อนามัยโรงเรียน

Lancez-Vous. C'est gratuit
ou s'inscrire avec votre adresse e-mail
อนามัยโรงเรียน par Mind Map: อนามัยโรงเรียน

1. แนวคิดและหลักการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

2. แนวคิดเกี่ยวกับโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือโรงเรียนที่มีความร่วมมือร่วมใจกัน พัฒนาพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ โรงเรียนที่มีขีดความสามารถที่แข็งแรง มั่นคง เป็นสถานที่มีสุขภาพอนามัยที่ดีเพื่อทุกคนสามารถดูแลตัวเอง ตัดสินใจควบคุมสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพและสร้างสภาวะที่เอื้อต่อสุขภาพ

3. หลักการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัยศึกษาเรียนรู้ และทำงานโดยโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการทำความเข้าใจ ส่งเสริมชุมชน ผู้ปกครองและบุคลากรในโรงเรียนได้ร่วมมือ กับหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่นริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งส่งผลไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาสาธารณสุขของกรมอนามัย ด้าน health promoting school โดยมุ่งบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพควบคุม ป้องกันโรค อนามัยสิ่งแวดล้อมให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวมในพื้นที่โรงเรียน

4. บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลในการบริการอนามัยโรงเรียน

5. การบริการสุขภาพในโรงเรียน ( school health service ) 1.งานส่งเสริมสุขภาพที่ควรจัดให้มีบริการในโรงเรียน เช่น การจัดให้นักเรียนมีบัตรบันทึกสุขภาพประจำตัว การบริการแนะนำหรือปรึกษาด้านสุขภาพ ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 2.งานควบคุมและป้องกันโรคที่ควรจัดให้มีบริการในโรงเรียน เช่น ให้มีการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ให้มีการเฝ้าระวังเกี่ยวกับโรคติดต่อ 3.งานรักษาพยาบาลที่ควรจัดให้มีบริการในโรงเรียน เช่น จัดให้มีห้องพยาบาลในโรงเรียน ให้มีการตรวจสอบสุขภาพนักเรียนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ 4.งานฟื้นฟูสภาพที่ควรจัดให้มีบริการในโรงเรียน เช่น การติดตามนักเรียนป่วย การจัดให้มีนักสังคมสงเคราะห์

6. 1. แผ่นวัดสายตาแบบตัว E (E-Chart) วัดสายตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ควรวัดต้นปีการศึกษา) โดยวิธีต่อไปนี้ ❍ ติดแผ่นวัดสายตากับผนังที่เรียบ ให้แถวสุดท้ายของอักษร E อยู่ในระดับสายตานักเรียนโดยเฉลี่ย ❍ ใช้เทปวัดระยะห่างจากผนังที่ติดแผ่นวัดสายตา แล้ววัดจากผนังห่างออกมา ครั้งละ 1 เมตร เขียนเลขกํากับตามลําดับจนครบ 6 เมตร ❍ นักเรียนจับคู่กับเพื่อนผลัดกันวัดสายตาในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ ❍ นักเรียนยืนห่างจากแผ่นวัดสายตา 6 เมตร โดยส้นเท้าชิดเส้นระยะ 6 เมตร วัดสายตาทีละข้าง โดยใช้ฝ่ามือซ้ายปิดตาข้างซ้าย แล้วอ่านด้วยตาขวา ใช้มือขวาปิดตาขวา แล้วอ่านด้วยตาซ้าย ให้อ่านแถวล่างสุด โดยผู้ถูกวัดถือกระดาษแข็งรูปตัวอี หันอักษรตัวอีให้เหมือนกับที่เพื่อน ชี้บนแผ่นวัดสายตา ถ้าหันอักษรตัวอี ถูกต้องตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ให้บันทึกว่า “ปกติ” ถ้าถูกไม่ถึง 4 ตัว ให้บันทึกว่า “ผิดปกติ” บันทึกลงในช่องที่ตรงกับชั้นเรียน (ข้อควรระวัง อย่าใช้ฝ่ามือ กดลูกตา จะทําให้ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด) ❍ นักเรียนที่สายตาผิดปกติ ให้ไปพบครูประจําชั้น หรือครูพยาบาลเพื่อวัดสายตาโดยละเอียดอีกครั้ง ❍ นักเรียนที่สวมแว่นสายตาอยู่แล้วให้วัดสายตาโดยไม่ต้องถอดแว่น และให้บันทึกว่า “สวมแว่นสายตา” 2. แผ่นวัดสายตาแบบตัวเลข (ใช้วิธีวัดเหมือนกับข้อ 1) ❍ ถ้าอ่านตัวเลขในแถวที่ 7 (แถวสุดท้าย) ได้ถูกต้องตั้งแต่ 4 ตัวขึ้นไป ให้บันทึกว่า “ปกติ” ถ้าอ่านถูกไม่ถึง 4 ตัวให้บันทึกว่า “ผิดปกติ”

7. การตรวจวัดสายตาเด็กนักเรียน และการลงบันทึก

8. แนวคิดและหลักการให้บริการอนามัยโรงเรียน

9. แนวคิดงานอนามัยโรงเรียนคือการดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ป้องกัน รักษา การส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรทุกคนที่อาศัยอยู่ในโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้มีสุขภาพดี โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียน บ้าน และชุมชน ครอบคลุมกิจกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพ และการสอนสุขศึกษา

10. หลักการให้บริการอนามัยโรงเรียน 1. บริการอนามัยโรงเรียน ( school health service) ประกอบด้วย การตรวจร่างกายสุขภาพนักเรียน การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานเจ้าหน้าที่อนามัยอื่นๆ 2. อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ( healthful school environment) คือการจัดการควบคุม ดูแล ปรับปรุงภาวะและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ 3. สุขศึกษาในโรงเรียน ( school health education) คือการที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษา ทำได้หลักสูตรและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 4.ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน ( school home and community relationships) เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

11. การตรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียน 10 ท่า

12. ท่าที่ 1 ยื่นมือไปข้างหน้าให้สุดแขนทั้งสองข้าง คว่ำมือกางนิ้วทุกนิ้ว

13. ท่าที่ 2 เป็นท่าต่อเนื่องจากที่ที่ 1 คือ พลิกมือ หงายมือ สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตเกี่ยวกับ เล็บ ผิวหนัง แผล ผื่น ตุ่มคันหรือความพิการอื่น ๆ เช่นนิ้วเกิน เป็นต้น

14. ท่าที่ 3 งอแขนพับข้อศอก ใช้นิ้วแตะเปลือกตาด้านล่างเบา ๆ ดึงเปลือกตาด้านล่างพร้อมกับเหลือกตาขึ้นและลง แล้วจึงกรอกตาไปด้านขวาและซ้าย สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ ตาแดง ขี้ตา คันตา ขอบตาล่างแดงมากอักเสบ

15. ท่าที่ 4 ใช้มือทั้งสองข้าง ดึงคอเสื้อออกให้กว้าง ภายหลังที่ปลดกระดุมหน้าอกเสื้อ แล้วหมุนตัวซ้ายและขวาเล็กน้อยเพื่อจะได้เห็นรอบ ๆ บริเวณคอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตในเรื่องของโรคผิวหนัง การบวมโตของคอ ซึ่งอาจมลักษณะของไทรอยด์โต เป็นต้น

16. ท่าที่ 5 สำหรับนักเรียนหญิง ใช้มือขวาเปิดผมไปทัดไว้ที่ด้านหลังหูขวา หันหน้าไปทางซ้ายส่วนนักเรียนชายหันหน้าไปทางซ้ายเท่านั้น

17. ท่าที่ 6 ในท่าเดียวกันนักเรียนหญิง ใช้มือซ้ายเปิดผมไปทัดไว้ด้านหลังหูซ้าย หันหน้าไปทางขวา ส่วนนักเรียนชายให้หันหน้าไปทางขวาเท่านั้น สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตเช่น เห่า หูน้ำหนวก แผล ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหู เป็นต้น

18. ท่าที่ 7 ให้กัดฟันและยิ้มกว้าง ให้เห็นเหงือกเหนือฟันบน และเห็นฟันล่างให้เต็มที่ สิ่งที่ผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ ริมฝีปากซีดมาก เป็นแผลที่มุมปาก มุมปากเปื่อย เงือกบวมเป็นหนอง ฟันผุ ผิวหนังบริเวณใบหน้า

19. ท่าที่ 8 ให้อ้าปากกว้างแลบลิ้นยาว พร้อมทั้งร้อง “อา” ให้ศีรษะเอนไปข้างหลังเล็กน้อย สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตได้แก่ คอแดง เจ็บ หรือเป็นฝ้าขาว ๆ ฟันผุ แผลแดงอักเสบ บริเวณเยื่อบุจมูก มีน้ำมูก ไอ ต่อมทอลซิลโต

20. ท่าที่ 9 สำหรับนักเรียนหญิง ให้แยกเท้าทั้งสองข้างห่างกัน 1 ฟุต ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับกระโปรงดึงขึ้นเหนือเข่าทั้งสองข้าง ส่วนนักเรียนชายเพียงแยกเท้าทั้งสองข้างให้ห่างกัน 1 ฟุตเช่นกัน

21. ท่าที่ 10 นักเรียนหญิง ชาย อยู่ในท่าที่ 9 ให้กลับหลังหัน สังเกตด้านหลังบ้างแล้วให้เดินไปข้างหน้าประมาณ 4-5 ก้าว แล้วเดินกลับหันเข้าหาผู้ตรวจ สิ่งผิดปกติที่ควรสังเกตคือ ความผิดปกติของรูปร่าง การโก่งงอของขา น่อง ความผิดปกติของฝ่าเท้า