ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยรับข้อมูล

1.1. อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์

1.2. สแกนเนอร์ ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ 1.แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่ 2.แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม 3.แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน

1.3. เมาส์ ทำหน้าที่ ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆบนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง

1.4. OCR(Optical Character Reader) ทำหน้าที่ นำเข้าข้อมูลโดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์

1.5. เครื่องอ่านพิกัด ทำหน้าที่ มักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ

1.6. ปากกาแสง ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ

1.7. แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่ ใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลต่างๆลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์

1.8. จอยสติก ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย

1.9. จอสัมผัส ทำหน้าที่ เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน

1.10. เครื่องเทอร์มินัล ทำหน้าที่ เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้

1.11. แผ่นสัมผัส ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

1.12. กล้องดิจิทัล ทำหน้าที่ รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที

1.13. OMR (Optical Mark Reader) ทำหน้าที่ อ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ

2. หน่วยประมวลผล

2.1. ซีพียู (CPU) ทำหน้าที่ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์

3. หน่วยแสดงผล

3.1. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่ แสดงผลลัพธ์หรือเอ้าท์พุท จากการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกมาทางจอภาพให้เราได้เห็นกันโดย Monitor จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง

3.2. เครื่องพิมพ์ (Printer) ทำหน้าที่ คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1.เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer) 2.เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) 3.พล็อตเตอร์ (Plotter)

3.3. .ลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่ เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง

4. หน่วยความจำ

4.1. หน่วยความจำหลัก

4.1.1. รอม (Read Only Memory : ROM) ทำหน้าที่ เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป

4.1.2. แรม (Random Access Memory : RAM) ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที

4.2. หน่วยความจำสำรอง

4.2.1. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย

4.2.2. ออปติคัลดิสก์ ทำหน้าที่ เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดา

4.2.3. อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช ทำหน้าที่ ธัมไดร์ฟ (thumb drive) หรือแฮนดี้ไดร์ฟ (handy drive) เป็นความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีดีพร็อม (Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก