ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit, CPU)หรือที่เรารู้จักในชื่อเต็มว่า Central Processing Unit หลายคนคงจะรู้มาก่อนแล้วว่าหน้าที่ของซีพียูมีหน้าที่อะไรในคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะขาดซีพียูไม่ได้เลย ถ้าจะเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์ซีพียูก็คือสมองที่มีหน้าที่สั่งการการทำงานของร่างกายและตรวจสอบการทำงานว่าร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติหรือเปล่า แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จักซีพียูอย่างลึกซึ้ง เนื้อหาในบทความนี้จะเจาะลึกถึงอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่เราเรียกว่า CPU

2. หน่วยรับข้อมูล (Input)

2.1. เมาส์ (Mouse) หน้าที่ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง

2.2. แทร็กบอล(Track Ball)lคือ ลูกกลมที่กลิ้งไปมาวางอยู่ในเบ้า ผู้ใช้สามารถบังคับลูกกลมให้หมุนไปมา เพื่อควบคุมการทำงานของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีการสร้างแทรกบอลไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบโน้ตบุ๊ค เพราะสะดวกต่อการใช้งานและใช้พื้นที่น้อย ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน

2.3. คีย์บอร์ด (Keyboard) หน้าที่่การกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)

2.4. จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพ ได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์

2.5. เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode reader) เป็นอุปกรณ์ที่ทำการแปลงข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นสัญญาณดิจิตอลผ่านคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้นั้นมาแปลเป็นข้อมูลด้วยการถอดรหัส ให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ถูกบรรจุในข้อมูลนั้น ๆ โดยเครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำหน้าที่ในการผลิตลำแสงซึ่งดูดซึมส่วนที่เป็นแท่งดำทึบ และสะท้อนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแท่งสัญญาณที่สะท้อนขึ้นจะแปลงเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์

2.6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป

3. หน่วยประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)

4. หน่วยความจำ (Memory).

4.1. รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป

4.2. แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 32, 64, 128, 256 เมกะไบต์ เป็นต้น

5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

5.1. จอแอลซีดี ( LCD Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ ผลึกเหลว”หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร

5.2. โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ

5.3. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย

5.4. พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว

5.5. ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน

5.6. หูฟัง ( Headphone ) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วย โดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก ( analog ) คือสัญญาณเสียงทั่ว ๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า

6. หน่วยความจำอื่นๆ

6.1. เคส คอมพิวเตอร์ – computer caseคอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

6.2. หน่วยความจำแฟลช สมองของ Flash drive สมองสำคัญของ Flash drive คือ หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถลบและเขียนใหม่ได้ เพราะมีลักษณะการทำงานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด แตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ที่ในขณะทำงานจะมีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลา และ Flash drive นั้นยังมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปยังที่ต่างๆ และเหตุผลสำคัญอย่างที่บอกไปแล้ว คือ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเขียนข้อมูลลงไป และสามารถลบเพื่อเขียนใหม่ได้ มีความทนทาน อีกทั้งยังสามารถเลือกขนาดความจุได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นตามความต้องการ แตกต่างจากในสมัยก่อนที่จะมีเพียงแผ่นดิกส์ เท่านั้นที่สามารถเก็บข้อมูลแล้วพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ แต่แผ่นดิกส์ก็มีข้อจำกัดตรงที่พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเก็บได้น้อย และไม่มีความทนทาน