บทเรียนสำเร็จรูป
by Bbank Supachai

1. ความหมาย
1.1. ลำดับประสบการณ์ที่จัดไว้สำหรับผู้เรียนไปสู่ความสามารถ โดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ
1.2. บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน โดยเริ่มจากเนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ ไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นไปตามลำดับ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
2. จุดมุ่งหมายของบทเรียนสำเร็จรูป
2.1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง .อย่างเต็มความสามารถ
2.2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตามลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก
2.3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเอง และทราบถึงพัฒนาการในการเรียนรู้ของตนเอง
2.4. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3. ลักษณะที่สำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป
3.1. เนื้อหาของบทเรียนถูกแบ่งออกเป็นหน่วยเล็กๆ เรียกว่า “กรอบ” (Frame) แต่ละกรอบมีคำอธิบายและคำถามต่อเนื่องกันไป เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจหน่วยย่อยถัดไป
3.2. การเขียนเนื้อหาในแต่ละกรอบ บางกรอบจะพาดพิงไปถึงกรอบที่ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนให้เข้าใจยิ่งขึ้น
3.3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมและตอบสนองในกิจกรรมต่างๆที่จัดไว้ในแต่ละกรอบ
3.4. ผู้เรียนค่อยๆเรียนทีละกรอบ เรียงลำดับต่อเนื่องกันไป
3.5. การตอบของผู้เรียนได้รับการเสริมแรง (Reinforcement) โดยการทราบคำตอบทันที
3.6. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง ไม่กำหนดเวลาการศึกษาบทเรียน จึงขึ้นอยู่กับระดับสติปัญญาและความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
4. ประเภทและองค์ประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป
4.1. บทเรียนเชิงเส้น
4.1.1. การเรียนรู้ควรแบ่งเป็นชั้นย่อยๆ ตอนท้ายของแต่ละชั้นผู้เรียนจะต้องแสดงให้เห็นสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ด้วยการตอบคำถาม
4.1.2. นิยมใช้เป็นแบบถูกผิดหรือเติมคำ และทราบคำตอบทันที
4.1.3. ผู้เรียนจะต้องเรียนตามลำดับทีละกรอบต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆจนกรอบสุดท้าย จะข้ามกรอบใดกรอบหนึ่งไม่ได้
4.2. บทเรียนแบบสาขา
4.2.1. แบ่งเนื้อหาออกเป็นขั้นย่อยๆ ที่สมบูรณ์ตามด้วยคำถามที่มีคำตอบให้เลือก เมื่อผู้เรียนเลือกคำตอบผิดจะมีคำอธิบายสาเหตุที่ผิดผู้เรียนต้องเลือกใหม่จนกว่าจะถูก
4.2.2. ผู้เรียนสามารถข้ามกรอบที่เข้าใจแล้ว และเลือกเรียนตามความสามารถของตนเองได้