1. การพยาบาลผู้ป่วยโรคตับแข็งและมะเร็งตับ
1.1. เพื่อให้อวัยวะส่วนต่างของร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เกณฑ์การประเมินผล - สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ , ไม่มีเลือดออกเพิ่มทาง NG tube
1.1.1. 1. ตรวจสอบสัญญาณชีพและดูแลให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิดทุก 15-30 นาที จนผู้ป่วยมีสัญญาณชีพปกติ เพื่อประเมินและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย 2. ควบคุมอัตราการไหลของสารน้า 0.9% NSS 1000 cc.อัตรา free flow ทางหลอดเลือดดา ให้ผู้ป่วยนอนพักมากๆเพื่อลดการใช้ออกซิเจน 3. ให้นอนศีรษะสูง ให้ออกซิเจนทางหน้ากาก 8 ลิตร/ นาที นอนพักบนเตียงเพื่อลดการใช้ออกซิเจน 4. ติดตามผล Hct เพื่อประเมินสภาพผู้ป่วยว่ามีการเสียเลือดเพิ่มขึ้นหรือไม่ 5. สังเกต สี จานวน และส่วนประกอบของอุจจาระ อาเจียน และ Content ใน NG tube เพื่อประเมินการสูญเสียเลือด 6. สังเกตระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย และดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ประเมินผล หลังจากให้การพยาบาลและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดประมาณ 30 นาที ตรวจสอบสัญญาณชีพซ้า P = 100 ครั้ง/นาที R = 28 ครั้ง/นาที BP 100/60 mmHg , ให้ผู้ป่วยได้รับสารน้า0.9% NSS 1000 cc.อัตรา free flow ทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษา, ผู้ป่วยนอนพักบนเตียงได้,Hct 30 % ,ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง ปลายนิ้วมือไม่มีภาวะ Cyanosis ใบหน้าแดงขึ้น ไม่มีเลือดออกทาง NG tube
1.2. เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกและสามรถช่วยเหลือได้ทันท่วงที
1.2.1. 1. สังเกตระดับความรู้สึกตัวอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบสัญญาณชีพ ทุก 30 นาที โดยสังเกตอาการของสมอง รวมทั้งการพูดมากเกินความจริง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การตื่นตระหนก การกระสับกระส่าย 2. สังเกตอาการที่มีแนวโน้มจะมีอาการทางสมอง รวมทั้งอาการคลื่นไส้และอาเจียนมีไข้ต่าท้องเสีย การปวดดท้อง และเจ็บในท้อง 3. ล้างท้องด้วยน้าเกลือ 0.9% NSS Irrigate เพื่อเอาเลือดที่กลืนลงออกไป ป้องกันการเสื่อมสลายของลิ่มเลือดกลายเป็นแอมโมเนีย 4. ดูแลให้ได้รับสารน้า ทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษา 5. สังเกตอาการตัวตาเหลือง ลักษณะอุจาระ ปัสสาวะ เพื่อประเมินการถูกทาลายของตับ 6. ติดตามผล lab BUN , CREATININE เพื่อประเมินการคั่งของของเสียในกระแสเลือด 7. ดูแลให้ได้อย่างใกล้ชิด ระมัดระวังอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้เพราะระดับความรู้สึกตัวลดลง
1.3. ลดการคั่งของเสียในร่างกาย
1.3.1. 1. บันทึกจานวนน้ำที่ได้รับและขับออก เพื่อควบคุมปริมาณน้ำเข้าออกของร่างกาย 2. ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะคือ lasix (40) 1 tab ๏ ODและ Aldectone (25 mg) 1*2 pc. ตามแผนการรักษา 3. ติดตาผล lab BUN และ Cr. เพื่อประเมินการคั่งของเสียในเลือด 4. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเพื่อประเมินสภาพจากการมีของเสียคั่ง
1.4. เพื่อให้ร่างกายได้รับอกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
1.4.1. 1. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า การมีน้ำในช่องท้องจะเกิดการหายใจตื้นได้บ่อย 2. จัดให้นอนศีรษะสูง เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงปอดขยายตัวได้เต็มที่ส่งเสริมการระบายอากาศ มีการแลกเลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น 3. ดูแลให้ได้รับออกซิเจนชนิดหน้ากาก 8 ลิตร/ นาที ตามแผนการรักษา 4. ติดตามสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอัตราการหายใจ สังเกตการเปลี่ยนแปลงการหายใจ และภาวะ Cyanosis 5. ฟังปอด ประเมินการหายใจเพื่อเป็นการประเมินภาวะหายใจล้มเหลว 6. ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
1.5. ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
1.5.1. 1. ติดตามประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง 2. สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค ถ้าพบชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็วตื้น อุณหภูมิของร่างกายลดต่า การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต หากพบอาการผิดปกติรีบรายงานแพทย์ 3. สังเกตอาการเลือดออกจากอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่องท้อง เช่น ท้องอืด กดเจ็บทั่วท้อง อาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ เลือดออกตามไรฟัน หรืออาเจียนเป็นเลือดเพื่อทราบถึงการเสียเลือดในระบบทางเดินอาหาร 4. สังเกตและบันทึกปริมาณน้าเข้า –ออก 5. ติดตามผลการตรวจความเข้มข้นเลือด 6. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสะดวกต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจาวัน และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทาให้เสียเลือดได้
1.6. มีการเปลี่ยนแปลงด้านอัฒมโนทัศน์ ภาคภูมิในตัวเอง การแสดงบทบาท ความนึกคิดต่อตนเอง เนื่องจากติดสุราเรื้อรัง
1.6.1. 1. ให้ความรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย สาเหตุของโรค เช่น พิษของแอลกอฮอล์ต่อการเกิดโรค 2. อยู่เป็นเพื่อนเข้าใจและให้กำลังใจขณะทำการรักษา
1.7. สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
1.7.1. 1. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับหอผู้ป่วยแก่ผู้ป่วยและญาติ 2. ประเมินการรับรู้ปัญหาของญาติ ทักษะการปรับตัว ความเข้มแข็งและแหล่งสนับสนุนของญาติและค้นหาความรู้สึกของญาติว่าอยู่ในภาวะใด 3. อธิบายให้ญาติทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยและแนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมกับโรคโดยเน้นให้เห็นถึงความสาคัญอย่างมากในการควบคุมสภาวะโรคที่เป็นอยู่ 4. ช่วยเหลือให้ญาติได้แสดงความรู้สึกหรือความต้องการออกมาเช่น ความกลัว ความคาดหวัง และหาแหล่งประโยชน์ 5. อธิบายให้ญาติทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ โดยอธิบายเป็นภาษาที่ญาติเข้าใจง่าย พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ญาติได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา
1.8. ขาดความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร ยา และการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
1.8.1. 1. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็น การรักษา พูดคุยให้กาลังใจเพื่อให้สามารถยอมรับในสภาวะที่เป็นอยู่ 2. แนะนาเรื่อการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารรสจืด เค็มน้อย งดอาหารหรือของแห้งที่ใช้เกลือในการรักษาสภาพอาหาร เช่น ปลาเค็ม อาหารหมักดอง หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดหรือเครื่องเทศรสจัด และนำให้รับประทานโปรตีนที่ได้จากพืชเนื่องจากมีกรดอะมิโนน้อยกว่า เช่นถั่วชนิดต่าง ๆ 3. แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงภาวะท้องผูกโดยการดื่มน้ำมาก ๆรับประทานอาหารที่มีกากเพื่อช่วยในการรขับถ่าย รับประทานอาหารให้เป็นเวลาและพักผ่อนให้เต็มที่ 4. แนะนาเรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกายทั่วไป ตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการเกาเมื่อมีอาการคันที่ผิวหนังการเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เหงือกและช่องปาก 5. แนะนาเรื่องการรับประทานยาตามแผนการรักษาและ หลีกเลี่ยงยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ยากล่อมประสาท 6. เน้นย้าเรื่องการงดดื่มสุราอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นการลดความรุนแรงของโรคที่จะเกิดขึ้นต่อไป
2. มะเร็งตับ (liver cancer)
2.1. สาเหตุ
2.1.1. สาเหตุของมะเร็งตับ (liver cancer) มีหลายอย่างชนิด และยังอยู่ระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้แก่ โรคตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบบ ไวรัสตับอักเสบซี การดื่มสุราอย่างหนัก ไขมันแทรกในตับแบบอักเสบ (NASH) และไม่อักเสบ (NAFLD) พิษจากการรับประทานอาหาร การสูดดมสารพิษเป็นระยะเวลานาน (เช่น ในโรงงานผลิตพลาสติก) โรคถุงน้ำดีอีกเสบอาจจะกลายเป็นโรคมะเร็งในถุงน้ำดีได้
2.2. อาการและการแสดง
2.2.1. มีอาการเจ็บปวดที่ด้านบนของช่วงท้องด้านขวา มีอาการเจ็บปวดที่ไหล่ขวาซึ่งมีเส้นประสานของกระบังลมเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่ไหล่ขวา น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา มีก้อนในช่วงท้องด้านบน ผิวหนังและตามีอาการซีดและคัน เนื้องอกไปอุดตันในถุงน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุให้ถุงน้ำดีทำงานไม่ปกติและเปลี่ยนสีไป อันเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน ปัสสาวะเป็นสีเหลือง และอุจจาระเป็นสีเทา ท้องมาน (ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องเป็นจำนวนมาก)
2.3. การรักษา
2.3.1. เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับระยะของโรค (1) การผ่าตัดออก (2) การให้เคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง (TACE) (3) การฉีดแอลกฮอล 4) การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (5) การเปลี่ยนถ่ายตับ (6) การบำบัดด้วยการนำรังสีเข้าสู่ร่างกายเฉพาะจุด (SIRT) (7) การฉายรังสีพลังงานสูงแบบ SABR (8) การรักษาแบบ Sytemic therapy และการรักษาแบบ Targeted therapy
3. การทำงานของตับ
3.1. สะสมอาหารต่างๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ
3.2. ขับถ่ายของเสียในรูปของน้ำดี ออกมาทางท่อน้ำดี แล้วลงไปออกที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
3.3. นำเอาสารอาหารที่ย่อย มาปรับเปลี่ยนให้เป็นสารอาหารที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
4. ตับอักเสบ (Hepatitis)
4.1. สาเหตุ
4.1.1. ตับอักเสบเป็นภาวะที่มีการอักเสบที่เกิดขึ้นในเนื้อตับ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียหรือสารพิษ ยา แอลกอฮอร์และโรคบางชนิด เช่น เอสแอลอี(SLE)
4.2. อาการและอาการแสดง
4.2.1. -ปวดตามข้อต่อ ปวดเมื่อย -เบื่ออาหาร -คลื่นไส้ (ความรู้สึกเหมือนจะอาเจียน) -อาการปวดที่ตับ (ด้านบนขวาของช่องท้อง) -เหนื่อยล้า -ภาวะซึมเศร้าและหงุดหงิด -อาเจียน
4.3. การรักษา
4.3.1. 1.อาหาร อาหารที่เหมาะสม คือ อาหารไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูง 2.วิตามิน ผู้ป่วยตับอักเสบโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ดื่มสุรา มักขาดสารอาหารและวิตามินร่วมด้วย ดังนั้นควรให้วิตามินรวมด้วย 2.1วิตามินซีช่วยในการฟื้นตัวของตับ 2.2วิตามินบีรวม อาจให้เพื่ช่วยในการทำงานของตับในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน 2.3วิตามินเคให้เมื่อผู้ป่วยมีโปรทรอมบินท์นานกว่าปกติ ป้องกันกาเสียเลือด 3.ยา 3.1 propylthiouracill ในขนาด 300 มิลลิกรัม/วัน สำหรับผู้ป่วยตับอักเสบจากพิษแอลกอฮอล์ในระยะสั้นจะได้ประโยชน์ 3.2 corticosteroid 4.วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ จะให้กับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
4.4. การพยาบาล
4.4.1. ระยะไม่มีการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น
4.4.1.1. 1.ควรแยกผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆและควรแยกของเครื่องใช้ 2.สวมเสื้อคลุมและถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งติดเชื้อ 3.ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย 4.แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันผู้ที่สัมผัสโรค และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
4.4.2. ระยะมีการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ สมดุลของน้ำและเกลือแร่
4.4.2.1. 1.หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง และมีมันมาก 2.แนะนำการวางแผนเรื่องอาหารที่มีโปรตีนสูง (70-100 กรัม)และคาร์โบไฮเดรตสูง(300-400 กรัม)และไขมันระดับกลาง(100-150 กรัม) ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อของตับ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการของตับอักเสบรุนแรงอาจทำให้อาการทางสมองต้องให้อาหารโปรตีนต่ำ 3.บอกให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
5. ตับแข็ง (cirrhosis)
5.1. สาเหตุ
5.1.1. ตับแข็ง (cirrhosis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นของโรคตับ ซึ่งเกิดจากการที่ตับได้รับความเสียหายและเกิดแผลเป็นอย่างถาวร มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุต่างๆ การทำลายสารพิษ รวมทั้งปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับด้วย
5.2. อาการและอาการแสดง
5.2.1. ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งอาจไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก หรืออาจมีอาการเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนตามระยะของโรค ทั้งนี้อาการที่อาจพบได้ เช่น • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด • ในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง • ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้อง • ฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง • อาการดีซ่าน หรืออาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี • มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ • มีความไวต่อยาและผลข้างเคียง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็งตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย • มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งจัดเป็นอาการที่รุนแรงและอันตราย แพทย์ต้องรีบหยุดเลือดโดยเร็ว
5.3. การรักษา
5.3.1. การปฏิบัติตัวในการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ที่มีภาวะตับแข็ง • งดการดื่มแอลกอฮอล์ • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง • รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หรือโปรตีนจากพืช (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ