Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. ด้านสิ่งแวดล้อม นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

2.1. ด้านเศรษฐกิจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2.2. ด้านสังคม ช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังใน และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

2.3. ด้านการศึกษา

2.3.1. - การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI

2.3.2. - การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)

2.3.3. - เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบเช่น Telnet , World Wide Web, Electronic Mail เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก

2.3.4. - การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหารทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ

2.3.5. - การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย

2.4. ด้านสาธารณสุข

2.4.1. - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

2.4.2. - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย

2.4.3. - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้

2.4.4. - เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น

2.4.5. - ด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

3. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

3.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น

3.1.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.2. เทคโนโลยีนำเข้า

3.2.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย ดังนี้

3.2.1.1. เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก เครื่องจักรกล ที่ทันสมัย มาช่วยทุ่นแรงในการ ทำไร่นา

3.2.1.2. เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด

3.2.1.3. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ

3.2.1.4. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม เป็นต้น

3.2.1.5. เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น

3.2.1.6. เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์ เป็นต้น

3.2.1.7. เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์ เป็นต้น

3.2.1.8. เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก

4. ความสัมพันธ์ระหว่าเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

4.1. ด้านเกษตรศาสตร์ เทคโนโลยีช่วยพัฒนาพืชผลทางการเกษตร เช่น การโคลนนิ่งพืช รวมถึงการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนเพื่อให้ได้ผลผลิตรวดเร็วขึ้น

4.2. ด้านศึกษาศาตร์ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาการเรียนการสอนให้บุคคล รวมถึงการเรียนการสอนการศีกษาไทยที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้โน๊ตบุ๊คแทนหนังสือเรียนดังเช่นที่บางประเทศเริ่มใช้กันแล้ว

4.3. ด้านโภชนาศาตร์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพ คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบมลพิษทางอาหารรวมถึงตรวจสอบคุณประโยชน์ที่มีในอาหารแต่ละชนิด

4.4. ด้านแพทย์ศาสตร์ การนำเทคโนโลยีไปใช้ด้านการแพทย์ทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำมากขึ้นและป้องกันการผิดพลาดได้น้อย เช่นการวิจัยค้นพบการรักษามะเร็งโดยใช้เทคโนโลยีบูรณาการ

4.5. ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีสะอาดมาใช้ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสัตว์และชีวิตมนุษย์ได้น้อยลง และการผลิตพลังงานจากแหล่งธรรมชาติที่ล้วนใช้เทคโนโลยีเป็นตัวควบคุม

5. เทคโนโลยีหมายถึง

5.1. ด้านวิทยาศาสตร์ การนำวิทยาศาสตร์ไปควบคู่กับการปฏิบัติ คือการนำความรู้ทางวิทยาศาสต์ร์ใช้แก้ปัญหาทางเทคโนโลยีหรือการพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น การปรัปปรุงการรับสัญญาณคลื่น

5.2. ธรรมาชาติวิทยาหรือต่อเนื่องมาจนถึงวิทยาศาตร์มาปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ก่อให้เกิดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องจักรหรือกระบวนการต่างๆอันสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

6. ความสัมพันธ์เเละบทบาทของเทคโนโลยี

6.1. ด้านการพัฒนาประเทศ

6.1.1. 1.  การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ

6.1.2. 2.  การดำเนินชีวิตประจำวันทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น

6.1.3. 3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

6.2. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย

6.3. ด้านสิ่งเเวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการส่งเสริมป้องกันและ แก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในระบบ สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนโยบาย หรือการนำดาวเทียมเข้ามาช่วยในการสำรวจและเก็บข้อมูลฐานทรัพยากรธรรมชาติ การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดระบบจราจร เป็นต้น