มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่19 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่19 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน by Mind Map: มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่19 (ปรับปรุง 2560)  เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน

1. ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน

1.1. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า กิจการต้องไม่คิดลดจำนวนของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน โดยต้องรับรู้จำนวนผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายและรับรู้ หนี้สินเพิ่มขึ้นหรือลดสินทรัพย์แล้วแต่กรณี

1.2. การเปิดเผยข้อมูล กิจการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะสั้นของ พนักงานอย่างเจาะจง ตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับอื่น เช่น TAS 1,TAS 24

1.3. คาดว่าจะจ่ายชำระ ทั้งจำนวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานประจำปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง

2. ผลประโยชน์หลัง ออกจากงาน

2.1. ผลประโยชน์ของพนักงาน มีการจ่ายหลังจากการจ้างงานสิ้นสุดลง เช่น ผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน และบำนาญ

2.2. โครงการสมทบเงินที่กำหนดไว้

2.2.1. พนักงานเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญของทั้งความเสี่ยงจากการประมาณ การตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และความเสี่ยงจากการลงทุน

2.2.2. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า รับรู้เงินสมทบที่ต้องจ่ายให้โครงการสมทบเงิน เมื่อพนักงานได้ ให้บริการแก่กิจการในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย และรับรู้หนี้สิน หรือสินทรัพย์แล้วแต่กรณี

2.2.3. การเปิดเผยข้อมูล เปิดเผยจำนวนเงินที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการสมทบเงิน รวมทั้งต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินสมทบตามโครงการสมทบเงิน สำหรับผู้บริหารสำคัญตามที่กำหนดโดยมาตรฐานการบัญชีฉบับที่24

2.3. โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้

2.3.1. กิจการเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญของทั้งความเสี่ยงจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และความเสี่ยงจากการลงทุนภาระผูกพันของกิจการ จึงไม่ได้จำกัดเพียงจำนวนเงินที่กิจการจ่ายสมทบในระหว่างงวดเท่านั้น

2.3.2. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า

2.3.2.1. หากมีส่วนเกินจากโครงการผลประโยชน์ ซึ่งอาจเกิดจากการมีเงินสมทบเกิน หรือจากการมีผลกำไรจากการประมาณการกิจการต้องวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วย มูลค่าที่ต่ำกว่าระหว่างส่วนเกินจากโครงการผลประโยชน์กับเพดานของสินทรัพย์

2.3.2.2. กิจการต้องรับรู้หนี้สิน (สินทรัพย์) ผลประโยชน์ที่กำหนดไว้สุทธิ ในงบแสดงฐานะการเงินด้วยจำนวนสุทธิระหว่างมูลค่าปัจจุบัน ของภาระผูกพันกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ

2.3.2.3. มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่ กำหนดไว้ และต้นทุนบริการปัจจุบันต้องใช้วิธีคิดลดแต่ละ หน่วยที่ประมาณไว้

2.3.2.4. การวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน (สินทรัพย์) รับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โดยจำนวนที่ได้รับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ดังกล่าวต้องไม่ถูกจัด ประเภทใหม่ในกำไรหรือขาดทุนในภายหลังการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน (สินทรัพย์)

2.3.3. การเปิดเผยข้อมูล

2.3.3.1. อธิายลักษณะของโครงการผลประโยชน์และความเสี่ยงเกี่ยวข้อง

2.3.3.2. ระบุและอธิบายจำนวนในงบการเงินที่เกิดจากโครงการผลประโยชน์

2.3.3.3. อธิบายผลกระทบของโครงการผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับจำนวนเงิน ระยะเวลาและความไม่ แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตของกิจการ

2.3.3.4. เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ได้แก่ TAS 24 และ TAS 37

3. ผลประโยชนร์ะยะยาวอื่น ของพนักงาน

3.1. ผลประโยชน์ทั้งหมดของพนักงานที่มิใช่ผลประโยชน์ ระยะสั้นของพนักงาน ผลประโยชน์หลังออกจากงาน และผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง

3.2. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า การรับรู้และวัดมูลค่าส่วนเกินหรือส่วนขาดในโครงการผลประโยชน์ ระยะยาวอื่นของพนักงานนอกจากนี้กิจการต้องรับรู้ยอดสุทธิของ จำนวนดังต่อไปนี้สำหรับผลประโยชน์ระยะยาว อื่นของพนักงาน

3.3. การเปิดเผยข้อมูล กิจการไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงานอย่างเจาะจง แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ของพนักงานตามที่กำหนดโดย มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับอื่น เช่น TAS 1 , TAS 24

4. ผลประโยชนเ์มื่อเลิกจ้าง

4.1. ผลประโยชน์ของพนักงานที่ให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้างงานของพนักงาน ซึ่งเป็นผลจาก 1) การตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงาน ก่อนวันออกจากงานตามปกติหรือ 2) การตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอของผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้า

4.2. การเปิดเผยข้อมูล กิจการไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างอย่างเจาะจง แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างตามที่กำหนดโดย มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น เช่น TAS 1 , TAS 24

4.3. การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า กิจการต้องรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นหนี้สินและค่าใช้จ่ายเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน และวัดมูลค่าของผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง เมื่อรับรู้รายการเริ่มแรกและต้องวัดมูลค่าและรับรู้การเปลี่ยน แปลงในภายหลัง ตามลักษณะของผลประโยชน์ของพนักงาน

5. คำนิยาม ผลประโยชน์ของพนักงาน หมายถึง สิ่งตอบแทนทุกรูปแบบที่ กิจการให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับบริการที่ได้รับจากพนักงานหรือการเลิกจ้าง

6. มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่2 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์

6.1. การรับรู้รายการ

6.1.1. กิจการต้องรับรู้สินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือได้มาจากการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ เมื่อกิจการได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว ต้องรับรู้ส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น หากเป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุน หรือรับรู้หนี้สินเพิ่มขึ้น หากเป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยเงินสด

6.1.2. หากสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือได้มาจากการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะ สามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ได้กิจการต้องรับรู้รายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย

6.2. การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุน

6.2.1. กิจการต้องวัดมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ได้รับและการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องโดยทางตรง ด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินค้าหรือบริการที่ได้รับ เว้นแต่มูลค่ายุติธรรมดังกล่าวไม่สามารถประมาณได้อย่าง น่าเชื่อถือ กิจการต้องวัดมูลค่าของสินค้าหรือบริการเหล่านั้นและการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของที่เกี่ยว ข้องโดยทางอ้อมโดยอ้างอิงกับมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกให้

6.2.2. การกำหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกให้

6.2.2.1. กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุน ที่ออกให้ ณ วันที่วัดมูลค่า โดยอ้างอิงกับราคาตลาดของตราสารทุน (ถ้ามี) โดยพิจารณาเงื่อนไข และข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งได้ออกตราสารทุนให้

6.2.2.2. หากตราสารทุนนั้นไม่มีราคาตลาด กิจการต้องประมาณมูลค่ายุติธรรม ของตราสารทุนที่ออกให้โดยใช้เทคนิคการวัดมูลค่าเพื่อประมาณราคา ของตราสารทุนเหล่านั้น ณ วันท่ีวัดมูลค่าในลักษณะของการต่อรองที่ เป็นอิสระและทั้งสองฝ่าย

6.3. การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยเงินสด

6.3.1. กิจการต้องวัดมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ได้มาและหนี้สินที่เกิดขึ้นด้วยมูลค่ายุติธรรม ของหนี้สิน กิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของหนี้สิน ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน และวันที่มีการชำระจนกว่าจะชำระหนี้สินเสร็จสิ้น การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ายุติธรรม ให้รับรู้ในกำไร หรือขาดทุนสำหรับงวด

6.3.2. กิจการต้องรับรู้บริการที่ได้รับและหนี้สินที่ต้องจ่ายสำรับบริการนั้นเมื่อพนักงานให้บริการ เช่น สิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นที่พนักงานได้รับสิทธิทันที

6.4. การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่มีทางเลือกชำระด้วยเงินสด

6.4.1. กิจการหรือคู่สัญญาสามารถเลือกชำระรายการด้วยเงินสด (หรือสินทรัพย์อื่น) หรือ ด้วยการออกตราสารทุน กิจการต้องรับรู้รายการหรือองค์ประกอบของรายการนั้น เป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยเงินสด หากกิจการมีหนี้สินเกิดขึ้น ซึ่งจะชำระเป็นเงินสดหรือสินทรัพย์อื่น หรือรับรู้เป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ที่ชำระด้วยตราสารทุน หากหนี้สินดังกล่าวไม่เกิดขึ้น

6.5. การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ระหว่างกิจการในกลุ่มกิจการ

6.5.1. ในงบการเงินเฉพาะกิจการหรืองบการเงินของกิจการ กิจการที่ได้รับสินค้าหรือบริการต้องวัดมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ที่ได้รับด้วยรายการที่จ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุนหรือชำระด้วยเงินสดโดยต้องประเมินว่า 1. ลักษณะของผลตอบแทนที่ออกให้ 2. สิทธิและภาระผูกพันของกิจการ จำนวนที่รับรู้โดยกิจการที่ได้รับสินค้าหรือบริการอาจแตกต่างจากจำนวนที่รับรู้ในงบการเงินรวมของกลุ่มบริษัท หรือกิจการอื่นในกลุ่มกิจการที่จ่ายชำระรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์

6.5.2. กิจการที่ได้รับสินค้าหรือบริการต้องวัดมูลค่าสินค้าหรือบริการที่ได้รับเป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุน เมื่อผลตอบแทนที่ออกให้เป็นตราสารทุนของกิจการหรือกิจการไม่มีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายชำระรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ กิจการต้องวัดมูลค่าในภายหลังใหม่สำหรับการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข การได้รับสิทธิที่ไม่ใช่เงื่อนไขทางตลาด

6.5.3. กิจการที่ชำระรายการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์เมื่อกิจการอื่นในกลุ่มได้รับสินค้าหรือบริการต้อง รับรู้รายการดังกล่าวเป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่ชำระด้วยตราสารทุนก็ต่อเมื่อจ่ายชำระ ด้วยตราสารทุนของกิจการเอง มิฉะนั้นรายการดังกล่าวต้องรับรู้เป็นการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ที่ชำระด้วยเงินสด

6.5.4. รายการของกลุ่มกิจการที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการจ่ายชำระคืนซึ่งกำหนดให้กลุ่มกิจการหนึ่ง จ่ายชำระอีกกลุ่มกิจการหนึ่ง สำหรับหนี้สินของการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ให้แก่คู่สัญญา ที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการในกรณีดังกล่าวกิจการที่ได้รับสินค้าหรือบริการต้องบันทึกรายการ จ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์

6.6. การเปิดเผยข้อมูล

6.6.1. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจลักษณะและขอบเขต ของข้อตกลงการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด

6.6.2. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจวิธีการกำหนดมูลค่ายุติธรรม ของสินค้าหรือบริการที่ได้รับหรือมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกให้ระหว่างงวด

6.6.3. กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผลกระทบของการจ่าย โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ต่อกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวดและฐานะการเงินของกิจการ

6.7. วันถือปฏิบัติ กิจการต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2561 ทั้งนี้สนับสนุนให้นำไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติหากกิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้สำหรับงวดก่อน วันที่มีผลบังคับใช้กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย

7. หนี้สิน หมายถึงภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่จะโอนสินทรัพย์หรือบริการให้ แก่กิจการอื่นในอนาคตซึ่งภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลจาก เหตุการณ์ในกรอบแนวคิด

7.1. ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินที่มีความไมแนนอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจํานวนที่ตอง จายชําระ

7.1.1. ภาระผูกพันจากการอนุมาน หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดจากการกระทําของกิจการที่ทําใหกิจการจําตองปฏิบัติตามภาระผูกพันนั้น ภาระผูกพันดังกลาวถือวาไดเกิดขึ้น หากเปนไปตามขอกําหนดทุกขอตอไปนี้