1. แผนกห้องคลอด
1.1. นิสิตรับไว้ในความดูแล 17 กันยายน 2561 เวลา 9.00 น.
1.1.1. จากการสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ยังคงมีปัญหาในเรื่องความวิตกกังวล ความเศร้า จากการเสียชีวิตของทารกในครรภ์
1.1.1.1. นำแนวคิดทฤษฎีภาวะสูญเสียและทุกข์โศก (Loss & Grief) ประเมินปฏิกิริยา การแสดงออกของบุคคล
1.1.1.1.1. หญิงตั้งครรภ์ได้มีการแสดงปฏิกิริยาเมื่อทราบว่าตนเองเสียลูกไป ดังนี้ ขั้นที่ 1 หญิงตั้งครรภ์บอกว่าตอนแรกๆรับไม่ได้จริง ๆ ถามหมอหลายรอบ ไม่เชื่อว่าลูกจะไม่อยู่กับเราแล้ว
1.1.1.1.2. ขั้นที่ 2 หญิงตั้งครรภ์บอกว่ารู้สึกโกรธรรมชาติที่แกล้งให้ฝนตกหนักจนไม่สามารถมารพ.ได้ โกรธตัวเองด้วย
1.1.1.1.3. ขั้นที่ 3 หญิงตั้งครรภ์ช่วงที่รู้ก็ได้ขอพรจากพระขอให้ปฎิหาริย์มีจริงขอให้ลูกยังไม่เสีย
1.1.1.1.4. ขั้นที่ 4 สังเกตได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะเศร้า น้ำตาคลอ นั่งเหม่อบางครั้งเวลาอยู่คนเดียว
1.1.1.1.5. ขั้นที่ 5 หญิงตั้งครรภ์เริ่มยอมรับการจากไปของทารกได้ นอนหลับได้ทั้งคืน บอกว่าพยายามจะทำใจให้ได้
1.2. คลอดเวลา 14.12น. ทารกเพศชาย นน. 2565 กรัม
1.2.1. บิดา มารดา ยกศพทารกให้รพ.จัดการ
1.3. 2 ชม. หลังคลอด มดลูกหดรัดตัวดี BPV 1/2 pad น้ำนมซึมเล็กน้อย สีหน้ายังเศร้าๆ
1.3.1. หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
1.3.1.1. แนะนำการดูแลตนเองหลังคลอดบุตร
2. หอผู้ป่วยสูติกรรม
2.1. ผู้รับบริการไม่ทราบวิธีการทำให้น้ำนมไม่ไหล
2.1.1. แนะนำการใส่เสื้อชั้นใน
2.1.2. แนะนำการงด บีบ นวด กระตุ้นเต้านม
2.2. ยังมีอาการเศร้า เสียใจ คิดถึงลูก
2.2.1. ติดตามอาการเศร้าโศก
2.3. หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
2.4. 1.อธิบายให้ทราบถึงการวางแผนในการตรวจติดตาม 2. แนะนำหญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ 2.1 มีเลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น 2.2 มีเลือดออกทางช่องคลอดนานเกิน 3 วัน โดยเลือดที่ออกมีปริมาณไม่ลดลงแต่กลับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และสีแดงเข้ม 2.3 สิ่งคัดหลั่งที่ออกทางช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นและมีลักษณะคล้ายหนอง หรือมีไข้ร่วมกับการกดเจ็บบริเวณท้องน้อย 3. แนะนำการคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 – 2 ปี โดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เนื่องจากการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดหรือการใส่ห่วงอนามัยทำให้มีเลือดออกกระปริบกระปรอยได้ งดมีเพศสัมพันธ์ในระยะแรก 4 สัปดาห์ 4. แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารดังนี้ 4.1 รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยเน้นให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดปลอดภัย 5.แนะนำงดการบีบนวดคลึงเต้านม และควรใส่เสื้อชั้นในให้กระชับหลังคลอดเรียบร้อยแล้ว
3. ติดตามโทรเยี่ยมบ้าน หลังออกจาก รพ.
3.1. ติดตามปัญหา
3.1.1. หญิงหลังคลอดและญาติมีความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรในครรภ์
3.1.1.1. - เปิดโอกาสให้หญิงหลังคลอดและญาติได้ระบายความรู้สึก - ประเมินความรู้สึกเศร้าโศกสูญเสียของหญิงตั้งครรภ์และญาติ - กระตุ้นและแนะนำการผ่อนคลาย การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ หากิจกรรมทำเป็นต้น - กระตุ้นให้ครอบครัวและหญิงหลังคลอดมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพจิตใจกันและกัน
3.1.1.1.1. หญิงหลังคลอดและสามีบอกว่าไปอยู่ต่างจังหวัด หากิจกรรมทำ พยายามทำใจให้ได้และจะอยู่เพื่อลูกอีก 2 คน
3.2. แนะนำหญิงหลังคลอด ถ้ามีอาการผิดปกติหลังคลอดสามารถไปรพ.ใกล้บ้านได้
3.2.1. ถ้ากังวลไม่สบายใจหรือเครียดมาก สามารถปรึกษาครอบครัว รพ.ใกล้บ้าน หรือโทรขอคำแนะนำได้จากพยาบาล
4. ลูกไม่ดิ้น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
4.1. เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 16 กันยายน 2561 เวลา 14.41 น.
4.1.1. แพทย์ทำUSG วินิจฉัย DFIU
4.2. ฝากครรภ์ทั้งหมด 9 ครั้ง
4.2.1. ผลทางห้องปฏิบัติการ ปกติ
4.2.2. นับลูกดิ้นเป็น
5. หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม
5.1. Cytotec (200 mcg) 1/8 tab oral q 2 hr. x 5 dose Paracetamol (500) 1 tab oral prn q 4 hr.
5.2. ปัญหา
5.2.1. หญิงตั้งครรภ์และญาติมีความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรในครรภ์
5.2.1.1. 1. แนะนำตนเองกับหญิงตั้งครรภ์และญาติ พูดคุยสร้างสัมพันธภาพ ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลแสดงออกถึงความใส่ใจ ช่วยประคับประครองอารมณ์สนใจความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ 2. เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์และญาติได้ระบายความรู้สึก กระตุ้นให้พูดคุยหรือซักถาม ข้อสงสัย ให้หญิงตั้งครรภ์มีส่วนร่วมตัดสินใจในการดูแลตนเอง 3. ประเมินความรู้สึกเศร้าโศกสูญเสียของหญิงตั้งครรภ์และญาติว่าอยู่ในระยะใดเพื่อวางแผนให้การพยาบาล 4. ตรวจเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์เป็นระยะเพื่อไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว 5. กระตุ้นและแนะนำการผ่อนคลาย การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ หรือการอ่านหนังสือ เป็นต้น 6. กระตุ้นให้ครอบครัวและหญิงตั้งครรภ์มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสภาพจิตใจกันและกัน เช่น การดูแลเอาใจใส่หลังทราบว่าสูญเสียบุตร และส่งเสริมสามีให้กำลังใจหลังคลอดแล้วอย่างต่อเนื่อง
5.2.2. หญิงตั้งครรภ์วิตกกังวลและกลัว เนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์
5.2.2.1. 1. แนะนำตนเองกับหญิงตั้งครรภ์และญาติ สร้างสัมพันธภาพให้หญิงตั้งครรภ์และญาติ เกิดความไว้วางใจ 2. อธิบายและแนะนำข้อมูลต่างๆก่อน เช่น ระเบียบปฏิบัติการอยู่โรงพยาบาล เวลาเยี่ยมของญาติ แนะนำสถานที่ การเตรียมเอกสารเกี่ยวกับสิทธิการรักษา เป็นต้น 3. เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ระบายความรู้สึกวิตกกังวลและความกลัว พร้อมทั้งประเมินความรู้สึกของหญิงตั้งครรภ์ ปลอบโยนให้กำลังใจให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล โดยเน้นให้ญาติ มีส่วนร่วมในการรับรู้และสร้างความเข้าใจไปพร้อมกัน 4. อธิบายสภาวะการเจ็บป่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจ และความจำเป็นที่ต้องในการทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ 5. อธิบายและแนะนำการปฏิบัติตัวในการเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาโดยการทำให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น การดูแลความสะอาดร่างกาย การได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น 6. อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบว่าภายหลังการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ จะมีอาการปวดท้องน้อยและมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย โดยอาการจะทุเลาและหายไปในที่สุดและพยาบาลจะคอยดูแลสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 7. เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์และญาติซักถามและตอบคำถามที่หญิงตั้งครรภ์และญาติสงสัย