ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก by Mind Map: ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

1. Urinary tract infection

1.1. โรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรคทุกชนิด เช่น เชื้อรา และเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

1.2. การวินิจฉัย

1.2.1. ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก

1.2.2. ตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจย้อมเชื้อ และ/หรือเพาะเชื้อ จากปัสสาวะร่วมกับตรวจหาชนิดของยาปฏิชีวนะที่จะใช้ฆ่าเชื้อได้

1.2.3. การเอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และ/หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ

1.3. สาเหตุ

1.3.1. การติดเชื้อแบคทีเรีย

1.3.2. การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

1.3.3. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

1.3.4. การตั้งครรภ์

1.4. อาการ

1.4.1. รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ

1.4.2. ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะบ่อยครั้ง หรืออั้นปัสสาวะไม่ได้

1.4.3. รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ อาจมีสีขุ่น หรือมีเลือดปน

1.4.4. ปวดบริเวณท้องน้อย ซึ่งเป็นส่วนของกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณหัวหน่าว

1.4.5. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ อ่อนเพลีย

1.4.6. ผู้สูงอายุอาจมีอาการสับสนหรือทำกิจกรรมลดลง

1.5. หลักการรักษา

1.5.1. 1.ลดการติดเชื้อโดยการให้ยาปฏิชีวนะ

1.5.2. 2.ป้องกันเนื้อไตถูกทำลาย และป้องกันไตวาย

1.5.3. 3.ค้นหาและแก้ไขความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

1.5.4. 4.ให้น้ำปริมาณมากให้โดยการดื่มหรือทางหลอดเลือดดำ

1.5.5. 5.บรรเทาอาการปวดแสบในการถ่ายปัสสาวะ

1.6. ภาวะแทรกซ้อน

1.6.1. ไส้เลื่อน และไตวาย

1.6.2. ความดันโลหิตสูง

1.6.3. นิ่วในกระเพระปัสสาวะ

1.7. การป้องกัน

1.7.1. ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว

1.7.2. เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ

1.7.3. ใช้ทิชชูที่อ่อนนุ่มในการทำความสะอาดปากท่อปัสสาวะ และอวัยวะเพศ

1.7.4. ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ

1.7.5. หลายการศึกษาพบว่า การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์

1.7.6. รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

1.7.7. ไม่สำส่อนทางเพศ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน

1.7.8. ในผู้หญิง

1.7.8.1. ทำความสะอาดอวัยวะเพศ และหลังการขับถ่ายจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียจากปากทวารหนัก

1.7.8.2. ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ

1.7.8.3. ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใช้ฝาครอบปากมดลูก

2. ESRD

2.1. เป็นภาวะที่ไตลดการทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ และไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ เนื่องจากไตถูกทำลายอย่างถาวร อาจใช้เวลานานหลายปี ระยะสุดท้ายของไตวายเรื้อรังเรียกว่า End-stage renal disease (ESRD)

2.2. การวินิจฉัย

2.2.1. อาการบวม ตรวจหาระดับครีอะตินินพบว่าสูง คำนวณค่าครีอะตินินเคลียรานซ์ (CCr) น้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที (แสดวงว่ามีการสูญเสียการทำหน้าที่ของไตหรือไตถูกทำลายอย่างรุนแรง) ตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลต์ ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) Uric acid, Blood urea nitrogen (BUN) สูง Sodium สูง Potassium สูง Calcium ต่ำ Phosphorus สูง Magnesium สูง CCr ต่ำ Uric Acid สูง การถ่ายภาพรังสีพบว่าไตมีขนาดเล็กลง เจาะเนื้อไตเพื่อดูพยาธิสภาพ

2.3. สาเหตุ

2.3.1. เกิดจากความผิดปกติที่ไต เช่น มีอาการอักเสบที่ไต จากโรคต่างๆ เช่น SLE, Scleroderma, Polyarteritis nodosa เบาหวาน Hypertension นิ่วในไต และอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากมีการอุดตันในหลอดปัสสาวะ (Urethral Obstruction)

2.4. พยาธิสรีรภาพ

2.4.1. หน่วยไต (Nephron) ถูกทำลายจะทำให้ความสามารถในการขจัดของเสียออกจากเลือดลดลง หรืออัตราการกรองของหน่วยกรองปัสสาวะ (Glomerular filtration rate; GFR) ลดลง ปกติ GFR = 125 มิลลิลิตร/นาที ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะมี GFR เป็นร้อยละ 35-50 ของปกติ หากผู้ป่วยมี GFR < 10-20 มิลลิลิตร/นาที หรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ซึ่งหมายถึงหน่วยไตสูญเสียการทำหน้าที่ไปมากกว่าร้อยละ 85 หรือเรียกว่า ไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยในระยะนี้จะมีการคั่งของของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนทำให้ Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูงขึ้น เรียกว่า ภาวะยูรีเมีย (Uremia) ไตวายเรื้อรัง แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

2.4.1.1. 1) ระยะไตทำงานลดลง (Reduced renal reserve หรือ Renal impairment) GFR = 35-50% ของปกติ แต่ BUN และ Cr ในเลือดปกติ ผู้ป่วยไม่มีอาการของไตวาย

2.4.1.2. 2) ระยะไตเสียหน้าที่ (Renal insufficiency) GFR = 20-35% ของปกติ BUN และ Cr ในเลือดเริ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยยังไม่มีอาการของไตวายหรือไม่มีอาการของยูรีเมีย แต่มีภาวะ Azotemia

2.4.1.3. 3) ระยะไตวาย (Renal failure) GFR = 20-25% ของปกติ BUN และ Cr ในเลือดสูงขึ้น มีภาวะซีดรุนแรง มีโป-แตสเซียมในเลือดสูง มีอาการของยูรีเมีย ติดเชื้อง่าย และมีความดันเลือดสูง

2.4.1.4. ) ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-stage renal disease) GFR < 20% ของปกติ ไตไม่สามารถขับของเสีย น้ำ และอิเล็กโทรไลต์ได้ ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกน้อย (Oliguria)

2.5. อาการ

2.5.1. ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ

2.5.2. มีอาการหน้าและหนังตาบวม หรือเท้าบวมทั้งสองข้าง

2.5.3. ความดันโลหิตสูง

2.5.4. กดบุ๋มที่หน้าแข้งทั้งสองข้าง

2.5.5. ตัวซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว

2.5.6. ผิวหนังแห้ง คันตามตัว ตามัว บวม เหนื่อยหอบ ซึมลง ชัก หมดสติ และเสียชีวิตได้

2.5.7. การเจริญเติบโตช้าผิดปกติของฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโต หรือติดเชื้อบ่อย ๆ การเจริญเติบโตของกระดูกที่ผิดปกติ

2.6. การรักษา

2.6.1. จำกัดอาหารโปรตีน อาหารที่มีโปแตสเซียม จำกัดน้ำดื่ม การได้รับอาหารที่มีโปแตสเซียมที่มีคุณค่าสูง ยาลดความดันเลือด จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เช่น Digoxin หรือทำ Hemodialysis, Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), Peritoneal dialysis หรืออาจต้องทำ Renal transplantation

2.6.2. 1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยแล้วผ่านตัวกรองเพื่อกำจัดของเสีย ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่างเพื่อให้กลายเป็นเลือดดีก่อนที่เครื่องไตเทียมจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกาย ในการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยผู้ป่วยต้องเข้ารับการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือดเสียก่อน

2.6.3. 2. การล้างไตทางผนังช่องท้อง (peritoneal dialysis) เป็นการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านทางสายยางที่ฝังไว้ในช่องท้องผู้ป่วยเพื่อกรองของเสียในร่างกายออก วิธีนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน ผู้ป่วยจึงมักทำที่บ้านและเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีข้อจำกัดที่ผู้ป่วยหลายรายไม่สะดวก และมีข้อควรระวังเรื่องความสะอาดที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

2.7. การป้องกัน

2.7.1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน

2.7.2. ไม่กินยาพร่ำเพื่อ ถ้าจะซื้อยากินเองต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ

2.7.3. ระมัดระวังการใช้สมุนไพร หรือการกินเห็ดที่ไม่รู้จัก

2.7.4. รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ โดยเฉพาะ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน

2.7.5. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดการเสียเลือดรุนแรง

2.7.6. ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองการทำงานของไตในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี และเมื่อพบความผิดปกติ ต้องรีบพบแพทย์

3. Nephrotic Syndrome

3.1. กลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เป็นกลุ่มอาการโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมาก ผู้ป่วยจะมีอาการบวมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณเท้า ข้อเท้า และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา

3.2. การวินิจฉัย

3.2.1. สอบถามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ตรวจประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกาย และตรวจปัสสาวะโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจปริมาณของโปรตีนที่ปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ หากวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Nephrotic Syndrome แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อหาระดับโปรตีนในเลือดด้วย

3.3. สาเหตุ

3.3.1. มีทั้งชนิดปฐมภูมิซึ่งเกิดจากโรคที่ส่งผลกระทบต่อไต และชนิดทุติยภูมิซึ่งเกิดจากโรคที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะหลายส่วนในร่างกายรวมทั้งไตด้วย

3.3.2. สาเหตุทำให้กรวยไตเกิดความเสียหายจนไตขับโปรตีนออกมาทางปัสสาวะเป็นปริมาณมาก มีดังนี้

3.3.2.1. กรวยไตเป็นแผล

3.3.2.2. กรวยไตเป็นแผล

3.3.2.3. ยื่อบุผิวภายในกรวยไตหนาตัวขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากบางโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ บี

3.3.2.4. กลุ่มอาการอะมีลอยโดซิส (Amyloidosis)

3.3.2.5. โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง

3.3.2.6. รคไตจากเบาหวาน

3.3.2.7. มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต

3.3.2.8. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ

3.4. พยาธิสภาพ

3.4.1. เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดปกติที่ Glomerular basement membrane โดยมีการเพิ่ม permeability ทำให้โปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กไหลรั่วผ่านออกมามากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอัลบูมิน และ อิมมูโนโกลบูลิน และจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา

3.5. อาการ

3.5.1. มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา ท้อง แขน ขา ข้อเท้า และเท้า

3.5.2. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

3.5.3. ปัสสาวะเป็นฟอง

3.5.4. อ่อนเพลีย

3.6. หลักการรักษา

3.6.1. 1.การรักษาด้วยยา

3.6.1.1. 1. ยาขับปัสสาวะ 2. ยากดภูมิคุ้มกัน 3. ยาลดคอเลสเตอรอล 4. ยาควบคุมความดันโลหิต 5. ยาเจือจางเลือด

3.6.2. 2.ป้องกันและควบคุมสภาวะโภชนาการ

3.6.3. 3.ลดอาการบวมหรือควบคุม

3.6.4. 4.เพิ่มโพแตสเซียม เพิ่มวิตามิน

3.6.5. ป้องกันการติดเชื้อ

3.7. ภาวะแทรกซ้อน

3.7.1. ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดอุดตัน ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง และอาจเกิดการติดเชื้อ เป็นต้น

3.8. การป้องกัน

3.8.1. 1. ควบคุมความดันโลหิตเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจนเป็นอันตราย 2. ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน 3. รับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดไว้ 4. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบหรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ

3.9. หลักการพยาบาล

3.9.1. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ

3.9.2. ป้องกันแตกของผิวหนัง

3.9.3. ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม

3.9.4. ป้อง Hypovolemia และ hypokalemia

3.9.5. ลดการสูญเสียพลังงาน ลดการทำงานของหัวใจและลดอาการ dyspnea ที่อาจมี

3.9.6. เสริมสร้างภาวะโภชนาการและส่งเสริมการเจริญเติบโต

3.9.7. แระคับประคองด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว

4. Acute glomerrulonephritis

4.1. เป็นการอักเสบของไตและกรวยไตทั้งสองข้าง เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน

4.2. การวินิจฉัย

4.2.1. จากอาการและตรวจปัสสาวะพบมีเลือดและโปรตีนปนในปัสสาวะ มี Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูง ซีด

4.3. สาเหตุ

4.3.1. เชื้อแบคทีเรียมักเกิดตามหลังการติดเชื้อ Group A beta hemolytic streptococci เช่น ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) พบบ่อยในเด็ก เกิดหลังจากติดเชื้อ 1-3 สัปดาห์ และเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่ใช่เชื้อ Streptococcus เช่น Bacterial endocarditis, Sepsis และอาจเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น Systemic lupus erythematosus (SLE), Vasculitis เป็นต้น

4.4. พยาธิสรีรภาพ

4.4.1. แบคทีเรียมาถึงไต เชื้อจะเพิ่มจำนวนและทำให้ไตอักเสบอย่างกว้างขวาง ไตอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื้อไตมีพังผืด เป็นแผลเป็น มีฝีกระจายอยู่ทั่วไต ไตจะมีขนาดเล็กลงและเกิดภาวะไตวายในที่สุด

4.5. อาการ

4.5.1. วดบริเวณเอวด้านข้าง กดเจ็บบริเวณ Costovertebral

4.5.2. ปวดศีรษะ มีปัญหาการมองเห็น อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เบื่ออาหาร

4.5.3. หอบเหนื่อยเนื่องจากมีเกลือและน้ำคั่ง มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง

4.5.4. ปัสสาวะน้อย ตาและหน้าบวม มีเลือดปนในปัสสาวะ มีโปรตีนในปัสสาวะ มียูเรียในเลือดมากเกินไป ปัสสาวะออกน้อยเป็นบางครั้ง มีน้ำและเกลือคั่ง

4.6. หลักการรักษา

4.6.1. ประคับประคอง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน หาก มีอาการดีให้รักษาตัวอยู่ที่บ้าน หากบวม ความดันสูง ปัสสาวะออกน้อย ให้รักษาตัวที่ โรงพยาบาล

4.6.1.1. 1.เพื่อลดความดันโลหิตและอาการบวม

4.6.1.2. 2.เพื่อควบคุมป้องกันการติดเชื้อ

4.6.1.3. 3. ควบคุม หรือป้องกันภาวะแทรกซ้อน

4.6.2. ให้ยาปฏิชีวนะ

4.7. ภาวะแทรกซ้อน

4.7.1. hypertensive encephalopathy

4.7.2. pulmonary edema

4.7.3. Acute cardiac decompensation

4.8. การป้องกัน

4.8.1. การควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ,งดสูบบุหรี่ ,การควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคเบาหวาน ,การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ,การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

4.9. การพยาบาล

4.9.1. บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก ชั่งน้ำหนักทุกวัน ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อป้องกันจากการติดเชื้อ ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม สังเกตภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะไตวาย หัวใจล้มเหลว และมีอาการทางสมองเนื่องจากความดันเลือดสูง ติดตามผลการตรวจปัสสาวะเพื่อดูระดับ Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr) กระตุ้นการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง ติดต่อสังคมสงเคราะห์หากผู้ป่วยมีปัญหาด้านเศรษฐกิจหรือปัญหาครอบครัว

5. Phimosis in childreng

5.1. ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ คือภาวะที่ผิวหนังบริเวณปลายองคชาตหดตัวจนไม่สามารถดึงให้เปิดขึ้นได้ดังปกติ

5.2. การวินิจฉัย

5.2.1. มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะลำบาก หรือรู้สึกเจ็บปวดบริเวณองคชาต ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ โดยในเบื้องต้นแพทย์จะซักถามอาการและตรวจดูความผิดปกติขององคชาต

5.3. สาเหตุ

5.3.1. ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด

5.3.2. ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบที่เกิดขึ้นตอนโต

5.3.2.1. การติดเชื้อบริเวณปลายองคชาตหรือผิวหนังหุ้มปลายองคชาต

5.3.2.2. การเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น

5.3.2.3. การเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น

5.4. อาการ

5.4.1. มีอาการปัสสาวะลำบากร้องปวดก่อนขับถ่ายปัสสาวะ

5.4.2. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศโป่ง (ballooning)ขณะเบ่งถ่ายปัสสาวะ

5.4.3. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศส่วนปลายบวมแดงอักเสบอาจมีสารคัดหลั่งสีเหลือง คล้ายหนองหลั่งออกมาร่วมด้วย

5.4.4. ลำปัสสาวะมีขนาดเลก็มากหรือถ่ายปัสสาวะเป็นหยดๆไม่พุ่ง(truephimosis)

5.4.5. มีไข้หนาวสั่นปัสสาวะกระปริดกระปรอยปัสสาวะมีเลือดปน(urinarytract infection , UTI)

5.4.6. มีก้อนนูนใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (retained smegma)

5.4.7. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศติดหัวอวัยวะเพศรูดแล้วเจ็บ (preputial adhesions)

5.4.8. รูดหนังหุ้มปลายแล้วดันกลับไม่ได้ (paraphimosis)

5.5. การรักษา

5.5.1. การรักษาภาวะ Phimosis นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของอาการ รวมถึงอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีรูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เด็กทีละน้อยเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเปิดได้เป็นปกติ

5.5.2. หากปฏิบัติตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อช่วยให้หนังหุ้มปลายนุ่มและรูดเปิดได้ง่ายขึ้น

5.5.3. ส่วนผู้ที่ใช้ยาหรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการขลิบหนังหุ้มปลายซึ่งเป็นการผ่าตัดนำหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกและช่วยป้องกันการเกิดภาวะนี้ซ้ำ

5.5.4. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการขลิบหนังหุ้มปลายอาจเข้ารับการผ่าตัดแยกหนังหุ้มปลายองคชาตออกจากปลายองคชาตแทน แต่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบซ้ำได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะ

5.6. ภาวะแทรกซ้อน

5.6.1. ผู้ป่วยภาวะ Phimosis ที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตตีบร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น เจ็บ บวมแดง หรือปัสสาวะลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดแผลเรื้อรังหรือมีเนื้อตายและสูญเสียองคชาตไปอย่างถาวร นอกจากนั้น ยังเสี่ยงเกิดมะเร็งองคชาตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

5.7. การป้องกัน

5.7.1. ป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นทุกวันในระหว่างอาบน้ำ รวมทั้งดึงหนังหุ้มปลายองคชาตให้เปิดออกอย่างช้า ๆ และล้างทำความสะอาดผิวหนังข้างใต้ แต่สำหรับทารกและเด็กเล็กนั้นไม่จำเป็นต้องดึงหนังหุ้มปลายองคชาตให้เปิดออกเพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วควรเช็ดให้แห้งทุกครั้ง นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีน้ำหอมหรือมีส่วนผสมของสารเคมี รวมถึงการใช้แป้งฝุ่นหรือสารระงับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันการระคายเคือง