
1. วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อหาค่าคงที่ผลคูณการละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์
1.2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของไอออนร่วมที่สมดุลการละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์
2. เครื่องมือและอุปกรณ์
2.1. ขวดรูปชมพู่ ขนาด 250 ml
2.2. บิวเรต
2.3. กรวยแก้วและกระดาษกรองเบอร์ 1
2.4. ปิเปรต ขนาด 5 ml และ 25 ml
2.5. บิกเกอร์ ขนาด 250 ml
2.6. กระบอกตวง ขนาด 10 ml
3. สารเคมี
3.1. สารละลายอิ่มตัวแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เตรียมโดยการละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 3กรัม ในน้ำ 1 ลิตร
3.2. สารละลายกรดเกลือเจือจางความเข้มข้น 1.0x0.001 โมลต่อลิตร
3.3. สาลละลายฟีนอล์ฟธาลีน
3.4. ผลแคลเซียมคลอไรด์
4. การทดลอง
4.1. ตอนที่1 เตรียมสารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำกลั่น
4.1.1. เตรียมผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 3กรัม ในน้ำ 1 ลิตร
4.1.2. ตั้งทิ้งว้ให้ตะกอนนอนก้นอย่างน้อ 1 ชั่วโมง
4.2. ตอนที่2 หาความสามารถของการละลายหรือการละลายได้ของแคลเซียมไฮดรอกไซด์และความเข้มข้นของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายอิ่มตัวแคลเซียมไฮดรอกไซด์
4.2.1. บรรจุสารละลายมาตรฐานกรดเจือจางความเข้มข้น 1.0x0.001 โมลต่อลิตร ลงในบิวเรตที่สะอาด
4.2.2. ปิเปตสารละลายส่วนใสที่มาจากตอนที่ 1 ใส่ขวดรูปชมพู่ 2 ใบๆละ5.00 ml เติมน้ำกลั่นขวดละ 25 ml
4.2.3. เติมฟีนอล์ฟธาลีนอินดิเคเตอร์ ลงไป 1หยด
4.2.4. ไทเทรตสาลละลายเจือจางที่เตรยมไว้จนถึงจุดยุติ สาลละลายจากสีชมพูจะใสไม่มีสี
4.2.5. บันทึกปริมาตรสารละลายมาตรฐานกรดเกลือที่ใช้ในไทเทรตในขวดรูปชมพู่
4.3. ตอนที่3 ผลของไอออนร่วมต่อค่า ค่าคงที่ผลคูณการละลาย
4.3.1. ปิเปตสารละลายจากตอนที่ 1 มา 50.00 ml ใส่ขวดรูอชมพู่ เติมแคลเซียมคลอไรด์ลงไป 0.50 กรัม แกว่งขวดช้าๆสังเกตสารละลายจากใสเป็นขุ่นอาจมีอนุภาคแขวนลอยแล้วเอาแต่ส่วนที่ใส มาไทเทรตหาความเข้มข้นนของผลของไอออนร่วมต่อค่า ค่าคงที่ผลคูณการละลาย
4.3.2. เปรียบเทียบความเข้มข้นของไอออนแต่ละชนิด เมื่อเติมแคลเซียมคลอไรด์ และเมื่อไม่มีการเติม
4.3.3. คำนวณหาค่าคงที่ผลคูรการละลายจากความเข้มข้นเฉลี่ยแคลเซียมไอออนและผลของไอออน เปรียบเทียบค่าคงที่ผลคูณการละลาย เมื่อมีการเติมกับอันก่อนหน้านี้