หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ ปวช. และ ปวส.

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ ปวช. และ ปวส. by Mind Map: หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์  ระดับ ปวช. และ ปวส.

1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.

1.1. จุดประสงค์สาขาวิชา

1.1.1. 1.เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษาในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

1.1.2. 2.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในหลักการบริหารและจัดการอาชีพ

1.1.3. 3.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในงานผลิตและกระบวนการงานพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม

1.1.4. 4.เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการผลิตและงานบริการทางอิเล็กทรอนิกส์

1.1.5. 5.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานช่างอิเล็กทรอนิกส์ในสถานประกอบการและประกอบอาชีพอิสระร

1.1.6. 6.เพื่อให้สามารถเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์

1.1.7. 7.เพื่อให้มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีต่องานอาชีพ

1.2. มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ

1.2.1. 1.ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์

1.2.1.1. 1.1 คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

1.2.1.2. 1.2 พฤติกรรมลักษณะนิสัย

1.2.1.3. 1.3 ทักษะทางปัญญา

1.2.2. 2.ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป

1.2.2.1. 2.1สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ

1.2.2.2. 2.2แก้ไขปัญหาในงานอาชีพโดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

1.2.2.3. 2.3ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา วัฒนธรรม ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมทางสังคมและสิทธิหน้าที่พลเมือง

1.2.2.4. 2.4พัฒนาบุคลิกภาพและสุขอนามัยโดยใช้หลักการในกระบวนการด้านสุขศึกษาและพลศึกษา

1.2.3. 3.ด้านสมรรถนะวิชาชีพ

1.2.3.1. 3.1 วางแผน ดำเนินงาน จัดงานอาชีพตามหลักการในกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

1.2.3.2. 3.2 ใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ

1.2.3.3. 3.3 ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักการและกระบวนการ

1.2.3.4. 3.4 อ่านแบบ เขียนแบบในงานอิเล็กทรอนิกส์ งานระบบเสียง งานระบบภาพ ระบบสื่อสาร การประเมินราคา และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

1.2.3.5. 3.5 คิดวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและวิธีแก้ไข รวมทั้งคิดแยกแยะประเด็นปัญหาทางวิชาชีพ

1.2.3.6. 3.6 ประกอบ ติดตั้งทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ งานระบบเสียง งานระบบภาพ งานระบบสื่อสาร และงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ด้วยเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1.2.3.7. 3.7 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องรับส่งวิทยุ ระบบเสียง ระบบภาพระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และงานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

1.3. โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

1.3.1. ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิตและเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังโครงสร้างต่อไปนี้

1.3.1.1. 1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต

1.3.1.1.1. 1.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย (ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต)

1.3.1.1.2. 1.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

1.3.1.1.3. 1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต)

1.3.1.1.4. 1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต)

1.3.1.1.5. 1.5 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา (ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต)

1.3.1.1.6. 1.6 กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต)

1.3.1.2. 2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 71 หน่วยกิต

1.3.1.2.1. 2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (18 หน่วยกิต)

1.3.1.2.2. 2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 24 หน่วยกิต)

1.3.1.2.3. 2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต)

1.3.1.2.4. 2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

1.3.1.2.5. 2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

1.3.1.3. 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต

1.3.1.4. 4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

2. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส.

2.1. จุดประสงค์สาขาวิชา

2.1.1. 1.เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการคิดและแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมรายการดำรงชีวิตในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

2.1.2. 2.เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการและจัดการวิชาชีพ

2.1.3. 3.เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มงานพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์

2.1.4. 4.เพื่อให้สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนางานอิเล็กทรอนิกส์

2.1.5. 5.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในการวิเคราะห์ ออกแบบ ตรวจสอบ หาข้อบกพร่อง ซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องมือวัดทดสอบทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2.1.6. 6.เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ในสถานประกอบการและประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งการใช้ความรู้และทักษะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้

2.1.7. 7.เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติด

2.2. มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ

2.2.1. 1.ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์

2.2.1.1. 1.1ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

2.2.1.2. 1.2 ด้านพฤติกรรมลักษณะนิสัย

2.2.1.3. 1.3 ด้านทักษะทางปัญญา

2.2.2. 2. ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป

2.2.2.1. 2.1สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยแปลภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำวันและเพื่อพัฒนางานอาชีพ

2.2.2.2. 2.2แก้ไขปัญหาและพัฒนางานอาชีพโดยใช้หลักการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2.2.2.3. 2.3มีบุคลิกภาพและคุณลักษณะเหมาะสมกับการปฏิบัติงานอาชีพและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

2.2.2.4. 2.4ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมและพัฒนางานอาชีพ

2.2.3. 3. ด้านสมรรถนะวิชาชีพ

2.2.3.1. 3.1วางแผนดำเนินงานจัดการและพัฒนางานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และหลักความปลอดภัย

2.2.3.2. 3.2ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนางานอาชีพ

2.2.3.3. 3.3 ออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ วิเคราะห์ และบำรุงรักษา อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์

2.2.3.4. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 3.4 ออกแบบ ติดตั้งควบคุมระบบอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 3.5 บำรุงรักษาระบบอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

2.2.3.5. สาขางานระบบภาพและระบบเสียง 3.4 ออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมระบบเสียงและระบบภาพ 3.5 บำรุงรักษาระบบเสียงและระบบภาพ

2.2.3.6. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ 3.4 ติดตั้ง ทดสอบ สอบเทียบ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 3.4 ซ่อมและบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์

2.3. โครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557

2.3.1. ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาจากหมวดวิชาต่างๆ รวมไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต และเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามโครงสร้างต่อไปนี้

2.3.1.1. 1. หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต

2.3.1.1.1. 1.1 กลุ่มทักษะภาษาและการสื่อสาร (ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต)

2.3.1.1.2. 1.2 กลุ่มทักษะการคิดและแก้ปัญหา (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

2.3.1.1.3. 1.3 กลุ่มทักษะทางสังคมและการดำรงชีวิต (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

2.3.1.2. 2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 57 หน่วยกิต

2.3.1.2.1. 2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน (15 หน่วยกิต)

2.3.1.2.2. 2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ( 22 หน่วยกิต)

2.3.1.2.3. 2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก (ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต)

2.3.1.2.4. 2.4 ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

2.3.1.2.5. 2.5 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ( 4 หน่วยกิต)

2.3.1.3. 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

2.3.1.4. 4.กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)

2.3.1.5. โครงสร้างนี้สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาโทรคมนาคม หรือเทียบเท่า