1. ความหมาย
1.1. รูปเรขาคณิตสองมิติ
1.1.1. แบ่งตามลักษณะของด้าน หรือ ขอบของรูปนั้น เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปหลายเหลี่ยม หรือ รูปวงกลม เป็นต้น
1.2. รูปเรขาคณิตสามมิติ
1.2.1. เป็นรูปเรขาคณิตทรงสามมิติที่มีฐานหรือหน้าตัดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรงกระบอก รูปทรงกลม รูปพีระมิด รูปปริซึม รูปกรวย เป็นต้น
2. ชนิดรูปเรขาคณิตสองมิติ
2.1. รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
2.2. รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
2.3. รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
2.4. รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
2.5. รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม
3. ชนิดรูปเรขาคณิตสามมิติ
3.1. รูปทรงกระบอก
3.1.1. ทรงกระบอก เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกันฐานเสมอ ด้านข้างเป็นผิวเรียบโค้งส่วนต่างๆของทรงกระบอก
3.2. รูปทรงกลม
3.2.1. ทรงกลม เป็น รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกจุดคงที่ว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม เรียกระยะที่เท่ากันว่า รัศมีของทรงกลม
3.3. รูปพีระมิด
3.3.1. พีระมิด เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมที่ไม่อยุ่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น การเรียกชื่อพีระมิดจะเรียกตามรูปฐานของพีระมิด
3.4. รูปปริซึม
3.4.1. ปริซึม เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึมส่วนต่างๆของปริซึม
3.5. กรวย
3.5.1. กรวย เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรงดด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบระมิ ส่วนต่างๆของกรวย ข้อแตกต่างของพีระมิดกับกรวย คือ- ฐาน พีระมิดฐานรูปหลายเหลี่ยมกรวยฐานรูปวงกลม
4. การเขียนรูปเรขาคณิตสามมิติ
4.1. รูปทรงกระบอก
4.1.1. ขั้นที่ 1 เขียนวงรีแทนหน้าตัดที่เป็นวงกลม และเขียนส่วนของเส้นตรงสองเส้น แสดงส่วนสูงของทรงกระบอก
4.1.2. ขั้นที่ 2 เขียนวงรีที่มีขนาดเท่ากับวงรีที่ใช้ในขั้นที่ 1 แทนที่วงกลมซึ่งเป็นฐานของทรงกระบอกและเขียนเส้นประแทนเส้นทึบตรงส่วนที่ถูกบัง
4.2. รูปกรวย
4.2.1. ขั้นที่ 1 เขียนวงรีแทนหน้าตัดที่เป็นวงกลม
4.2.2. ขั้นที่ 2 เขียนส่วนของเส้นตรงสองเส้นแสดงสูงเอียง มาพบกันที่จุดยอดแหลมของกรวยที่ไม่อยู่ระนาบเดียวกับฐาน
4.3. รูปทรงพีระมิด
4.3.1. ขั้นที่ 1 เขียนวงรีแทนหน้าตัดที่เป็นวงกลม
4.3.2. ขั้นที่ 2 กำหนดจุดบนวงรีเพื่อใช้เป็นจุดยอดของสี่เหลี่ยม กำหนด 4 จุด
4.3.3. ขั้นที่ 3 เขียนส่วนสูงของพีระมิดจากจุดยอดลงมาบนจุดทั้งสี่ ที่กำหนดไว้ที่ ขั้นที่ 2
4.3.4. ขั้นที่ 4 เขี่ยนส่วนของเส้นตรงเชื่อมจุดทั้ง 4 จุดบนวงรี ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จะได้รูปพีระมิด
4.4. รูปปริซึม
4.4.1. ขั้นที่ 1 เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 1 รูป
4.4.2. ขั้นที่ 2 เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาดเท่ากันกับรูปในขั้นที่ 1 อีก 1 รูป ให้อยู่ในลักษณะที่ขนาน กันและเหลื่อมกันประมาณ 30 องศา
4.4.3. ขั้นที่ 3 ลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมต่อจุดให้ได้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
4.4.4. ขั้นที่ 4 เขียนเส้นประแทนด้านที่ถูกบัง