Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยี by Mind Map: เทคโนโลยี

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

1.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

1.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference) 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

1.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

1.4.1. 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน

1.4.2. 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย

1.4.3. 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้

1.4.4. 4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

1.4.5. 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

1.4.6. 4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

1.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม

2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

2.1. วิทยาศาสตร์

2.1.1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง

2.2. เกษตรศาสตร์

2.2.1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรมในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน

2.3. ศึกษาศาสตร์

2.3.1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก

2.4. โภชนศาสตร์

2.4.1. ัโภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย “ ศัพท์เฉพาะทางโภชนศาสตร์ที่ควรทราบ “ 1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้ รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร 2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย 3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายแต่ไม่รวมถึงยา วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร 4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค 5. ทุพโภชนาการ(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร 6. สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ 6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ 6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน 7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง ประโยชน์ของอาหาร 1. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 2. ทำให้มีการเจริญเติบโต 3. ช่วยบำรุงและกระตุ้นอวัยวะต่างๆให้ทำงาน 4. ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค บำรุงสุขภาพ 5. ช่วยในการสืบพันธุ์ 6. ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว

2.5. แพทยศาสตร์

2.5.1. การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุข รวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้ หรือตรวจโรคผ่านระบบ ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป เมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆ หันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล บริการสุขภาพสู่ยุค Health 3.0 สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขหรือ Health Information evolution นั้น ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีของวงการแพทย์และสาธารณสุขมีทั้งสิน 3 ยุค ด้วยกัน โดยยุคแรก เริ่มจากการพัฒนาระบบ Health 1.0 ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลคนไข้ ให้อยู่ในรูปของเอกสารซึ่งเอกสารทุกอย่างจะอยู่ที่โรงพยาบาลในลักษณะที่เป็น Physical centric ขณะที่ยุคที่ 2 เป็นยุค Health 2.0 เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บข้อมูลคนไข้ในลักษณะเป็นเวชทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์และเวชทะเบียนส่วน บุคคล (Electronics Medical Records & Personal Health Records) รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการและการบริหารงานในโรงพยาบาลและสาธารณสุข มีการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยอยู่ในช่วงของการโอนถ่ายการใช้เทคโนโลยี มาสู่ Health 2.0 อย่างไรก็ตาม จากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการแพทย์มีการพัฒนาเข้าสู่ยุค Health 3.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลและช่วยจัดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการทางการแพทย์มุ่งสู่การให้บริการปัจเจกชน โดยผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของการดูแลรักษาสุขภาพ หรือ Patient centric ที่การรักษาพยาบาลรวมถึงการจ่ายยาสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย ไมโครซอฟท์ส่งเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพที่บ้านออกสู่ตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ ถือเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องโดยที่ผ่านมามีการต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีโดยซื้อกิจการของบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศทางแพทย์และสาธารณสุข บริษัทโกลบอลแคร์ โซลูชั่นส์ (Global Care Solutions) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพระดับองค์กร ทอม ไรอัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส Health Solutions Group บริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวว่าไมโครซอฟท์เชื่อว่าประเทศไทยเป็นฐานที่ดีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการลงทุนในไทยจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาคได้อย่างมาก ความพยามในการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งเสริมวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยสร้างงาน และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นไรอัน กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ด้วยนวัตกรรมทางด้านไอทีนั้นจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทางการแพทย์ในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นไมโครซอฟท์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมด้านนี้ เพื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์ ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า ไมโครซอฟท์อมัลก้า (Amalga) ซึ่งเป็นระบบ Unified Intelligence ที่มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการจัดการกับความต้องการข้อมูลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ช่วยให้องค์กรด้านสาธารณสุขสามารถดำเนินกลยุทธ์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในระยะยาวนอกจากนี้บริษัทได้นำเสนอ Microsoft Health Solutions ใหม่เรียกว่า Health Vault ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับเว็บไซด์เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มแวร์และบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคล ภายใต้แนวคิด Patient centric

2.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

2.6.1. ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ในด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์ในปัจจุบันจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมากมาย ในชีวิตประจำวันของคนทุกวันนี้ มีความผูกพันอยู่กับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกลมหายใจเข้าออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในสังคมเมืองยิ่งต้องผูกพันตนเองติดอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้นความต้องการปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว มนุษย์จึงมีการแข่งขันในการสร้างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้น เพื่อความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและสังคม แต่เทคโนโลยีก็มีผลในทางลบด้วย คือ ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเลวลง เมื่ออาณาจักรของมนุษย์ได้แผ่ขยายรุกรานธรรมชาติของโลกมากขึ้น สิ่งที่กำลังถูกทำลายมากที่สุดในปัจจุบัน คือ พื้นที่ที่เป็นป่าไม้ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธรรมชาติหลายอย่างบนโลกผิดแปลกไป ตลอดจนการนำทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ผลสืบเนื่องที่ตามมานอกจากความร่อยหรอเสื่อมโทรมของทรัพยากรแล้ว ยังได้สร้างปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวติ และไม่มีชีวิต เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ในธรรมชาติ ทั้งในสภาพนิ่งหรือสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามกาลเวลาและตามสภาพการกระตุ้น ทั้งจากภายในหรือภายนอก การศึกษาทางวิทยาศาสตร์มีจุดหมายเพื่อแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบจากการสังเกต ตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐาน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการ และเครื่องมือที่ได้จากการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ มาผสมผสานประยุกต์หรือใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ จึงมีประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ ในระยะ 100 ปีที่ผ่านมา เป็นห้วงเวลาที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วที่สุด ระยะเวลาการค้นคว้า วิจัย ทดลอง และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้และผลิตสินค้าออกมาใช้ ได้สั้นลงมากเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ความก้าวหน้าทางความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของไทยมีอัตราช้ามาก แม้ประเทศไทยจะมีการขยายตัวและวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ก็เป็นการเริ่มจากฐานต่ำ ที่สำคัญก็คือ เป็นการเติบโตและวิวัฒนาการที่อาศัยปัจจัยทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่การมีเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ ปัจจัยดังกล่าว เช่น พื้นที่การเพาะปลูก การลงทุนจากต่างประเทศ แรงงานที่ถูก ล้วนแล้วแต่กำลังลดบทบาทลง ในขณะที่การเตรียมทุ่มเทสังเสริมสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า และค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากกระบวนการพัฒนาในประเทศไทย จากอดีตถึงปัจจุบันมิได้เกิดจากความแข็งแกร่งทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และมิได้เกิดจากการมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ และนำเอาความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้เพื่อการผลิต เพื่มเพิ่มสมรรถนะการผลิต หากเป็นการบริโภคและถ่ายทอดความรู้เป็นด้านหลัก นอกจากนั้นยังไม่มีการทุ่มเททรัพยากรด้านต่างๆ ให้เข้ากับการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างจริงจัง ประเทศไทยจึงไม่อาจก้าวข้ามอุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาไปได้ อุปสรรคนี้คือ การเป็นประเทศที่ไม่สามารถมีเทคโนโลยีที่เป็นของตนเองได้ เมื่อประเทศเจ้าของเทคโนโลยีพัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้น ประเทศไทยจึงตกอยู่ในฐานะที่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเริ่มเน้นถึงวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งที่ต้องมีการจัดการอย่างรีบด่วน จริงจังและต่อเนื่อง

3. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.1. 1. การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ 2. การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น 3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4. อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและ ทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน 5. ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน

3.2. -ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ -ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ - ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว -ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง -ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา -ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

4. เทคโนโลยีคืออะไร

4.1. เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

5. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

5.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้  ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5.1.1. เทคโนโลยีที่นำเข้า แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย