พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี by Mind Map: พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี

1. ประวัติ

1.1. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นข้าราชการชาวไทย ระหว่างเป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต

1.2. พุทธศักราช ๒๔๒๘ ได้เป็นที่ พระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองตระ (กระบุรี) พุทธศักราช ๒๔๓๓ ได้เป็นที่ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง พุทธศักราช ๒๔๔๔ ได้เป็นที่ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

2. พระราชกรณียกิจ

2.1. การคมนาคมสื่อสาร ท่านให้ความสำคัญของการติดต่อขนส่งและการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองตรังจากตำบลควนธานี ซึ่งมีการติดต่อคมนาคมได้เฉพาะทางน้ำ ไปตั้งที่ตำบลกันตัง เป็นทำเลที่จะติดต่อได้สะดวกกว่า และดำเนินการตัดถนนระหว่างตำบลเมือง จังหวัด ให้ติดต่อถึงกันได้โดยสะดวก

2.2. การขนส่ง สมัยนั้นใช้ "เกวียน" เป็นหลัก ท่านได้จัดสร้างเกวียน และซื้อโค แลกเปลี่ยนกับการที่เจ้าของเหมืองจะต้องขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน จากนั้นก็จ่ายเกวียนให้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านใช้เป็นที่แพร่หลาย ราษฎรเรียกว่า " เกวียนเทศา" ตามตำแหน่งของท่านเมื่อเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑล

2.3. การติดต่อทางน้ำ ได้สร้างท่าเรือที่อ่าวภูเก็ต เพื่อให้เรือใบและเรือกลไฟขนาดใหญ่เข้าจอดได้ ท่าเรือนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ท่านเรศ"

2.4. การศึกษา ท่านให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก ทั้งภาคประชาชน และภิกษุสามเณร ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรม จัดหาพระภิกษุที่มีความรู้มาสอน หากหาครูฆราวาสไม่ได้ ก็นิมนต์พระภิกษุสอน เด็กนักเรียนต้องเสียค่าเล่าเรียนครอบครัวละ ๑ บาทต่อเดือน

2.4.1. ริเริ่มระบบพ่อแม่อุปถัมภ์ หากท่านไปตรวจราชการแล้วพบเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ท่านจะนำใส่รถมาพบพ่อแม่ผู้ปกครอง หากพ่อแม่ยากจนส่งเสียให้เรียนไม่ได้ ท่านจะมอบหมายให้ข้าราชการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปกครองแทน

2.4.1.1. โรงเรียนสตรี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ตั้งโรงเรียนของสตรีขึ้น ให้เล่าเรียนหนังสือ และฝึกวิชาช่างของสตรีสมัยนั้น

2.4.2. การศึกษาก้าวไกล ด้วยการคัดเลือกบุตรหลานข้าราชการในมณฑลส่งไปศึกษาภาษาอังกฤษ และศึกษาวิชาการปกครอง และการบริหารราชการที่กรุงเทพฯ

2.4.3. ส่งข้าราชการไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาใช้ โดยส่งพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) กับพระยาอาณาจักร (อ้น ณ ถลาง) ไปดูงานการเกษตรและการปลูกยางพาราที่สหพันธรัฐมลายู

2.5. การสาธารณสุข ได้จัดให้มีแพทย์ประจำตำบล เรียกว่าแพทย์เชลยศักดิ์

2.5.1. โรงพยาบาลสมัยใหม่ มีเครื่องเอ็กซเรย์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โรงพยาบาลที่ท่านตั้งขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ปลูกสร้างใหม่และพระราชทานนามว่า "วชิรพยาบาล"

2.6. การเกษตรสวนครัว แนะนำราษฎรเลี้ยงไก่ ปลูกพืชผักสวนครัว หากผู้ใดทำนาและสวนครัวได้ผลในเนื้อที่ ๒๕ ไร่ จะได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานโยธาปีละ ๑๕ วัน ถ้าปลูกมะพร้าว ๕๐ ต้น หมาก ๑๐๐ ต้น กาแฟ ๕๐ ต้น ภายใน ๑๐ ปีไม่ต้องเสียภาษีอากร

2.6.1. ปลูกยางพารา เมื่อพริกไทย พืชส่งออกของไทยราคาตกต่ำลง ท่านจึงศึกษาการปลูกและทำยางพาราจากรัฐมลายู ได้นำพันธุ์ยางพารามาชักชวนแกมบังคับให้ประชาชนปลูกจนเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ราษฎรเรียกว่า “ยางเทศา”

2.7. นำธนาคารเข้ามาในประเทศ  เพื่อให้การหมุนเวียนการเงินเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย จึงชักชวน "ชาร์เตอร์แบงค์" ในต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขา เกิดธนาคารขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

2.8. ตลาดนัด ท่านนำแบบอย่างมาจากชวา ประกาศให้ชาวบ้านนำสินค้าท้องถิ่นมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เกิดการขยายการเกษตรกรรม และสร้างชุมชนเมือง

2.9. กองตำรวจภูธร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย จัดทำแผนที่มณฑล บัญชีรายชื่อ รูปพรรณคนร้าย ฯลฯออกทะเบียนเรือราษฎรเพื่อป้องกันการโจรกรรม