1. พัฒนาการคอมพิวเตอร์
1.1. สามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ ดังนี้
1.1.1. 1. เครื่องคำนวณยุคประวัติศาสตร์
1.1.1.1. เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด และเครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของ ปาสคาล เป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์ขึ้น กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูง สามารถคูณและหารได้ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine
1.1.2. 2. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ
1.1.2.1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค ( ENIAC) ผลิตขึ้นโดย จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) หลอดสุญญากาศ เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขนาดใหญ่และต้องใช้กระแสไฟฟ้ามากเพื่อเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอนวิ่งผ่านตาราง (grid) และไส้หลอดจะขาดบ่อย
1.1.3. 3. คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์
1.1.3.1. ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย
1.1.4. 4. คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม
1.1.4.1. ได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงราคาถูกลง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงเรียกว่า “มินิคอมพิวเตอร์”
1.1.5. 5. คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ
1.1.5.1. มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
1.1.5.2. การใช้วีแอลเอสไอเป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) ไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
1.1.6. 6. คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย
1.1.6.1. ในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ เครื่องเดียว ทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ในองค์การ มีการทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้เครือข่าย ท้องถิ่น ที่เรียกว่า แลน LAN
1.1.6.2. - เกิด อินทราเน็ต (intranet) เป็นการเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกัน - เกิด อินเตอร์เน็ต (internet) เป็นการนำเครือข่ายขององค์การ เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก
1.1.7. 7. เทคโนโลยีสื่อประสม
1.1.7.1. เทคโนโลยีสื่อประสม (multimediaเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหววีดีทัศน์ โดยเน้นการโต้ตอบและมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ องค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสมประกอบด้วย
1.1.7.1.1. 1. คอมพิวเตอร์ สามารถโต้ตอบ แบบปฏิสัมพันธ์ได้ 2. การเชื่อมโยงสื่อสาร ทำให้ข้อมูล เชื่อมโยงถึงกันและนำเสนอได้ 3. ซอฟต์แวร์ สามารถช่วยให้เราใช้ข้อมูลจากสื่อหลายชนิดร่วมกันได้ 4. การใช้งานแบบสื่อประสม โดยใช้ข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบสื่อประสม
2. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.1. หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices)
2.2. รับข้อมูล
2.2.1. คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง
2.2.1.1. คีย์บอร์ด
2.2.1.2. เมาส์
2.2.1.3. สแกนเนอร์
2.3. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit)
2.3.1. ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
2.4. จัดเก็บข้อมูล
2.4.1. คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต หน่วยเก็บข้อมูลนี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
2.4.1.1. หน่วยควมจำหลัก
2.4.1.1.1. หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)
2.4.1.1.2. หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)
2.4.1.2. หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี
2.5. แสดงผลข้อมูล
2.5.1. เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น
3. Hardware
3.1. Hardware คืออะไร
3.1.1. Hardware คือ เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้
3.1.1.1. จอภาพ
3.1.1.2. คีย์บอร์ด
3.1.1.3. เครื่องพิมพ์
3.1.1.4. เมาส์
3.2. แบ่งตามลักษณะการทำงาน
3.2.1. 1. หน่วยรับข้อมูล Input Unit (อินพุต ยูนิต)
3.2.1.1. มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน
3.2.2. 2. หน่วยประมวลผลกลาง CPU : Central Processing Unit (เซนทอล โปรเซสชิง ยูนิต)
3.2.2.1. ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
3.2.2.1.1. แป้นพิมพ์สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ
3.2.2.1.2. เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม
3.2.2.1.3. สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ
3.2.2.1.4. จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์
3.2.2.1.5. ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง
3.2.2.1.6. กล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
3.2.3. 3. หน่วยแสดงผล Output Unit(เอาร์พุต ยูนิต)
3.2.3.1. มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น
3.2.3.1.1. จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ
3.2.3.1.2. เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์
3.2.3.1.3. ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด
3.2.4. 4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage(เซคคอนเดรี่ สตอเรส)
3.2.4.1. ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง
3.2.4.1.1. ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น
4. 2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรงก็ได้
5. นวัตกรรม
5.1. ความหมายของนวัตกรรม
5.1.1. นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า Innovare แปลว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา”
5.1.2. นวัตกรรม คือ “สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ”
5.2. องค์ประกอบของนวัตกรรม
5.2.1. 1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่เลยก็ได้
5.2.2. 3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ เป็นต้น
5.3. ขั้นตอนของนวัตกรรม
5.3.1. 1.การคิดค้น (Invention) เป็นการยกร่างนวัตกรรมประกอบด้วยการศึกษาเอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรม การกำหนดโครงสร้างรูปแบบของนวัตกรรม
5.3.2. 2.การพัฒนา ( Development) เป็นขั้นตอนการลงมือสร้างนวัตกรรมตามที่ยกร่างไว้ การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมและการปรับปรุงแก้ไข
5.3.3. 3.ขั้นนำไปใช้จริง(Implement) เป็นขั้นที่มีความแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติเดิมมา ในขั้นตอนนี้รวมถึงขั้นการทดลองใช้นวัตกรรม และการประเมินผลการใช้นวัตกรรม
5.3.4. 4.ขั้นเผยแพร่ ( Promotion) เป็นขั้นของการเผยแพร่ การนำเสนอ หรือการจำหน่าย
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที คืออะไร
6.1.1. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ
6.2. ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศ
6.2.1. เครื่องคอมพิวเตอร์
6.2.2. เทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศ
6.2.2.1. โทรทัศน์
6.2.2.2. โทรศัพท์
6.2.3. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
6.3. ประวัติของเทคโนโลยีและสารสนเทศ
6.3.1. มนุษย์รู้จักการจัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาลแต่ศัพท์ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดยโทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)"
6.4. มุมมองด้านวิชาการ
6.4.1. ในบริบททางวิชาการ สมาคมคอมพิวเตอร์เอซีเอ็ม (ACM) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า "หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ให้ผู้ศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พร้อมรับความต้องการของธุรกิจ รัฐบาล บริการด้านสุขภาพ สถานศึกษา และองค์การอย่างอื่น ... ผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับองค์การ การผสมผสานผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้เข้ากับความต้องการและโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ และการติดตั้ง ปรับแต่ง และบำรุงรักษาการใช้งานเหล่านั้นให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ขององค์การ"
6.5. มุมมองด้านการพาณิชย์และการจ้างงาน
6.6. มุมมองด้านจริยธรรม
6.6.1. 1.การละเมิดของลิขสิทธิ์โดยการดาวน์โหลดไฟล์ที่จัดเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์
6.6.2. ในบริบทของธุรกิจ สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (ITAA) ได้นิยามเทคโนโลยีสารสนเทศว่าเป็น "การเรียน การออกแบบ การพัฒนา การประยุกต์ การทำให้เกิดผล การสนับสนุน และการจัดการระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์" ความรับผิดชอบของงานเหล่านั้นในขอบข่ายรวมไปถึงการบริหารเครือข่าย การพัฒนาและการติดตั้งซอฟต์แวร์ และการวางแผนและจัดการวัฏจักรชีวิตของเทคโนโลยีขององค์การ อันประกอบด้วยการบำรุงรักษา การยกระดับ และการทดแทนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มูลค่าทางธุรกิจของเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในการทำ automation ของขบวนการทางธุรกิจ, การจัดหาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ, การเชื่อมโยงธุรกิจกับลูกค้า, และการจัดหาเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ
6.6.3. 2.นายจ้างทำการตรวจสอบอีเมลของพนักงานและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ
6.6.4. 3.อีเมลที่ไม่พึงประสงค์
6.6.5. 4.แฮกเกอร์เข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์
6.6.6. 5.เว็บไซต์ที่ติดตั้งคุกกี้หรือสปายแวร์ในการตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้
7. Software
7.1. Software คืออะไร
7.2. Software เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยจะอยู่ในลักษณะเป็นชุดคำสั่งหรือที่เรารู้จักในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นการทำงานของตัว Software จึงเหมือนตัวกลางที่คอยติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน และคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจกัน
7.3. Software มีกี่ประเภท
7.3.1. พวกเราสามารถแบ่ง Software ได้เป็น 2 ประเภท คือ
7.3.1.1. 1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การติดต่อประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา System Software ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมาก เช่น Windows , OSX, Linux เป็นต้น
7.3.1.2. 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เฉพาะได้ พูดง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมที่เรากำลังใช้กันอยู่ทุกวันนี้นี่เอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์นำเสนองาน ซอฟต์แวร์การติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล และอีกประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเท่านั้น เช่น โปรแกรมสำหรับควบคุมเครื่องจักรกล
7.4. ประโยชน์ที่มากมายของ Software
7.4.1. Software เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทต่างๆ ได้ เช่น เข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ใช้งานประเภทโปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมด้านการคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ หรือระบบการจัดการต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่บอกมานี้ช่วยให้การทำงานของพวกเราเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น