การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem-Based Learning

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem-Based Learning by Mind Map: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  Problem-Based Learning

1. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบ PBL

1.1. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง

1.2. จัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ๆ ให้มีจำนวนกลุ่มละประมาณ 5–8 คน

1.3. ผู้สอนทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือผู้ให้คำแนะนำ

1.4. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า) ให้เกิดการเรียนรู้

1.5. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ

1.6. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง

1.7. การประเมินผล ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง

2. การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้

2.1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ครูเกิดความเข้าใจจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ต่างๆ

2.2. วางแผนผังการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่จะสอน

2.3. ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม

2.4. ครูผู้สอนสอบถามความต้องการในการเรียนและสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน

3. ขั้นตอนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

3.1. ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนก่อนเรียน

3.2. ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้

3.3. เปิดโอกาสให้เด็กเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้

3.4. แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม

3.5. สร้างกติกาในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน

3.6. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ค

3.7. ครูให้เด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้เด็กได้นำเสนอผลงานของตน

3.8. ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง

4. บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

4.1. ครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอยให้คำปรึกษา

4.2. กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม

4.3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง

4.4. เป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง

5. แนวคิดและทฤษฎีของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของ PBL

5.1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมนิยม

5.2. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญานิยม

6. จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

6.1. รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดมุ่งหมาย

6.2. เพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์

6.3. การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย

7. ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

7.1. เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียนหรือผู้เรียนอาจมีโอกาสได้เผชิญกับปัญหานั้น

7.2. เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัญมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการค้นคว้า

7.3. เป็นปัญหาที่มีประเด็นขัดแย้ง ข้อถกเถียงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ

7.4. เป็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจ เป็นสิ่งที่อยากรู้แต่ไม่รู้

7.5. เป็นปัญหาที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน

7.6. เป็นปัญหาที่ส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา

8. การประเมินผลการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

8.1. ควรทำความเข้าใจด้านกระบวนการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

8.2. การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน

8.3. สิ่งที่ได้รับจากเนื้อหาวิชา โดยทำการประเมินดัง

8.3.1. การประเมินตามสภาพจริง

8.3.2. การสังเกตอย่างเป็นระบบ

9. จุดเด่นและข้อจำกัดของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

9.1. จุดเด่น

9.1.1. จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ ผู้เรียนจะมีทักษะในการตั้งสมมติฐานและการให้เหตุผลดีขึ้น

9.1.2. สามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

9.1.3. ทำงานเป็นกลุ่มและสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพ

9.1.4. ความคงอยู่ของความรู้นานกว่าการเรียนแบบบรรยาย

9.1.5. บรรยากาศการเรียนรู้มีชีวิตชีวา จูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้มากขึ้น

9.1.6. ส่งเสริมความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาหรือหน่วยงาน

9.2. ข้อจำกัด

9.2.1. ครูมีความกังวลว่าผู้เรียนจะมีความรู้น้อยลง

9.2.2. ความรู้ที่ได้รับจะไม่เป็นระบบ

9.2.3. กังวลเกี่ยวกับความถูกต้องของเนื้อหา

9.2.4. ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณหรือสิ่งสนับสนุนที่ใช้จำนวนครูการบริหารจัดการ

10. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนรู้แบบ PBL

10.1. ความสำคัญของเนื้อหา

10.2. คุณภาพของโจทย์ปัญหา

10.3. กระบวนกลุ่ม