ลักษณะของภาษาไทย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ลักษณะของภาษาไทย by Mind Map: ลักษณะของภาษาไทย

1. 4.เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา

1.1. ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์

1.2. 1.หน่วยเสียงพยัญชนะไทย มี ๒๑ เสียง แต่มีรูปถึง ๔๔ รูป 2.หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา แต่มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูปเท่านั้น คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา

2. 5.การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก

2.1. คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก

2.2. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย) คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)

3. 6.การลงเสียงหนัก - เบาของคำ

3.1. ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำ การลงเสียงหนัก เบาของคำในภาษาไทย จะมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับคำซึ่งมีมากกว่าสองพยางค์ และการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับประโยค โดยพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์ และเจตนาของการสื่อสาร

3.2. 1.ถ้าเป็นคำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น คนเราต้องมีมานะ (นะ เสียงหนักกว่า มา) 2.ถ้าเป็นคำสามพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง หรือ พยางค์ที่สองด้วยถ้าพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สองมีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย 4.ถ้าเป็นคำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆ ก็ลงเสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบของพยางค์

4. 7.การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ

4.1. คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล

4.2. 1.พิจารณาจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น น้องสาวถามพี่ว่าเพื่อนพี่คนสูง ๆ สวมแว่นตาคลอดหรือยัง (พี่ย่อมเข้าใจได้ว่าเพื่อนพี่ที่น้องถามถึงเป็นเพื่อนผู้หญิง เพราะคำกริยา คลอดใช้แก่ประธานที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น) 2.พิจารณาจากหน้าที่ของคำ เช่น เด็กดีเรียนดี (ดี คำแรกขยายคำนาม เด็ก ดี คำที่สอง ขยายกริยา เรียน เพราะคำขยายจะอยู่ข้างหลังคำหลัก หรือคำที่ถูกขยาย) 3.พิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น ขัด มีความหมายว่า ติด 4.พิจารณาจากเจตนาของผู้พูด เช่น สามีกล่าวให้ภรรยาฟังว่าเลขานุการของเขามีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ภรรยาก็กล่าวว่า แหม เก่งจริงนะ

5. นาย อนันดา คงเกิด ม.6/6 เลขที่ 12

6. 1.ภาษาคำโดด

6.1. คือภาษาที่อุดมไปด้วยคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่อมาเกิดการยืมคำจากภาษาต่างประเทศจึงมีคำหลายพยางค์ใช้ เช่น มารดา บิดา เสวย ดำเนิน ออกซิเจน คอมพิวเตอร์ ในที่สุดก็สร้างคำขึ้นใช้เองจากคำพยางค์เดียว และคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เป็นการเพิ่มคำขึ้นใช้ในภาษาเป็นคำหลายพยางค์ ได้แก่ คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม คำสมาส เช่น เด็ก ๆ เท็จจริง ไข่ดาว วิทยาศาสตร์

6.2. 1.ภาษาไทยมีคำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เพื่อให้ทราบสัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน เช่น ใช้ วง เป็นลักษณนามของ แหวน นามวลีที่มี ลักษณนามอยู่ด้วย จะมีการเรียงคำแบบ นามหลัก + คำบอกจำนวน + คำลักษณนาม เช่น แมว ๓ ตัว 2.ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำซ้อนที่เป็นการสร้างคำเพิ่มเพื่อใช้ในภาษา เช่น ใกล้ ๆ หยูกยา 3.ภาษาไทยมีคำบอกท่าทีของผู้พูด เช่น ซิ ละ นะ เถอะ 4.ภาษาไทยมีคำบอกสถานภาพของผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น คะ ครับ จ๊ะ ฮะ

7. 2.การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม

7.1. ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียงกันเป็นประโยค ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียงลำดับ ดังนี้ นาม กริยา นาม

7.2. ตัวอย่าง

7.2.1. 1.เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้ 2.คุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้

8. 3.ภาษาวรรณยุกต์

8.1. ภาษาไทยเป็นภาษาวรรณยุกต์ ภาษาวรรณยุกต์เป็นภาษาที่มีการไล่เสียงของคำ ในภาษาไทยมีการไล่เสียงวรรณยุกต์ หรือการผันวรรณยุกต์ ได้ ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา การที่ภาษาไทยผันไล่เสียงได้นี้ ทำให้มีคำใช้มากขึ้น การไล่เสียงสูง ต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น มา ม้า หมา มีความหมายแตกต่างกัน ถ้าออกเสียง คำว่า ม้า เป็น หมา ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย