ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Jetzt loslegen. Gratis!
oder registrieren mit Ihrer E-Mail-Adresse
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น von Mind Map: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1. Software

1.1. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้

1.2. ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.2.1. 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)

1.2.1.1. หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

1.2.1.2. 1.1) ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X

1.2.1.3. 1.2)ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)

1.2.1.4. 1.3)ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้

1.2.1.5. 1.4)ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

1.2.2. 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1.2.2.1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

1.2.2.2. 2.1) ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ

1.2.2.3. 2.2) ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

2. เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1. เทคโนโลยี ( Technology)

2.1.1. หมายถึง การนำความมรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ

2.2. สารสนเทศ ( Information)

2.2.1. หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ

2.3. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.3.1. หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์

2.4. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.4.1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2.4.2. ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น การติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าหาข้อมูล การเดินทาง หรือการบันทึกข้อมูลรูปภาพต่างๆ

2.4.3. เอื้อประโยชน์ทำให้เกิดสภาพทางการทำงาน ที่สามารถทำได้ทุกสถานที่และทุกเวลา

2.4.4. ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ

3. พํฒนาการคอมพิวเตอร์

3.1. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1951 - 1958 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuun Tube) ขนาดใหญ่ต้องใช้พลังงานไฟมากในการทำงานการใช้งานยาก ราคาแพง

3.2. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1959 - 1964 เป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอรที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำ นำมาใช้ แทนหลอดสุญญากาศทำให้คอมพิวเตอร์

3.3. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในช่วง ค.ศ 1965 - 1971 เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก อุปกรณ์ ที่เรียกว่าวงจรรวม (Integrated Circuit) วงจรรวมเป็นวงจรที่นำเอาทรานซิสเตอร์หลายๆ ตัวมาประดิษฐ์รวามบนชิ้นส่วนเดียวกัน ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง และราคาก็ถูกลงกว่าเดิม

3.4. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในช่วง ค.ศ 1972 - 1980 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร รวมขนาดใหญ่ขึ้นที่รวมการทำงานของทรานซิสเตอร์จำนวนมากขึ้นไว้บนชิ้นส่วนเดียว ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลงเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เราเห็นกันทั่้วไป

3.5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานตั้งแต่้ ค.ศ 1981 จนถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ ได้พัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้มาก ทั้งขนาดคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความสะดวกและความหลากหลายในการใช้งาน เช่นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น และความสามารถอีกหลายอย่างที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เช่น การรับรู้คำสั่งด้วยเสีัยงพูดหรือ ประโยคที่เป็นภาษามนุษย์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้คิดตัดสินใจเช่นเดียวกันมนุษย์

4. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

4.1. 1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น

4.2. 2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด

4.3. 3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ แบ่งออกได้ 2 ประเภท

4.3.1. 3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ

4.3.1.1. (3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)

4.3.1.2. (3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)

4.3.2. 3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี

4.4. 4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น

5. นวัตกรรม

5.1. ความหมายของนวัตกรรม

5.1.1. สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น

5.2. องค์ประกอบของนวัตกรรม

5.2.1. 1.ความใหม่

5.2.2. 2.ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ

5.2.3. 3.การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์

5.3. กระบวนการนวัตกรรม

5.3.1. 1.การค้นหา(Searching)

5.3.2. 2.การเลือกสรร(Selecting)

5.3.3. 3.การนำไปปฏิบัติ( Implementing)

5.3.3.1. การรับ (Acquring)

5.3.3.2. การปฏิบัติ(Executing)

5.3.3.3. การนำเสนอ (Launching)

5.3.3.4. การรักษาสภาพ(Sustaining)

5.3.4. 4. การเรียนรู้( Learning)

6. Hardware

6.1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น

6.1.1. 1. ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ

6.1.1.1. ภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น

6.1.2. 2. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ

6.1.3. 3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต

6.1.4. 4. คีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

6.1.5. 5. เม้าส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ

6.1.6. 6. ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง