ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์

Começar. É Gratuito
ou inscrever-se com seu endereço de e-mail
ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ por Mind Map: ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์

1. 5. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. 1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล 2. ความถูกต้องของข้อมูล 3. ความเร็วของการทำงาน 4. ประหยัดต้นทุนของการสื่อสารข้อมูล 5. สามารถจัดเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง 6. การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ 7. การทำงานแบบกลุ่ม

2. 4. เทคโนโลยีรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1. 4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ 3 ชนิดคือ 1) สายตีเกลียวคู่ หรือสายคู่บิดเกลียว 2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) 3) สายใยแก้วนำแสง

2.2. 4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย อศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ ซึ่งสามรถแบ่งความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้

2.3. 1) อินฟราเรด (infrared) 2) คลื่นวิทยุ (radio frequency) 3ไมโครเวฟ (microwave) 4) ดาวเทียม (satellite)

3. 3. โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจจะมีการใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายต่างชนิดกัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานเพื่อให้อุปกรณ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

3.1. 3.1 โพรโทคอล

3.2. 3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4. 1.ควาหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

4.1. การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง

4.2. การสื่อสารข้อมูล (data communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบเลขฐานสอง ของอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อติดต่อ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

4.3. ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักในการหาความจริง โดยในที่นี้ข้อมูลจะอยู่ในรูปเลขฐานสอง ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำงานได้

5. 2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.1. 2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (personal area network : PAN) เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อไร้สายส่วนบุคคลที่มีระยะใกล้ๆ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอณ์กับโทรศัพท์มือถือ เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือกับหูฟังบลูธูท เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือเข้าด้วยกัน เป็นต้น

5.2. 2.2 เครือข่ายเฉพาะที่ เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ หรือคอมพิวเตอร์ในบริเวณใกล้ๆ กัน เข้าด้วยกัน เช่น ภายในห้อง ภายในอาคาร ระหว่างอาคาร โดยมีอุปกรณ์สำหรับเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สวิตช์ ฮับ เป็นต้น โดยการเชื่อมต่ออาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือแบบไร้สายก็ได้

5.3. 2.3 เครือข่ายนครหลวง เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN) เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น ภายในตำบล หรืออำเภอ ระยะเชื่อมโยงประมาณ 5-40 กิโลเมตร โดยการเชื่อมต่อจะเป็นแบบสายสัญญาณ เช่น สายใยแก้วนำแสง (fiber optic), สายโคแอกเชียล (coaxial)

5.4. 2.4 เครือข่ายวงกว้าง เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงในระยะที่ไกลมากๆ มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ