ไฟฟ้าสถิต

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ไฟฟ้าสถิต by Mind Map: ไฟฟ้าสถิต

1. ตัวนำและฉนวนไฟฟ้า

1.1. ตัวนำไฟฟ้า คือ วัตถุที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้สะดวกตลอดเนื้อวัตถุโดยง่าย เช่น โลหะต่างๆ เบสและเกลือ เป็นต้น

1.2. ฉนวนไฟฟ้า คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปได้สะดวกหรือไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เช่น ยาง กระเบื้องเคลือบ แก้ว เป็นต้น

2. การทำให้วัตถุตัวนำเกิดไฟฟ้า

2.1. การขัดถู

2.1.1. การถูแก้วด้วยผ้าไหม

2.1.2. การถูแท่งอำพันด้วยผ้าขนสัตว์

2.2. การสัมผัส (แตะ)

2.2.1. การนำวัตถุที่มีประจุอิสระอยู่แล้วมาสัมผัสกับวัตถุที่เดิมเป็นกลาง จะทำให้วัตถุที่เป็นกลางนี้มีประจุไฟฟ้าอิสระ

2.2.2. เงื่อนไข

2.2.2.1. ประจุไฟฟ้าอิสระที่ตัวนำได้รับ จะเป็นประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันกับชนิดของประจุไฟฟ้าบนตัวนำที่นำมาสัมผัสเสมอ

2.2.2.2. การถ่ายเทประจุเป็นการถ่ายเทอิเล็กตรอนเท่านั้นและการถ่ายเทจะสิ้นสุดเมื่อศักย์ไฟฟ้า (ระดับไฟฟ้า) บนวัตถุที่แตะกันมีค่าเท่ากัน

2.2.2.3. ประจุไฟฟ้าอิสระบนตัวนำทั้งสองที่มาแตะกัน ภายหลังการแตะจะมีจำนวนเท่ากันหรืออาจไม่เท่ากันก็ได้ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความจุไฟฟ้าของตัวนำทั้งสอง

2.2.2.4. ประจุไฟฟ้ารวมทั้งหมดบนตัวนำทั้งสองภายหลังการแตะจะมีจำนวนเท่ากับประจุไฟฟ้าทั้งหมดก่อนแตะกัน

2.3. การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

2.3.1. การนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใกล้วัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าจะทำให้เกิดประจุชนิดตรงกันข้ามบนตัวนำที่อยู่ใกล้วัตถุ

3. อิเล็กโทรสโคป

3.1. แบบลูกพิท

3.1.1. ลูกกลม ทำด้วยโฟมฉาบด้วยโลหะ ตัวลูกกลมแขวนด้วยเส้นด้ายเล็กๆ

3.2. แบบแผ่นโลหะ

3.2.1. แกนโลหะด้านในเชื่อมติดกับจานโลหะชนิดเดียวกันกับปลาย ล่างแท่งโลหะมีแผ่นโลหะบางๆติดไว้

4. สนามไฟฟ้า

4.1. แรงที่กระทำต่อประจุบวกขนาดหนึ่งหน่วยซึ่งวางไว้ตำแหน่งใดๆ คือสนามไฟฟ้า ณ ตำแหน่งนั้น

4.2. เส้นสนามไฟฟ้า

4.2.1. เพื่อแสดงทิศทางของสนามไฟฟ้าในบริเวณรอบๆจุดประจุ

5. ความหมาย

5.1. เป็นปรากฏการณ์ที่นำวัตถุมาทำการขัดสี หรือถู หรือเหนี่ยวนำกัน ทำให้วัตถุหนึ่งการสูญเสียอิเล็กตรอน ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน วัตถุที่สูญเสียอิเล็กตรอน จะมีประลบน้อยลง ทำให้แสดงอำนาจทางไฟฟ้าบวก ส่วนวัตถุที่ได้รับอิเล็กตรอน จะทำให้มีประจุลบมากขึ้น ทำให้แสดงอำนาจทางไฟฟ้าลบ

6. ประจุไฟฟ้า

6.1. ชนิดของประจุ

6.1.1. ประจุบวก : เกิดบนแท่งแก้ว เมื่อถูด้วยผ้าไหม

6.1.2. ประจุลบ : เกิดบนแท่งอำพัน เมื่อถูด้วยผ้าขนสัตว์

6.2. แรงกระทำที่เกิดระหว่างประจุ

6.2.1. แรงดึงดูดกัน : ประจุต่างชนิดกัน

6.2.2. แรงผลักกัน : ประจุชนิดเดียวกัน

6.3. วัตถุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก แต่ละอะตอมมีนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน และบริเวณภายนอกนิวเคลียสมีอนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน

7. กฏการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า

7.1. อะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเมื่ออะตอมสูญเสียอิเล็กตรรอนไปจะกลายเป็นอะตอมที่มีประจุบวก ส่วนอะตอมที่ไดัรับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจักลายเป็นอะตอมที่มีประจุลบ โดยผลรวมของจำนวนประจุทั้งหมดของระบบที่พิจารณายังคงเท่าเดิม

8. ศักย์ไฟฟ้า

8.1. พลังงานศักย์ต่อประจุหนึ่งหน่วย

9. ตัวเก็บประจุและความจุไฟฟ้า

9.1. สัญลักษณ์

9.1.1. เป็นรูปขีดยาวสองขีดขนานกัน

10. การนำไปใช้ประโยชน์

10.1. เครื่องถ่ายเอกสาร

10.2. เครื่องพ่นสี

10.3. ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ