ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
by เตชพัฒน์ ชินวราภรณ์
1. ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
1.1. - คีย์บอร์ด (keyboard) แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลมาตรฐานลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์เครื่องพิมพ์ดีดทั่วไป มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีกลุ่มตัวเลขอยู่ทางด้านขวามือของผู้ใช้มีลักษณะเหมือนกับเครื่องคิดเลขทำให้สะดวกต่อการใช้งาน หน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่งไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เครื่องรับแผ่นบันทึก เมาส์ ฯลฯ
1.2. - เมาส์ (mouse) เมาส์ เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลเข้า ซึ่งการใช้งานในปัจจุบัน มีหลายแบบ มีทั้งแบบที่มีสาย และไม่มีสาย ซึ่งเมาส์ที่ไม่มีสาย เราเรียกว่าเมาส์อินฟราเรด และแบบ มีลูกกลิ้งกับแบบมีแสง ซึ่งแบบมีแสงจะไม่มีลูกกลิ้งเราเรียกว่า ออปติคอล
1.3. - สแกนเนอร์ (scanner)
1.4. - อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
1.5. - ไมโครโฟน(microphone) ไว้สื่อสาร
1.6. - กล้องเว็บแคม (webcam)
2. ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
2.1. ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) ทำหน้าที่ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งรวมถึงการอ่าน การคำนวณ และแปลค่าสัญญาณต่างๆ ที่ได้มาจากอุปกรณ์ Input และอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลอย่างเช่น Hard Disk และ RAM เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปแสดงผล สำหรับซีพียูนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแรกๆที่ผู้ซื้อควรจะมอง เพราะว่ามันจะ บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆได้ดีที่สุด ว่าซีพียูตัวนี้ความเร็วขนาดนี้น่าจะใช้งานในระดับไหนได้ดี โดยมักจะแบ่งการใช้งานเป็นหลัก เช่น ใช้งานเอกสารทั่วไป ใช้เล่นเกม 3D, 2D ที่มีความละเอียดสูงๆ หรือใช้งานทางด้านมัลติมีเดียความบันเทิงต่างๆ สำหรับซีพียูที่ออกมาวางขายในปัจจุบันนั้นก็จะมีอยู่ 2 ค่าย ได้แก่ ค่ายอินเทล และ ค่ายเอเอ็มดี โดยอินเทลจะมาด้วยซีพียู Intel Pentium4 กับ Intel celeron กับซ็อกเก็ต 478 ที่จะรองรับกับความเร็วบัส (FSB) ที่ 400, 533 และ 800MHz ส่วนซีพียูจากค่าย เอเอ็มดี นั้นก็จะมาด้วย AMD Athlon XP กับซ็อกเก็ต 462 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) ตั้งแต่ 200, 266 และ 333MHz และ AMD Athlon64 กับซ็อกเก็ต 754 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) 1600MHz
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
3.1. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลขและรูปภาพ
3.2. เครื่องวาด (Plotter)
4. หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.1. หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร
4.1.1. หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
4.1.2. หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง