้พยายามดึงให้นานที่สุด เช่น การวางบิล
3.4. เส้นทางลัดที่จะได้รับความรู้ทางธุรกิจ: คือใน 1 อาทิตย์ การเรียนรู้ แล้วในอีก 1 อาทิตย์ต่อมา คือการปฏิบัติ
3.5. ได้รับสินค้าและระบบธุรกิจที่มีการวิจัยและพัฒนาใหม่: ก็คือต้องมี Research และ Development ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชน์ (Franchisee)
4. ข้อเสีย
4.1. มีข้อจำกัดในการทำงาน ขาดความเป็นอิสระในการเป็นตัวของตัวเอง: คือ เงื่อนไขตามสัญญาที่ระบุ
4.2. ค่าใช้จ่ายสูงในการชำระค่าธรรมเนียมและผลตอบแทน
4.3. มีโอกาสถูกบอกเลิกสัญญาได้ง่าย: ถ้าผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor) ไม่มีกำหนดในเรื่องของการประกันยอดขาย คุณก็จะเกิดปัญหาตามมาเหมือนกัน
4.4. ความผิดพลาดของผู้ขายแฟรนไชส์: ที่ผ่านมาคนขายแฟรนไชส์ (Franchisor) จะมองว่าเห็นโอกาสธุรกิจดี เร่งขายแฟรนไชส์ (Franchise) โดยไม่มีระบบที่ถูกต้องรองรับ ในฐานะที่เราจะเป็นคนขายแฟรนไชส์ (Franchisor) เราจะต้องมองว่าคนซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) เขาจะมองเราอย่างไร มองว่าเรามีแผนอะไรได้บ้าง สิ่งที่เขามองก็คือ เจ้าของกิจการมีวิสัยทัศน์อย่างไร วิสัยทัศน์ที่จะมองในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อที่เขาจะได้มั่นใจว่า แฟรนไชส์ (Franchise) ที่เขาซื้อมีแผนพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้อง
5. ปัญหาอุปสรรค
5.1. 1.การเริ่มต้นของธุรกิจในการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ไม่ถูก ต้อง เกิดจากเจ้าของธุรกิจมีทัศนคติไม่ถูกต้องในเรื่อง ระบบแฟรนไชส์ อันเนื่องมาจากการขาดการประเมินความพร้อมของธุรกิจ และความเหมาะสมของธุรกิจก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจมักทำตามคนอื่น ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และ การไม่มีวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว
5.2. 2. ระบบการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการบริหารจัดการตลาดไม่มีประสิทธิผล การบริหารงานสาขาบกพร่อง การจัดการแฟรนไชส์ซีไม่ดี และขาดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์และความสามารถทางทรัพย์สินทางปัญญา
5.3. 3.แฟรนไชส์ที่ไม่เป็นระบบ เกิดจากเจ้าของแฟรนไชส์ออกแบบและวางระบบแฟรนไชส์ไม่ละเอียดรอบคอบ และไม่ทีมงานที่จะประสานงานระหว่างองค์กรกับผู้ซื้อ จึงทำให้ขาดการสื่อสารที่ชัดเจน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงแนวคิดและการปฏิบัติที่ถูกต้องได้ ซึ่งรากเหง้าหลักของปัญหาก็คือ “การขาดความรู้ความเข้าใจ การขาดการปฏิบัติ และวิทยาการ (Know-how) ที่ดี” รวมถึงการไม่มีการพัฒนาบุคลากรและทีมงาน และ “การไม่มีวิสัยทัศน์ (Vision) ในการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์ระยะยาว
5.4. 4.อัตราการเติบโตของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ช้ามากเกินไป เกิดจากภาพรวมของธุรกิจในระบบมีความแตกต่างมากเกินไป ธุรกิจที่มีศักยภาพมาตรฐานมีน้อย ทำให้ขาดความเหมาะสมในความคุ้มค่าของการลงทุน นอกจากนี้ ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ไม่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการขยายตัว พร้อมทั้งขาดแนวทางการสร้างทางเลือกในการลงทุนให้กับประชาชน รูปแบบการลงทุนของธุรกิจขาดระบบการสนับสนุน เช่น การกำกับดูแล การจัดหาแหล่งเงินทุน และความเข้าใจของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ เป็นต้น