ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์ (hardware)

1.1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

1.1.1. มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ

1.1.2. ทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock

1.1.2.1. เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง

1.1.3. เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt)

1.1.3.1. หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที

1.2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

1.2.1. ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

1.2.2. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

1.2.2.1. แป้นพิมพ์

1.2.2.1.1. สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ

1.2.2.2. เมาส์

1.2.2.2.1. สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม

1.2.2.3. สแกนเนอร์

1.2.2.3.1. สำหรับสแกนรูปภาพ

1.2.2.4. จอยสติ๊ก

1.2.2.4.1. สำหรับเล่นเกมส์

1.2.2.5. ไมโครโฟน

1.2.2.5.1. สำหรับพูดอัดเสียง

1.2.2.6. กล้องดิจิตอล

1.2.2.6.1. สำหรับถ่ายภาพ

1.3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

1.3.1. มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ

1.3.1.1. ข้อความ

1.3.1.2. ภาพนิ่ง

1.3.1.3. ภาพเคลื่อนไหว

1.3.1.4. เสียง

1.3.2. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผล

1.3.2.1. จอภาพ (Monitor)

1.3.2.1.1. สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ

1.3.2.2. เครื่องพิมพ์ (Printer)

1.3.2.2.1. สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์

1.3.2.3. ลำโพง (Speaker)

1.3.2.3.1. แสดงเสียงเพลงและคำพูด

1.4. หน่วยความจำ (Memory Unit)

1.4.1. มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

1.4.1.1. หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory)

1.4.1.1.1. เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา

1.4.1.2. หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory)

1.4.1.2.1. จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น

1.4.1.2.2. ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้

1.4.1.2.3. เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM

1.5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

1.5.1. ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป

1.5.1.1. ฮาร์ดดิสก์

1.5.1.2. ดิสก์ไดร์ฟ

1.5.1.3. ซีดีรอม

1.5.1.4. ดีวีดีรอม

1.5.1.5. ทัมท์ไดร์ฟ

2. ซอฟต์แวร์ (software)

2.1. ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

2.1.1. ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์

2.1.2. เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง

2.1.3. ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล

2.1.4. โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)

2.1.4.1. คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น

2.1.4.2. อินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป

2.1.4.3. ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี

2.1.4.3.1. ตัวแปลภาษาเบสิก

2.1.4.3.2. ตัวแปลภาษาโคบอล

2.2. ซอฟท์แวร์ประยุกต์

2.2.1. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้

2.2.2. สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

2.2.3. แบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่ม

2.2.3.1. ซอฟต์แวร์สำเร็จ

2.2.3.1.1. ซอฟต์แวร์ประมวลคำ

2.2.3.1.2. ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน

2.2.3.1.3. ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล

2.2.3.1.4. ซอฟต์แวร์นำเสนอ

2.2.3.1.5. ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล

2.2.3.2. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ

2.2.3.2.1. เน้นการใช้งานทั่วไป

2.2.3.2.2. อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้

2.2.3.2.3. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ

2.2.4. เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น

2.2.5. เป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน

2.3. ซอฟท์แวร์ระบบ

2.3.1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก

2.3.1.1. รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ

2.3.1.2. ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์

2.3.1.3. ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า

2.3.1.4. ส่งออกอื่น ๆ

2.3.1.4.1. เมาส์

2.3.1.4.2. อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง

2.3.2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ

2.3.2.1. เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก

2.3.2.2. นำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

2.3.3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์

2.3.3.1. สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น

2.3.3.1.1. การขอดูรายการสาระบบในแผ่นบันทึก

2.3.3.1.2. การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

2.4. ระบบปฏิบัติการ

2.4.1. ดอส

2.4.1.1. เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว

2.4.1.2. การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร

2.4.1.3. เป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์

2.4.2. วินโดวส์

2.4.2.1. เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส

2.4.2.2. เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้

2.4.2.3. แต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ

2.4.2.4. การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก

2.4.2.5. ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน

2.4.3. โอเอสทู

2.4.3.1. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส

2.4.3.2. บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม

2.4.3.3. เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน

2.4.3.4. การใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์

2.4.4. ยูนิกซ์

2.4.4.1. เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์

2.4.4.2. เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน

2.4.4.3. ทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน

2.4.4.4. ใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน

2.5. ตัวแปลภาษา

2.5.1. ภาษาปาสคาล

2.5.1.1. เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง

2.5.1.2. เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ

2.5.1.3. ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้

2.5.2. ภาษาเบสิก

2.5.2.1. เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก

2.5.2.2. สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย

2.5.2.3. มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้

2.5.3. ภาษาซี

2.5.3.1. เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ

2.5.3.2. เป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ

2.5.4. ภาษาโลโก

2.5.4.1. เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก