1. สถาบันทางสังคม
1.1. ลักษณะของสถาบันทางสังคมสถาบันเป็นกลุ่มของบรรทัดฐานของสังคมเป็นวิธีปฏิบัติที่จัดขึ้นอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป 1. สถาบันมีลักษณะเป็นนามธรรมเพราะเป็นกลุ่มบรรทัดฐานทางสังคมที่ใช้ในการกระทำตามหน้าที่หลักของสังคม 2. สถาบันเป็นกลุ่มของวิธีปฏิบัติที่มีกฎเกณฑ์และระเบียบแบบแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญของสังคม 3.สถาบันมีหน้าที่จัดระบบเพื่อความเป็นระเบียบในสังคม โดยมีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกผู้มีส่วนร่วมในสถาบัน
1.2. องค์ประกอบของสถาบันทางสังคม 1. ตำแหน่งทางสังคม หมายถึงตำแหน่งของบุคคลในสถาบันหนึ่งเช่น สถาบันครอบครัวจะมีตำแหน่งบิดา มารดา สามี ภรรยา ตำแหน่งทางสังคมจะเป็นเครื่องกำหนดบอกว่าใครมีฐานะทางสังคมเช่นไร 2. หน้าที่ หมายถึง ภาระผูกพันที่สถาบันจะต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการที่จำเป็นของสังคมโดยผู้ทำหน้าที่ในสถาบันคือ ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคม เช่น สถาบันการศึกษาประกอบด้วยผู้ทำหน้าที่ ครู นักเรียนแต่ละบุคคลมีหน้าที่แตกต่างกัน ประเภทของสถาบันทางสังคมมีดังนี้ - สถาบันครอบครัวเป็นกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ประกอบด้วยคนต่างเพศที่มีความสัมพันธ์ทางการสมรสหรือทางสายโลหิตเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่มีความสำคัญยิ่งในสังคมเพราะเป็นแหล่งสร้างความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมก่อให้เกิดความผูกพันกัน -สถาบันการศึกษาเป็นกลุ่มของบรรทัดฐานที่ใช้เพื่อก่อให้เกิด ความรู้ แนวคิดและการกระทำในกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอยู่ร่วมกันและความเจริญก้าวหน้าของสังคม -สถาบันศาสนาทุกคนในสังคมจะมีศาสนาเป็นสิ่งที่ยึดถือและใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิต สถาบันศาสนาเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านจิตใจเสริมสร้างกำลังใจให้สมาชิกในสังคม
1.2.1. การจัดระเบียบทางสังคมหมายถึงการจัดให้สังคมเป็นระเบียบอย่างมีระบบเป็นกระบวนการทางสังคม ที่ช่วยควบคุมแบบแผนพฤติกรรมของบุคคลในสังคมระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่มคนให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนการในทางเดียวกัน กลุ่มคนที่เป็นระเบียบหมายถึงกลุ่มที่ทุกคนรู้จักสิทธิหน้าที่และระเบียบแผนกฎเกณฑ์ต่างๆในการที่จะติดต่อสัมพันธ์ซึ่งมีหลายประเภท
1.3. สถาบันทางสังคมเป็นบรรทัดฐาน แห่งความคิดและการกระทำและการทำหน้าที่พื้นฐานต่างๆเช่น การอยู่รวมกันเป็น ครัวเรือน การศึกษา ศาสนาการปกครอง และเศรษฐกิจ ความอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าของสังคม
2. บรรทัดฐานหมายถึงระเบียบแบบแผนพฤติกรรมกฎเกณฑ์หรือแนวทางที่สังคมกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม เพื่อความเป็นระเบียบและความสงบสุขของส่วนรวม ได้แก่ กฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของบ้านเมืองมีทั้งหมด 3 ประการดังนี้
3. ธรรมชาติของมนุษย์มี 3 ประการดังนี้ 1.ความต้องการทางกายภาพคือสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อันเป็นขั้นพื้นฐานคือปัจจัย 4 ได้แก่อาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค 2.ความต้องการทางด้านจิตใจเช่นความต้องการความรักความอบอุ่นความต้องการความรู้ต้องการความเห็นใจต้องการได้รับความสำเร็จในการดำรงชีวิตการได้รับความยอมรับจากสังคม 3. ความต้องการทางสังคมและวัฒนธรรมมนุษย์มีความต้องการขั้นมูลฐานที่จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มในสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
4. โครงสร้างของสังคมหมายถึงระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวได้เสมอมีลักษณะสำคัญ 4 ประการดังนี้ 1.มีบุคคลจำนวนหนึ่งที่มีการติดต่อระหว่างกันและมีความสัมพันธ์ทางสังคมตามสภาพและบทบาท 2. มีกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนสำหรับการติดต่อกัน 3 มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างๆอันเป็นเป้าหมายของสมาชิกแต่ละคนและโดยส่วนรวม 4.มีลักษณะเคลื่อนไหวได้โครงสร้างของสังคมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพราะโครงสร้างส่วนหนึ่งเป็นมนุษย์ซึ่งไม่อยู่นิ่ง
5. องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคมโครงสร้างของสังคม เป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมที่จะเชื่อมโยงให้ความสัมพันธ์ดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างเรียบร้อยกล่าวได้ว่า โครงสร้างของสังคมจะเป็นเครื่องค้ำจุนให้สังคมดำรงอยู่ได้องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่กลุ่มสังคมสถาบันทางสังคมสถานภาพและบทบาท
6. มูลเหตุที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
6.1. ลักษณะของสังคมมนุษย์ 1. สังคมมนุษย์แต่ละแห่งจะดำรงอยู่ภายในอนาคตบริเวณที่ผู้คนได้ตั้งหลักแหล่งอาศัยทำมาหากินร่วมกัน 2. สังคมมนุษย์ประกอบด้วยผู้คนจำนวนหนึ่งที่มีความผูกพันและมีความสัมพันธ์ติดต่อกัน 3.สังคมมนุษย์แต่ละแห่งประกอบด้วยกลุ่มคนซึ่งมีทุกเพศทุกวัยและมีหน้าที่แตกต่างกัน 4.สังคมมนุษย์แต่ละสังคมย่อมมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 5.สังคมมนุษย์แต่ละแห่งเกิดจากการรวมตัวของคนที่มีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่หลายอย่างรวมกัน
6.2. การที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมีสาเหตุดังนี้ 1. มนุษย์มีระยะแห่งการเป็นทารกในระยะแรกเกิดมนุษย์ไม่สามารถจะอยู่โดยลำพังได้ 2 มนุษย์สามารถเรียนรู้สร้างสรรค์และถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างๆเพื่อสนองความต้องการทางร่างกายและจิตใจของตนเองและของเพื่อนมนุษย์ 3 มนุษย์มีสมองอันฉลาดรู้จักประดิษฐ์สิ่งต่างๆเพื่อปรับปรุงและควบคุมธรรมชาติในการควบคุมธรรมชาตินี้ต้องอาศัยความร่วมมือและแบ่งงานกันทำไม่สามารถกระทำตามลำพังได้
6.3. ความหมายทางสังคมมี 4 ประการ 1 เป็นกลุ่มที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ 2 ต้องเป็นกลุ่มที่สามารถมีความสัมพันธ์ทางสังคมมีการตอบสนองและพึ่งพาอาศัยกันได้ 3 สมาชิกของกลุ่มสังคมซึ่งมีทั้งหญิงและชายตามภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง 4 มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเป็นตนเองวัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์ของสังคมแต่ละทางสังคม
7. การจัดระเบียบทางสังคม
7.1. ประเภทของกลุ่มที่เป็นระเบียบ กลุ่มสังคมหมายถึงบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาอยู่รวมกันมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความสัมพันธ์ทางสังคมทางที่เป็นส่วนตัวและอย่างไม่เป็นส่วนตัว เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มข้าราชการ สมาคม เป็นต้น กลุ่มสังคมแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. กลุ่มปฐมภูมิคือกลุ่มขนาดเล็กที่มีจำนวนสมาชิกไม่มากนักสมาชิกในกลุ่มมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเป็นแบบส่วนตัว 2. กลุ่มทุติยภูมิคือกลุ่มขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกมากและมีความสัมพันธ์กันแบบทางการสมาชิกนี้กลุ่มมีความสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาท
7.2. 1 .วิถีชีวิตคือการดำเนินชีวิตที่สมาชิกในสังคมทั่วไปปฏิบัติเป็นลักษณะนิสัยจนเกิดความเคยชินหรือเป็นแบบอย่างมีที่ยึดถือกันว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม 2 .ศีลธรรมจริยธรรมเป็นบรรทัดฐานของสังคมที่เป็นกฎศีลธรรมถือว่าเป็นแบบแผนความประพฤติที่มีความสำคัญมากกว่าวิถีชาวบ้าน 3 .กฎหมายเป็นข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะบังคับ และควบคุมพฤติกรรมของบุคคล ในรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยสวัสดิภาพของรัฐโดยส่วนรวม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย
7.2.1. ประเภทของสถานภาพแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. สถานภาพโดยกำเนิดหรือชาติวุฒิคือ สถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดซึ่งจะพบได้ตั้งแต่หน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เช่นสถานภาพ บิดา มารดา ลุง ป้า น้า อาแบ่งออกเป็นดังนี้ 1.1 ธรรมชาติกำหนดเช่น เกิดเป็นชาย เป็นหญิง เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาว 1.2 สังคมกำหนด เช่น เป็นคนชั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูงตามค่านิยมของสังคม 2 .สถานภาพที่ได้มาภายหลังหรือได้มาตามความสามารถตามคุณวุฒิได้แก่ 2.1 สภาพทางการศึกษาเช่นนักเรียนนักศึกษานิสิต 2.2 สถานภาพตามความสามารถ เช่นผู้นำ หัวหน้า ประธาน 2.3 สถานภาพทางอาชีพ เช่น ครูแพทย์ วิศวกร ทหาร ตำรวจ