การพยาบาลผู้ป่วยจำกัดพฤติกรรม
von นางสาวนุชจรินทร์ อยู่ครุฑ

1. การจับล็อคผู้ป่วย ผู้ป่วยเอะอะส่งเสียงดังแต่พูดรู้เรื่อง ขัดขืนเล็กน้อย
1.1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยชวนพูดคุยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ทดลองเข้าใกล้ตัวผู้ป่วยเพื่อดูท่าทีว่าผู้ป่วยจะมีปฏิกิริยาอย่างไร กรณีถ้าผู้ป่วยเชื่อฟังอาจจะพาตัวไปได้เลย แต่ถ้าผู้ป่วยขัดขืนให้เข้าประชิดและจับล็อคทันทีก่อนที่จะพาตัวไป
2. ผู้ป่วยที่มีอาการระแวงไม่ให้ใครเข้าใกล้แต่ไม่ทำร้ายใคร
2.1. ให้เรียกชื่อผู้ป่วยแล้วลองพูดคุยกับผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจได้ผล แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือต้องมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน คนที่ 1 ชวนคุย คนที่ 2 เข้าหาตัวผู้ป่วยขณะเผลอแล้วจับล็อค คนที่ 1 ต้องรีบเข้าช่วยทันทีแล้วพาไปที่หมาย
3. ผู้ป่วยที่เอะอะอาละวาดทำลายข้าวของแต่พอพูดรู้เรื่องและรับฟังอยู่บ้าง
3.1. ทดลองเรียกชื่อผู้ป่วยก่อน ถ้าไม่ร่วมมือต้องขอกำลังสนับสนุนเพื่อนร่วมทีมงาน ทีมงานที่จะเข้าหาผู้ป่วยต้องรู้หน้าที่ของตัวเองและประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา
4. เทคนิคที่สำคัญ
4.1. ทำงานเป็นทีมให้สำเร็จในครั้งเดียว “พร้อมเพรียง ฉับไว แต่ไม่ลนลาน”
4.2. ระมัดระวังผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ ห้ามล็อคคอผู้ป่วยเพราะอาจกดการหายใจ
4.3. ไม่ควรปล่อยมือจากผู้ป่วยโดยไม่ให้สัญญาณเพื่อนร่วมทีมโดยเด็ดขาด
5. ความหมาย
5.1. การทำให้ผู้ป่วยอยู่กับที่หรือในบริเวณจำกัด ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมหรืออารมณ์ของตนเองได้ อาจทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
6. ขั้นตอนการปฎิบัติ
6.1. เตรียมอุปกรณ์
6.1.1. ผ้าผูกมัด ต้องมีความแข็งแรง เหนียว แต่นุ่ม ใช้ผูกข้อมือและข้อเท้า
6.1.2. เตียง
6.1.2.1. ควรเป็นเตียงที่สามารถจะผูกมัดได้ ควรผูกมัดผู้ป่วยในสถานที่ ๆ เป็นส่วนตัว เงียบ สงบ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่ถูกผูกมัดถูกรบกวน ถูกกระตุ้น
6.2. ทีมผู้ดูแล
6.2.1. ควรมี 5-6 คน
6.2.2. ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยไม่ใช่เพื่อลงโทษ
6.2.3. ต้องทำเป็นทีม ไม่ทำโดยลำพัง