เศรษฐกิจพอเพียง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เศรษฐกิจพอเพียง by Mind Map: เศรษฐกิจพอเพียง

1. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1.1.1. เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน ในช่วงตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงพระราชทานความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง เอาไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficiency Economy

1.2. แนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

1.2.1. คุณลักษณะ

1.2.1.1. เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

1.2.2. คำนิยาม

1.2.2.1. ความพอประมาณ

1.2.2.1.1. ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

1.2.2.2. ความมีเหตุผล

1.2.2.2.1. การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

1.2.2.3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

1.2.2.3.1. การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

1.2.3. เงื่อนไข

1.2.3.1. เงื่อนไขความรู้

1.2.3.1.1. ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

1.2.3.2. เงื่อนไขคุณธรรม

1.2.3.2.1. ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

1.2.4. กรอบแนวความคิด

1.2.4.1. เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา

2. รายรับรายจ่าย

2.1. การใช้เงิน อย่างประหยัด

3. บุคคลตัวอย่าง

3.1. ดร. เกริก

3.1.1. เงินจะไม่สำคัญกับชีวิตถ้าคุณมีเงินและรู้จักพอเพียง ทุกวันนี้ ดร อยากไปไหนก็ไปได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน เพราะมี ATM พกติดต่อ กดตังค์ที่ไหนก็ได้ แถมยังไปได้ทันทีเพราะไม่มีเวลางานตายตัว

3.1.2. ไม่มีที่ดินไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่มีวิชาอันนี้ปัญหาใหญ่ ถ้าคุณสำเร็จวิชาเกษตรกรแล้ว อยู่ที่ไหนในไทยก็รอด ที่ดินตามต่างจังหวัดมีค่าเช่าไม่แพง ปีละหลักพันบาท ไร่ละหลักหมื่น แต่ไม่ติดถนน ห่างไกลความเจริญ ถ้าติดถนนนี่แพง แต่ถ้าคุณมีที่เป็นของตัวเองอยู่แล้ว อย่างนี้ง่ายเลย

3.1.3. ไร่ของ ดร. เป็นที่ทำงาน ไม่ใช่ที่ดูงาน เกษตรกรเป็นอาชีพที่ต้องลงมือทำ ไม่ใช่ยืนดู ถ้าอยากเป็นเกษตรกร สามารถมาลงมือทำได้โดย ดร จะสอนหมดทุกขั้นตอน มีค่าแรงให้วันละ 200 บาท ที่นอนฟรี wifi ฟรี ข้าวสารฟรีแต่ต้องหุงเองสีเอง มีไก่ไข่ฟรี มีบ่อปลา ผักจากธรรมชาติฟรี หรือจะปลูกเองก็ได้ รายได้จากผลผลิตทั้งหมดหารครึ่งโดย ดร จะไม่หักต้นทุน ทุกอย่าง ดร จ่ายให้หมด เคยมีคนเก็บเงิน 1 ปีได้มากกว่า 400,000 บาท ถ้าอยากหยุดเพื่อพักผ่อนก็ทำได้ แต่วันนั้นจะไม่ได้ 200 สามารถเลิกกลางคันได้ แต่ถ้าผลผลิตยังทำไม่เสร็จ ก็จะได้แค่ 200 บาท

3.1.4. เวลาเรียนใช้ทั้งหมด 1 เดือนต่อ 1 วิชา มี 5 วิชาให้เรียนคือ 1. เผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไหม้ 2. ทำดินจากใบไม้และหญ้า 3. ทำปุ๋ย 4. ปลูกต้นกล้า 5. ทำนา ถ้าเรียนครบหลักสูตรจนผลผลิตเสร็จเรียบร้อย รายได้หารครึ่ง ถ้าทำไม่ครบ ได้แค่ค่าเหนื่อย 200 บาท ตอนที่ผมไปสัมภาษณ์มีคนกำลังเรียนรู้งานจาก ดร ที่ไร่ราวๆ 30 กว่าคนและทุกคนกำลังเรียนรู้วิธีทำนา และเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย