แผนพัฒนายุทธศาสตร์โรงเรียน RCIM1 ปี 2563 - 2565

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แผนพัฒนายุทธศาสตร์โรงเรียน RCIM1 ปี 2563 - 2565 by Mind Map: แผนพัฒนายุทธศาสตร์โรงเรียน RCIM1  ปี 2563 - 2565

1. 2. เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน ปรับเปลี่ยนค่านิยมของผู้เรียนให้มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์

2. ด้านปัจจัยภายนอก

2.1. โอกาส (Opportunity)

2.1.1. O1 มีงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล

2.1.2. O2 ได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ปกครองศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครองและครู

2.1.3. O3 มีการคัดเลือกนักเรียนมาใหม่

2.1.4. O4 โควตาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเข้าคณะ ต่างๆ

2.1.5. O5 เป็นโรงเรียนที่บุคคลภายนอกยอมรับ

2.1.5.1. T1 นโยบายของโรงเรียนเปลี่ยนตามวาระผู้บริหาร

2.1.6. O6 มีการใช้หลักสูตรใหม่นำร่อง

2.2. อุปสรรค (Threat)

2.2.1. T2 มีการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆ

2.2.2. T3 นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการศึกษามีการ เปลี่ยนแปลง

2.2.3. T5 การประสานระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน บุคลากรควรร่วมมือร่วมใจให้มากกว่านี้ ขาดการ ประสานงาน และความเข้าใจที่ตรงกัน

2.2.4. T4 การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นไปอย่างรวดเร็ว

2.2.5. T6 พื้นที่ของโรงเรียนมีขนาดเล็ก

2.2.6. T7 เทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ทาให้นักเรียนปฏิบัติตามไม่ทัน

3. ปัจจัยภายใน

3.1. จุดอ่อน (Weakness)

3.1.1. 1 ขาดโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลที่ทันสมัยและมี ประสิทธิภาพ (Website)

3.1.2. 2 ระเบียบวินัยของนักเรียนหละหลวม

3.1.3. 3 ไม่มีเครือข่ายกับชุมชน

3.1.4. 4 การศึกษาดูงานของบุคลากรน้อยเกินไป

3.1.5. 5 การแนะแนวทางการศึกษายังไม่เพียงพอ

3.1.6. 6 การอำนวยความสะดวกต่อการทำงาน

3.1.7. 7 ไม่ค่อยมีการปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมการทำงาน ในแต่ละปี ทำกิจกรรมซ้ำๆ

3.1.8. 8 ขาดการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนในด้านกิจกรรมหรือการแข่งขัน เมื่อนักเรียนได้รับ รางวัลหรือทาประโยชน์ให้กับโรงเรียน ควรให้ บุคลากรภายนอกได้รับทราบ

3.1.9. 9 การสื่อสารที่ไม่ตรงกัน

3.1.10. 10 การสั่งงานที่ข้ามขั้นตอนไม่ผ่านตามลาดับที่ควรจะทำ และบางขั้นตอนมีความล่าช้า

3.2. จุดแข็ง (Strength)

3.2.1. 1 ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สาคัญ (ดูจากแผนการสอน)

3.2.2. 2 ครูสอนตรงสาขาที่จบการศึกษา

3.2.3. 3 ครูสอนตรงตามเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นเรียน(ดูจากแผนการสอน)

3.2.4. 4 นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้และทางานร่วมกับผู้อื่นได้

3.2.5. 5 โรงเรียนมีสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยทุก ห้องเรียน

3.2.6. 6 โรงเรียนมีการพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

3.2.7. 7 ทำเลที่ตั้งของสถานศึกษาเหมาะสมการ คมนาคมสะดวก

3.2.8. 8 จัดตั้งสวัสดิการร้านค้า

3.2.9. 9 นักเรียนเก่งมีความสามารถมีความคิด สร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบ

3.2.10. 10 โรงเรียนมีกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียน(ดูจาก โครงการที่โรงเรียนจัด)

4. นโนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563

4.1. หลักการ

4.1.1. หลักการ

4.2. ระดับประถมศึกษา

4.2.1. ระดับประถมศึกษา

5. แผนการศึกษาธิการแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579

5.1. ความจำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ

5.1.1. ความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ ๒๑

5.1.1.1. ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจาก

5.1.1.1.1. - การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) - การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ (The Fourth Industrial Revolution) - การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ๒๕๗๓ (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน - รวมทั้งผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียน - และความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑

5.1.1.2. ประกอบกับแรงกดดันจากภายในประเทศจาก

5.1.1.2.1. - การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ - การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง - ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ - การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว - รวมทั้งระบบการศึกษาที่ยังมีปัญหาหลายประการ นับตั้งแต่ปัญหาคุณภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ จุดอ่อนของระบบการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี และการบริหาร จัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ยังไม่เหมาะสม ขาดความคล่องตัว ยังมีความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา - รวมทั้งปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และการขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และการมีจิตสาธารณะของคนไทย

5.1.1.3. ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สนองและรองรับความท้าทายดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) และกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) เพื่อให้สามารถนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า

5.2. แนวคิด

5.2.1. แนวคิด

5.2.2. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ ๕๐ ขึ้นไปเพิ่มขึ้น

5.3. ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

5.3.1. ๑.๑ กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

5.3.1.1. บุคลากรทางการศึกษามีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของโรงเรียนมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีจำนวนบุคลากรทางการศึกษาตรงตามความต้องการของสถานศึกษา

5.3.2. แนวทางการพัฒนา

5.3.2.1. โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของโรงเรียน ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ ของบุคลากรทางการศึกษา และสามารถสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนด้านการศึกษาภายในโรงเรียน มีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการจัดทำแผนผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการโรงเรียน และสนองนโยบายต้นสังกัด เป็นต้น

5.3.2.1.1. Untitled

5.3.2.2. โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพบุคลากรทางการศึกษา

5.4. ยุทธศาสตร์ที่

5.4.1. ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

5.4.1.1. ๓.๑ ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

5.4.1.2. ๓.๒ คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ

5.4.1.3. ๓.๓ สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน

5.4.1.3.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพิ่มขึ้น

5.4.1.4. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนที่มีคุณลักษณะและทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมีวินัย และมีจิตสาธารณะเพิ่มขึ้น

5.4.1.5. ๓.๔ แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

5.4.1.5.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น แหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการศึกษา/จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และได้รับการพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมจากภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น เป็นต้น

5.4.1.6. ๓.๕ ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผลมีประสิทธิภาพ

5.4.1.6.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีระบบและกลไกการทดสอบ การวัดและประเมินความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบติดตามประชากรวัยเรียนที่ขาดโอกาสหรือไม่ได้รับการศึกษา และผู้เรียนที่มีแนวโน้มจะออกกลางคัน เป็นต้นตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีฐานข้อมูลความต้องการใช้ครู แผนการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในระยะ ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๙) จำแนกตามสาขาวิชา ขนาดสถานศึกษา และจังหวัด สัดส่วนของการบรรจุครูที่มาจากการผลิตครูในระบบปิดเพิ่มขึ้นมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาอื่นและพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเข้าสู่ วิชาชีพครู เป็นต้น

5.4.1.6.2. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ครู/บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการอบรมพัฒนาในเรื่องการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความตระหนักในความสำคัญของการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความมีคุณธรรม จริยธรรม และการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น

5.4.1.6.3. โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของผู้เรียนให้มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัด และประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ และมีแผนงานและโครงการที่สำคัญเช่น โครงการพัฒนาศักยภาพและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

5.4.1.7. ๓.๗ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน

5.4.1.7.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษาได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพิ่มขึ้น และระดับความพึงพอใจของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเพิ่มขึ้น เป็นต้น

5.4.1.8. แนวทางการพัฒนา

5.4.2. ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5.4.2.1. ๓.๑ คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

5.4.2.2. แนวทางการพัฒนา

5.4.2.2.1. โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์ สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพคนทุกช่วงวัย โครงการโรงเรียนคุณธรรม โครงการโรงเรียนสีเขียวเป็นต้น

5.4.3. ยุทธศาสตร์ที่ ๔: การพัฒนาประสิทธิภาพ ของระบบบริหารจัดการศึกษา

5.4.3.1. ๔.๑ โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้

5.4.3.1.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น มีการปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และสถานศึกษาให้มีเอกภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น

5.4.3.2. ๔.๒ ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

5.4.3.2.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาขนาดเล็ก/สถานศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกลดลง คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่เรียนในกลุ่มสถานศึกษาที่เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการแนวใหม่สูงขึ้น เป็นต้น

5.4.3.3. ๔.๓ ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและพื้นที่

5.4.3.3.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น จำนวนองค์กร สมาคม มูลนิธิ หรือหน่วยงานอื่นที่ เข้ามาจัดการศึกษาหรือร่วมมือกับสถานศึกษา ทั้งของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขึ้น และสัดส่วนการมีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคี เครือข่ายเมื่อเทียบกับรัฐ จำแนกตามระดับการศึกษาสูงขึ้น เป็นต้น

5.4.3.4. ๔.๕ ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความ เป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

5.4.3.4.1. มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่มีครูเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ครู/ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน/ผู้ประกอบการที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น และสถานศึกษามีบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ปฏิบัติงานสนับสนุนการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เป็นต้น

5.4.3.5. แนวทางการพัฒนา

5.4.3.5.1. โดยกำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา เพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัด การศึกษา ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และมีแผนงานและโครงการสำคัญ เช่น โครงการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โครงการพัฒนาระบบจัดสรรงบประมาณเพื่อ การศึกษา และโครงการทดลองนำร่องระบบการจัดสรรเงินผ่านด้านอุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น

6. วิสัยทัศน์

6.1. โรงเรียนบ้าน RCIM มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีความรู้ เชิดชูความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม น้อมนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7. พันธกิจ (Mission) คือ ความมุ่งหมายพื้นฐานในการจัดตั้งขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว หรือเป็นขอบเขตในการดำเนินงาน ขององค์กร

7.1. 1. เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา โดยการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญในการพัฒนาตนเองและออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียน

7.2. 3. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์ สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

7.3. 4. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีแผนงานและโครงการสำคัญ

7.4. 5. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา

7.5. 6. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา