Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ดนตรีสากล by Mind Map: ดนตรีสากล

1. เครื่องดนตรีในสมัยแรก มี 4 ชิ้น คือ 1. กีต้าร์เมโลดี้ (หรือกีต้าร์โซโล) 2. กีต้าร์คอร์ด 3. กีต้าร์เบส 4. กลองชุด

2. วงชาร์โด (Shadow)

2.1. เป็นวงดนตรีขนาดเล็กๆ เคลื่อนย้ายสะดวก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กีต้าร์ลีด กีต้าร์คอร์ด กีต้าร์เบส กลองชุด แบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 สมัย

2.1.1. 1. วงชาโดว์แนวบูล คันทรี โฟล์ค 2.วงชาโดว์แนวร็อคเป็นต้นฉบับให้กับร็อครุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร็อคนี้เรียกว่า คลาสสิคร็อค มาถึงกำเนิดสตริงสัญชาติไทย (พ.ศ. 2503-2515)

2.2. เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะเพลงประเภท อันเดอร์กราว

3. วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)

3.1. วงป็อปปูล่ามิวสิค (Popular Music) หรือ วงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไปประกอบด้วย เครื่องดนตรีกลุ่มแซกโซโฟน กลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ

3.2. วงป็อปปูล่ามิวสิค ส่วนใหญ่มี 3 ขนาด

3.2.1. 1.วงขนาดเล็ก (วง 4x4) มีเครื่องดนตรี 12 ชิ้น ดังนี้ - กลุ่มแซกโซโฟน ประกอบด้วย อัลโตแซก 1 คัน เทเนอร์แซก 2 คันบาริโทน แซก 1 คัน - กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3 คัน ทรอมโบน 1 คัน - กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย เปียโน 1 หลัง กีต้าร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1 ตัว กลองชุด 1 ชุด

3.2.2. 2.วงขนาดกลาง (5x5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น คือ เพิ่มอัลโตแซก และ ทรอมโบน

3.2.3. 3.วงขนาดใหญ่ (Big Band )(5 x 7) มี 16 ชิ้น เพิ่ม ทรัมเป็ต และ ทรอมโบนอย่างละตัว ในปัจจุบันใช้กีต้าร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน

4. วงคอมโบ้ (Combo band)

4.1. วงคอมโบ (Combo band) เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมกับการขับร้องไม่จำกัดชนิดและจำนวนของเครื่องดนตรี

4.2. เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรี ได้แก่ ทรัมเป็ต เทเนอร์แซกโซโฟน อัลโตแซกโซโฟน ทรอมโบน เปียโน กีตาร์ เบส และกลองชุด

4.3. โอกาสที่ใช้บรรเลง ใช้บรรเลงในงานทุกประเภท เพื่อสนุกสนาน เฉลิมฉลอง ประกอบ การลีลาศหรือเต้นรำ บรรเลงในห้องอาหารหรือสถานรื่นรมย์ต่างๆ

4.4. บทเพลงที่ใช้บรรเลงในวงดนตรี เพลงทุกประเภท ได้แก่ เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงสากล และเพลงภาษาต่างๆ

5. วงโยธวาทิต ( Military Band)

5.1. บรรเลงเพื่อพระเกียรติยศแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ บรรเลงเพื่อนประกอบการสวนสนามของทหารและการเดินแถว

5.2. โยธวาทิต แบ่งตามลักษณะการบรรเลง ได้ดังนี้

5.2.1. 1. วงเดินแถว (marching band) 2. วงนั่งบรรเลง (concert band) 3. วงแปรขบวน (display)

5.3. เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทิต มี 3 ประเภท ดังนี้

5.3.1. 1. เครื่องเป่าลม (woodwind instruments) 2. เครื่องเป่าทองเหลือง (brass instruments) 3. เครื่องกระทบ (percussion instruments))

6. วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

6.1. วงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือ สถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนัก ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นจึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่ และ ใน Concert Hall โดยเฉพาะวงเดนตรีชมเบอร์มิวสิคเน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆกัน โดยปกติจะมีนักดนตรี 29 คน และ เรียกชื่อต่างๆกัน ตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้

6.1.1. จำนวนผู้บรรเลง 2 คน เรียกว่า ดูโอ (Duo) จำนวนผู้บรรเลง 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio) จำนวนผู้บรรเลง 4 คน เรียกว่า ควอเตท (Quartet) จำนวนผู้บรรเลง 5 คน เรียกว่า ควินเตท (Quintet) จำนวนผู้บรรเลง 6 คน เรียกว่า เซกซ์เตท (Sextet) จำนวนผู้บรรเลง 7 คน เรียกว่า เซปเตท (Septet) จำนวนผู้บรรเลง 8 คน เรียกว่า ออกเตท (Octet) จำนวนผู้บรรเลง 9 คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)

6.2. โดยปกติการผสมวงดนตรีแบบเชมเบอร์มิวสิคจะมีนักดนตรีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจนถึง 9 คนและ วงดนตรีจะมีชื่อต่าง ๆ ตามจำนวนของผู้บรรเลงเช่นการเรียกชื่อ จะต้องบอกชนิดของเครื่องดนตรีและจำนวนของผู้เล่นเสมอ ดังนี้

6.2.1. • วงสตริงทรีโอ (String Trio) มี ไวโอลิน 1 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน • วงสตริงควอเต็ท (String Quartet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน และ เชลโล 1 คัน • วงสตริงควินเตท (String Quintet) มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน เชลโล 1 คัน และ ดับเบิลเบส 1 คัน

6.3. ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน เรียก อังซังเบลอ (ensemble) เช่นวินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบสของ โมสาร์ทเป็น Serenade สำหรับเครื่องลม Bแฟลต

6.4. วงแชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรีแต่ ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุดเพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน ปัจจุบันแล้ววงแชมเบอร์มิวสิค ประเภทวงดนตรีเครื่องสาย และวงดนตรีเครื่องสายผสม ยังคงได้รับความนิยมนำไปบรรเลงในงานแต่งงานอีกด้วย

7. วงซิมโฟนี ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)

7.1. เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องดนตรีและผู้บรรเลงจำนวนมาก บทเพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายประเภทเช่น ซิมโฟนคอนแชร์โตโอเวอร์เจอร์

7.2. ขนาดของวงดนตรีออร์เคสตร้า(Orchestra)ได้กำหนดโดยผู้บรรเลงดังนี้

7.2.1. • วงขนาดเล็ก ( Small Orchestra ) มีผู้บรรเลงประมาณ 40 – 60 คน • วงขนาดกลาง ( Medium Orchestra ) มีผู้บรรเลงประมาณ 60 – 80 คน • วงขนาดใหญ่ ( Full Orchestra ) มีผู้บรรเลงประมาณ 80 คนขึ้นไป

7.3. วงดนตรีประเภทนี้จะประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกประเภท

7.3.1. เครื่องสาย, เครื่องลมไม้เครื่องลมทองเหลือง, เครื่องลิ้มนิ้วและเครื่องตีกระทบ

8. วงแจ๊ส (Jazz)

8.1. วงแจ๊ส (Jazz band) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนในอเมริกาโดยมีลักษณะพิเศษคือ โน้ตบูลส์ จังหวะสวิง การโต้ตอบทางดนตรี และการเล่นสด

8.2. เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรี ได้แก่ คลาริเน็ต ทรัมเป็ต ทรอมโบน ดับเบิลเบส เปียโน กีตาร์ กลอง และแซกโซโฟน ประกอบด้วย โซปราโนแซกโซฟน อัลโตแซกโซโฟน

8.3. โอกาสที่ใช้บรรเลง ใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ในการร้อง หรือการประกอบการเต้นรำ เพื่อความสนุกสนาน

8.4. บทเพลงที่ใช้บรรเลงในวงดนตรี เป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ ให้ความรู้สึกสนุกสนาน หรือความเศร้าโศกได้ เช่น เพลง Tiger Rag ของเบนนี กู๊ดแมน

9. แตรวง (วงทองเหลือง)

9.1. แตรวง เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีที่ผสมด้วยเครื่องดนตรี (กลุ่มเครื่องทองเหลือง,กลุ่มเครื่องกระทบ) ชนิดต่างๆ เพียงสองตระกูลเท่านั้น วงดนตรีในลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้บรรเลงนำในการเดินแถวในทุกสภาพท้องถิ่น

9.2. ปัจจุบันแตรวงได้มีการพัฒนาการเป็น 2 รูปแบบ คือ

9.2.1. 1. แตรวงที่พัฒนาเป็นวงโยธวาธิต ใช้ในกิจกรรมของกองทัพ และตามโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ มีรูปแบบในการบรรเลง เช่น มีระเบียบแบบแผนในการบรรเลง ใช้โน้ตสากลที่แยกกันแต่ละเครื่องดนตรี แตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี 26 ชิ้น ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2 กลุ่ม คือ

9.2.1.1. 1. กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass Instruments) 2. กลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instruments)

9.2.2. 2. แตรวงชาวบ้าน ใช้ในกิจกรรมชาวบ้าน ในการแห่ประกอบงานรื่นเริง งานบวช งานสมโภช งานบุญต่างๆ โดยบรรเลงแบบวงปี่พาทย์ คือ ใช้บทเพลงที่ใช้กับวงดนตรีทั่วไป โดยเน้นความสนุกสนาน