1. ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
1.1. ภาษาฟอร์แทน(FORTRAN)
1.1.1. เป็นภาษาระดับสูง เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุต์ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม และต่อมาได้พัฒนา เพื่อนำมาใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์การใช้งานเครื่องเมนเฟรม
1.1.1.1. ข้อดี : เป็นภาษาระดับสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานที่มีความซับซ้อน
1.1.1.2. ข้อเสีย : เนื่องจากเป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้บนเมนเฟรม จึงต้องมีการปรับคำสั่งมากมาย เพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
1.2. ภาษาเบสิก (Basic)
1.2.1. เป็นภาษาระดับสูง ที่ย่อมาจากคำว่า Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ซึ่งเป็นภาษาที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และนิยมในการใช้สอนและฝึกการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนต่างๆ
1.3. ภาษาโคบอล (COBOL)
1.3.1. ชื่อเต็มว่า Business Oriented Language โดยถูกออกแบบเพื่อการเขียนโปรแกรมเชิงโครงส้ราง เหมาะกับการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์
1.4. ภาษาปาสคาล (Pascal)
1.4.1. เป็นภาษาเชิงโครงสร้าง ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียน และได้ตั้งชื่อภาษาตามชื่อของนักคณิตศาสตร์และปรัชญาฝรั่งเศส
1.5. ภาษาซี
1.5.1. เป็นภาษาที่พัฒนาเพื่อสร้างเป็นโปรแกรมควบคุมระบบ เพราะมีคำสั่งที่เข้าถึงระบบฮาร์แวร์ของคอมพิวเตอร์โดยตรง สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง สามารถติดต่อกับเครื่องระบบต่างๆผ่านการควบคุมพอร์ตของคอมพิวเตอร์
1.6. ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
1.6.1. เป็นการพัฒนาภาษา C ด้วยการเพิ่มใส่ Class เข้าไปสามารถสนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ และการเขียนโปรแกรมทั่วไป
1.7. ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
1.7.1. เป็นภาษาที่ใช้ในงานกราฟฟิกในส่วนของหน้าจอติดต่อกับผู้ใช้งาน จากนั้นจึงกำหนดคุณสมบัติและการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานแต่ละวัตถุให้เป็นไปตามต้องการ
1.8. ภาษาจาวา (Java)
1.8.1. เป็นภาษาที่ทำงานต่างจากภาษาอื่น เพราะเป็นการคอมไฟล์แบบ Byte-Code จึงทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นจาก Java สามารถทำงานได้บนเครื่องทุกระบบ
2. การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาโปรแกรม
2.1. ภาษามาตราฐานที่ใช้ในองค์กร
2.2. คุณสมบัติและความเหมาะสม
2.3. การทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
2.4. การทำงานร่วมกับระบบอื่น
3. ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์
3.1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)
3.1.1. เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เลขฐานสองในการแทนคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ
3.2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
3.2.1. เป็นภาษาที่ช่วยให้จดจำคำสั่งได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษมาแทนคำสั่งที่เป็นเลขฐานสอง
3.3. ภาษาระดับสูง (High-level Language)
3.3.1. เป็นภาษาระดับสูง ที่เป็นภาษาระดับสูง ที่ใช้ภาษาอังกฤษมาสั่งงานและควบคุมคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่าภาษาสูงในยุคนี้ว่า ภาษายุคที่สาม
3.4. ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
3.4.1. เป็นภาษาในยุคที่ 4 หรือ 4GLs เป็นการพัฒนาคุณสมบัติของภาษาได้แตกต่างจากยุคก่อนอย่างชัดเจน โดยหลักการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้โพรซี่เยอร์ ซึ่งแบบเก่าเราต้องเขียนโปรแกรมสร้างโพรซีเยอร์แต่ละตัวเพื่อไว้ให้ทำงานในด้านต่างๆ
3.5. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
3.5.1. ภาษายุคที่ห้า หรือ 5GLs เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่ต้องสนใจเรื่องไวยากรณ์ของภาษา