Jetzt loslegen. Gratis!
oder registrieren mit Ihrer E-Mail-Adresse
เทคโนโลยีสันพันธ์ von Mind Map: เทคโนโลยีสันพันธ์

1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

1.1. วิทยาศาสตร์

1.1.1. ได้จากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชน และกลุ่มผู้ทำการวิจัยจะต้องเป็นกลุ่มใหญ่และมีความรู้เฉพาะสาขา

1.1.1.1. ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก เพราะทั้ง2อย่างนั้นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน

1.2. เกษตรศาสตร์

1.2.1. วิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านการเกษตร

1.2.1.1. ด้านการจัดการสาขาพืชและการจัดการสาขาสัตว์การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

1.2.1.2. การจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่เกษตรกร

1.2.1.3. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร

1.2.1.4. การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร

1.2.1.5. การศึกษา วิจัย ค้นคว้า และทดลอง

1.2.1.6. การวางแผนการดำเนินงาน และการจัดการ

1.3. ศึกษาศาสตร์

1.3.1. ได้มีการนำเทคโนโลยีมาเป็นสื่อเพื่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดความสะดวกทั้งผู้สื่อสารและผู้รับสาร การเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ต่างมากมาย นอกจากจะใช้สอนเนื้อหาแล้วยังสามารถใช้ฝึกทักษะ และใช้สร้างสถานการณ์จำลองอีกด้วย

1.4. โภชนศาสตร์

1.4.1. เป็นหลักสูตรที่ศึกษาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเป็น ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย และสามารถเก็บรักษาได้นาน โดยใช้กระบวนการแปรรูปด้านการใช้ความร้อน การแช่เย็น การแช่แข็ง การทำแห้ง และการใช้สารเคมี เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และการสุขาภิบาลโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โดยอาศัยหลักการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

1.5. แพทยศาสตร์

1.5.1. วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

1.5.1.1. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค

1.5.1.2. เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เป็นแสงที่มีคลื่นต่าง ๆ กัน ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียด

1.5.1.3. ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดนกทั้งที่เกิดในสัตว์และในคน ชุดตรวจนี้ตรวจพบเชื้อได้ภายใน 10 นาที มีความแม่นยำสูง

1.5.1.4. การนำสารกัมมันตรังสีและรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะ

1.5.1.5. การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ วัคซีน คือ สารที่ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเฉพาะอย่าง

1.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.6.1. เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบ คือ ใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และใช้เพื่อผลิตความร้อน

1.6.1.1. เทคโนโลยีจากพลังงานลม อาศัยเทคโนโลยีกังหันลม

1.6.1.2. เครื่องกลเติมอากาศ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ เหมาะสำหรับแหล่งน้ำสาธารณะและแหล่งน้ำธรรมชาติ

1.6.1.3. เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงาน (ก๊าซชีวภาพ) ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์ม

1.6.1.4. การนำเศษแก้วมารีไซเคิลใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตขวดแก้ว ช่วยลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น

2.1.1. เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านอาหารไทย

2.1.1.1. ภาคเหนือและภาคอีสาน มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ป่าดงดิบ ที่ราบสูงหรือที่ดอย และมีแม่น้ำลำธารไหลผ่านหลายสาย อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าวเหนียว ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอนพืชผักจากป่า เช่น หน่อไม้ เห็ดนาๆชนิด ผักกระโดน ผักติ้ว เนื้อปลาจากแหล่งน้ำจืด

2.1.1.2. ภาคกลาง มีพื้นที่เป็นราบลุ่มแม่น้ำบางส่วนติดทะเลจึงนิยมบริโภคข้าวจ้าว มีผักในท้องทุ่ง เช่น โสน ผักบุ้ง สายบัว

2.1.1.3. ภาคตะวันออก มีพื้นที่ติดกับทะเลและป่าดงดิบ มีอาหารทะเลบริโภค และเครื่องเทศนาๆชนิด เช่น พริกไทย กระวาน

2.1.1.4. ภาคใต้ มีทั้งพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง ป่าดึกดำบรรพ์ ที่ราบแม่น้ำและทะเล อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยข้าวจ้าว ปลา สัตว์ทะเล พืชผักจากป่า เช่น สตอ

2.1.2. เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัย

2.1.2.1. บ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ ใช้วัสดุธรรมชาติ ประเภทไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง แฝก ยึดโครงสร้างบ้าน ด้วยเส้นตอกเส้นหวายหรือโลหะ ทำให้ผู้เป็นเจ้าบ้านซ่อมแซมบ้านได้ตามต้องการ

2.1.2.2. บ้านในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็การสร้างที่อยู่อาศัย ที่สะท้อนสภาพภูมิประเทศได้อย่างชัดเจน หากมีสภาพเป็นที่ดอน การตั้งที่อยู่อาศัยจะรวมเป็นกลุ่มบนโคกหรือเนินที่น้ำท่วมไม่ถึง

2.1.2.3. บ้านในท้องถิ่นภาคกลาง มีลักษณะเป็นเรือนหมู่ หลังคาบ้านทรงจั่วสามเหลี่ยม ช่วยลดความร้อนใต้หลังคา วัสดุที่ใช้มุงหลังคาใช้หญ้าคาแฝก จาก ไม้กระเบื้องดินเผา

2.1.2.4. บ้านท้องถิ่นภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ ของการปลูกสร้างตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น โดยมีปัจจัยเนื่องมาจาก สภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรในท้องถิ่น

2.1.3. เทคโนโลยีท้องถิ่นด้านเครื่องนุ่งห่ม

2.1.3.1. มิปัญญาในการเลือกสรรค์เส้นใยผ้า ประเทศไทยมีเส้นใยธรรมชาติ ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้า 2 ประเภท คือ ฝ้ายซึ่งเป็นเส้นใยจากพืชและไหมซึ่งเป็นเส้นใยจากสัตว์ คนไทยได้ใช้ภูมิปัญญา คัดสรรค์ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ

2.1.3.2. ภูมิปัญญาที่เกิดจากการเพิ่มสีสัน วัสดุธรรมชาติต่างๆ ถูกนำมาทดลอง ทดสอบ และปรับปรุงแก้ไขคร้องแล้งครั้งเล่า เพื่อให้ได้ผลตามต้องการ เกิดเป็นภูมิปัญญา ด้านการย้อมสี และกระบวนการย้อมสี ด้วยวัสดุธรรมชาติ

2.1.3.3. ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ผ้าทอพื้นเมือง เป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความพยายามสูง ละเอียดอ่อนในการแปลแถวเส้นด้ายที่ทำจากฝ้านหรือไหมจำนวนมาก

2.1.4. เทคโนโลยีท้องถิ่นในด้านการแพทย์แผนไทย

2.1.4.1. เวชกรรมไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกันโรคด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย คือ เวชกรไทย หรือหมอไทย

2.1.4.2. เภสัชกรรมไทย หมายความว่า การกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยา

2.1.4.3. การผดุงครรภ์ไทย หมายความว่า การตรวจ การบำบัด การแนะนำ และการส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์

2.1.4.4. การนวดไทย หมายความว่า การตรวจประเมิน การวินิจฉัย การบำบัด การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การดึง การประคบ การอบ หรือวิธีการอื่นตามศิลปะการนวดไทย หรือใช้ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

2.2. เทคโนโลยีนำเข้า

2.2.1. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

2.2.2. เทคโนโลยีทางการแพทย์

2.2.2.1. เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

2.2.2.2. เครื่อง GentleYAG Laser

2.2.3. เทคโนโลยีชีวภาพ

2.2.3.1. เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization, IVF)

2.2.3.2. การตรวจดีเอ็นเอ(DNA)

2.2.4. เทคโนโลยีการสื่อสาร การโทรคมนาคม และการขนส่ง

2.2.4.1. Global Positioning System (GPS)

2.2.4.2. Google Map

3. เทคโนโลยี

3.1. มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรม

4. ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

4.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

4.1.1. ช่วยในเรื่องของความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต

4.1.2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน

4.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

4.2.1. ช่วยผลิตสินค้าและการบริการ

4.3. ด้านสิ่งแวดล้อม

4.3.1. มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีสะอาด การรีไซเคิล

5. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

5.1. การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ให้มีผลผลิตตลอดปี

5.2. การวิจัยและพัฒนาอาหารไทยให้มีคุณค่าทางโภชนาการ

5.3. การพัฒนาและส่งเสริมอาหารไทยเข้าสู่ระบบอาหารจานด่วน

5.4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูป

5.5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูป

5.6. การออกแบบและสร้างที่อยู่อาศัย

5.7. การส่งเสริมและพัฒนาผ้าพื้นเมืองเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก

5.8. การส่งเสริมและพัฒนาแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานมากขึ้น