Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Spinal Cord Injury by Mind Map: Spinal Cord Injury

1. การบาดเจ็บของไขสันหลัง

1.1. 1.การบาดเจ็บแบบปฐมภูมิ (Primary injury)

1.1.1. หมายถึง การบาดเจ็บทางกายภาพของไขสันหลัง (physical tissue disruption) ในขณะที่มีแรงมากระทำต่อเนื้อเยื่อไขสันหลัง ส่งผลให้เนื้อเยื่อไขสันหลังเกิดการฉีดขาด (laceration) ถูกกดทับ (compression) มีแรงเฉือน (shear) หรือเกิดเลือดออก (hemorrhage) ในตัวเนื้อเยื่อไขสันหลัง

1.2. 2.การบาดเจ็บแบบทุติยภูมิ (Secondary injury)

1.2.1. หมายถึง การบาดเจ็บของไขสันหลังในภายหลัง (additional neural tissue damage) จากปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดขึ้นตามมาของร่างกายซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลให้ไขสันหลังขาดเลือดมาเลี้ยง และมีการตายของเซลล์ประสาทไขสันหลังเพิ่มขึ้น

2. การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง

2.1. การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอ (Cervical spine injury)

2.1.1. พยาธิสภาพ

2.1.1.1. กระดูกคอมีทั้งหมด 7 ชิ้น (C1-C7) ถ้าเกิดการบาดเจ็บ ตั้งแต่ C1-C4 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของแขนขาทั้งหมด ตั้งแต่คอลงมา และถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ C5-C7 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของแขนขาทั้งหมด ตั้งแต่ไหล่ลงมา

2.1.2. อาการ

2.1.2.1. หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากกระแสประสาทไม่สามารถควบคุมการหายใจ การทำงานของหัวใจ และการไหลเวียนได้

2.1.3. การรักษา

2.1.3.1. ประเมินการหายใจ (ช้า/เร็ว) ประเมิน O2 Sat (อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 95-100%) ให้การช่วยเหลือโดยเจาะคอ หรือใส่ท่อช่วยหายใจ และให้ mask with reservoir bag หรือ Ambubag ตามอาการที่ประเมินได้

2.2. การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับอกและเอว (Thoracolumbar spine injury)

2.2.1. พยาธิสภาพ

2.2.1.1. กระดูกอกมีทั้งหมด 12 ชิ้น (T1-T12) และกระดูกเอวมีทั้งหมด 5 ชิ้น (L1-L5) ถ้าเกิดการบาดเจ็บ ตั้งแต่ T1-T6 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตั้งแต่กึ่งกลางอกลงไป

2.2.1.2. อาการ

2.2.1.2.1. หายใจลำบาก เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวทรวงอกได้ และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนคือ ภาวะ Spinal shock เป็นภาวะไขสันหลังหยุดทำงานชั่วคราว หลังได้รับการบาดเจ็บ

2.2.1.3. การรักษา

2.2.1.3.1. ประเมินการหายใจ (ช้า/เร็ว) ประเมิน O2 Sat (อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 95-100%) ให้การช่วยเหลือโดยให้ mask with reservoir bag หรือ Ambubag ตามอาการที่ประเมินได้

2.2.2. พยาธิสภาพ

2.2.2.1. ถ้าเกิดการบาดเจ็บตั้งแต่ T7-T12 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระดับเอวลงไป

2.2.2.2. อาการ

2.2.2.2.1. เกิดอาการอ่อนแรงที่มักพบคือ Paraplegia (ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง)

2.2.2.3. การรักษา

2.3. การบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับใต้กระเบนเหน็บ (sacral spine injury)

2.3.1. พยาธิสภาพ

2.3.1.1. กระดูกใต้กระเบนเหน็บมีทั้งหมด 5 ชิ้น (S1-S5) ถ้าเกิดการบาดเจ็บ ตั้งแต่ S2-S4 จะสูญเสียความรู้สึกและการเคลื่อนไหวตั้งแต่ระดับเชิงกรานและขาทั้ง 2 ข้าง

2.3.2. อาการ

2.3.2.1. ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (อุจจาระ ปัสสาวะราดโดยไม่รู้สึกตัว)

2.3.3. การรักษา

2.3.3.1. ใส่สายสวนปัสสาวะ (Urinary catheterization)

3. สาเหตุ

3.1. อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์

3.2. การตกจากที่สูง เล่นกีฬา

3.3. หกล้มในผู้สูงอายุ

3.4. การทำร้ายร่างกาย

3.5. ปัจจัย

3.5.1. อายุและเพศ ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 20 ถึง 40 ปี เพศชายพบมากกว่าเพศหญิง 3 ถึง 4 เท่า