การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ by Mind Map: การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้

1. ความหมายของการเรียนรู้

1.1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน ไม่ได้มาจากวุฒิภาวะหรือสัญชาตญาณ

1.2. ประสบการณ์

1.2.1. ทางตรง

1.2.1.1. ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง

1.2.2. ทางอ้อม

1.2.2.1. ประสบการณ์ที่ผู้เรียนไม่ได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ ทางอ้อมจากการอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ

1.2.3. ตัวแปรสำคัญในการเรียนรู้

1.2.3.1. สิ่งเร้า (Stimulus - S)

1.2.3.2. อินทรีย์ (Oganism - O)

1.2.3.3. การตอบสนอง (Response - R)

1.3. จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

1.3.1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินผล

1.3.2. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม

1.3.3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

2. กระบวนการเรียนรู้

2.1. กระบวนการ หมายถึง ลําดับการของการกระทำ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันจนสำเร็จลง การเรียนรู หมายถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือศักยภาพของพฤติกรรมที่คอนขางถาวร ซึ่งการ เปลี่ยนนี้มีสาเหตุมาจากการไดรับประสบการณหรือการฝึกฝน ดังนั้น เมื่อรวมคำว่ากระบวนการและการเรียนรูเขาด้วยกัน กระบวนการเรียนรู จะหมายถึง “ลำดับขั้นตอนที่ทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้”

2.2. กระบวนการเรียนรู้ มีขั้นตอน 6 ขั้นตอน

2.2.1. มีสิ่งเร้า(Stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (Organism)

2.2.2. อินทรีย์เกิดการรับสัมผัส ( Sensation ) โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

2.2.3. ประสาทสัมผัสส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทเกิดการรับรู้ ( Perception )

2.2.4. สมองแปลผลออกมาว่าสิ่งที่สัมผัส คืออะไร เรียกว่าความคิดรวบยอด ( Conception )

2.2.5. พฤติกรรมได้รับคำแปลผลทำให้เกิดความคิดรวบยอดก็จะเกิดการเรียนรู้ ( Learning )

2.2.6. เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ บุคคลก็จะเกิดการตอบสนอง ( Response ) พฤติกรรมนั้นๆ

3. ธรรมชาติของการเรียนรู้

3.1. ความต้องการของผู้เรียน (What)

3.1.1. เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้สิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้

3.2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus)

3.2.1. ก่อนการเรียนรู้ ต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ ให้มนุษย์ขวนขวายและใฝ่ใจที่จะเรียนรู้

3.3. การตอบสนอง (Response)

3.3.1. เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ มนุษย์ จะทำการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัส เพื่อแปลเป็นการรับรู้ ความเข้าใจ

3.4. การได้รับรางวัล (Reward)

3.4.1. ภายหลังจากการตอบสนองมนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง

4. ประเภทของแบบการเรียนรู้

4.1. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามช่องทางการรับรู้

4.1.1. ผู้ที่รับรู้และเรียนรู้ทางสายตา

4.1.2. ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท

4.1.3. ผู้ที่รับรู้และเรียนรู้ทางร่างกายหรือความรู้สึก

4.2. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามลักษณะหรือกระบวนการคิด

4.2.1. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามแนวคิดของวิทคิน

4.2.1.1. แบบพึ่งพิงสภาพแวดล้อม

4.2.1.2. แบบไม่พึ่งพิงสภาพแวดล้อม

4.2.2. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามแนวคิดของแมกคาธี

4.2.2.1. การรับรู้

4.2.2.2. กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

4.2.3. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามแนวคิดของโกล์บ

4.2.3.1. แบบคิดอเนกนัย

4.2.3.2. แบบดูดซึม

4.2.3.3. แบบคิดเอกนัย

4.3. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามลักษณะของพฤติกรรม

4.3.1. แบบยินยอม ผู้เรียนจะยึดเอางานเป็นหลัก ถือว่าผู้สอนมีอำนาจในการให้คะแนน

4.3.2. แบบวิตกกังวล ผู้เรียนจะมีความกระวนกระวายและต้องการความช่วยเหลือจากผู้สอน

4.3.3. แบบท้อใจ มีทัศนคติต่อตนเองในแง่ลบ

4.3.4. แบบอิสระ มีความเป็นผู้ใหญ่ มีสติปัญญาดี มีความรับผิดชอบ

4.3.5. แบบวีรบุรุษ พวกที่อยู่แนวหน้า เป็นที่รู้จักของคนอื่นๆ

4.3.6. แบบวิพากษ์วิจารณ์ เป็นพวกที่มองโลกในแง่ร้าย มีความภาคภูมิใจในตนเองอยู่ในระดับต่ำ

4.3.7. แบบเรียกร้องความสนใจ มีแนวโน้มที่จะมีบทบาททางสังคมมากกว่าทางด้านการใช้สติปัญญา

4.3.8. แบบสงบเงียบ ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน พูดน้อย

4.4. แบบการเรียนรู้ที่จำแนกตามบริบทหรือสภาพแวดล้อม

4.4.1. ด้านกายภาพ

4.4.2. ด้านอารมณ์จิตใจ

4.4.3. ด้านสังคม

4.4.4. ด้านร่างกาย

4.4.5. ด้านจิตวิทยา

5. การวัดลีลาการเรียนรู้

5.1. แม้ว่าการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ผู้ปกครองหรือการศึกษาจากผลการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ของนักเรียนจะเป็นวิธีการทั่วไปที่ครูสามารถนำมาใช้พิจารณาถึงลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ แต่การใช้แบบสำรวจต่อไปนี้ก็อาจช่วยให้ครูค้นหาลีลาการเรียนรู้ได้อีกวิธีหนึ่ง

6. องค์ประกอบของการเรียนรู้

6.1. “การเรียนรู้” เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น มีคุณประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ เมื่อบุคคลได้เรียนรู้ย่อมมีการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติอันจะนำมาซึ่งชีวิตที่มีคุณภาพ สังคมที่พัฒนา และประทศชาติที่ได้รับการพัฒนา

6.2. ตามแนวคิดของ ครอนบาค

6.3. ตามแนวคิดของ อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์

6.4. ตามกรมวิชาการ