กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค by Mind Map: กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

1. สิทธิผู้บริโภค 5 ประการ

1.1. 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำติชมคุณภาพที่ถูกต้องในสินค้าและบริการ

1.2. 2.สิทธิในการได้อิสระในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ

1.3. 3.สิทธิในการได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าแะบริการ

1.4. 4.สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากสัญญาหรือจากการทำสัญญา

1.5. 5.สิทธิจากการที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

2.1. หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

2.2. หมวด 2 การคุ้มครองผู้บริโภค

2.2.1. ส่วนที่ 1 : ด้านการโฆษณา , ส่วนที่ 1.1 : ด้านความปลอดภัย

2.2.2. ส่วนที่ 2 : ด้านฉลาก ,ส่วนที่ 2 ทวิ : ด้านสัญญา

2.2.3. ส่วนที่ 3 : ด้านประการอื่นๆ

2.3. หมวด 3 การอุทธรณ์

2.4. หมวด 4 บทกำหนดโทษ

2.5. สาระสำคัญ

2.5.1. 1.กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค 5 ประการ

2.5.2. 2.แต่งตั้งคณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค

2.5.3. 3.คุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา

3. ประเภทของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

3.1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคโดยตรง

3.1.1. คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 ได้กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคที่พึงได้รับ 5 ประการ

3.2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และหน้าที่

3.2.1. ด้านหลักเกณฑ์

3.2.1.1. กฎหมายคุ้มครองไม่เพียงแต่ผู้ซื้อ แต่รวมไปถึงผู้ใช้บริการด้วย

3.2.2. ด้านหน้าที่

3.2.2.1. คือ เข้าตรวจสอบหรือควบคุมดูแลผู้ประกอบการกิจการธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและความปลอดภัยในการใช้สินค้าและบริการ

3.2.2.2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าและรับบริการ

3.2.2.3. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและบริการ

4. ความหมายและความสำคัญ

4.1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สินค้าและบริการที่จำเป็นต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณา โดยรัฐบาลจะต้องเข้ามาคุ้มครองและแก้ไขปัญหาเมื่อปัญหาเมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อนในการใช้สินค้าและบริการ

4.2. กฎหมายที่มุ่งหวังและมีส่วนคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการธุรกิจ

5. หน่วยงานของรัฐที่คุ้มครองผู้บริโภค

5.1. 1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้ริโภคสำนักนายกรัฐมนตรี

5.1.1. มีหน้าที่รับดูแลผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการ และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค

5.2. 2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

5.2.1. มีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆให้เป็นไปตามกฎหมาย

5.3. 3.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกองโภชนาการ

5.3.1. มีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและให้คำปรึกษา แนะนำวิชาการด้านโภชนาการ

5.4. 4.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

5.4.1. มีหน้าที่ควบคุมสินค้าให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและ ไม่ให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

5.5. 5.กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์

5.5.1. มีหน้าที่ควบคุมปริมาณการชั่ง ตวง และวัดสินค้า

5.6. 6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

5.6.1. มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำ สัญญาซื้อขายที่ดิน

5.7. 7.สำนักงานมาตรฐานการ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

5.7.1. มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวจสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม

5.8. 8.กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5.8.1. มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษ ทางการเกษตร

5.9. 9.คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำจังหวัด

5.9.1. มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือ ร้องเรียนจากผู้บริโภค