ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้ by Mind Map: ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

1. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ออซูเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี

1.1. ออซูเบลกล่าวว่า การสอนจะต้อง คำนึงถึงวัยของนักเรียนด้วย เพราะถ้าหากนักเรียนไม่พร้อมที่จะรับหรือรับโดยไม่ เข้าใจ ก็อาจจะต้องใช้การท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง

1.2. 1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

1.3. 2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้ว นกขุนทอง

1.4. 3. การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย

1.5. 4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด หรือแบบนกแก้ว นกขุนทอง

2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)

2.1. 1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt)

2.1.1. ทฤษฎีกลุ่มนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดาของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็น เสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายใน จิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น

2.1.2. 1.1 หลักการเรียนรู้

2.1.2.1. การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม

2.1.3. 1.2 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

2.1.3.1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

2.1.3.2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน

2.1.3.3. การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน

2.1.3.4. คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน

2.1.3.5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจ ให้ผู้เรียนมีความศรัทธา

2.2. 2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรุเนอร์(Bruner)

2.2.1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์

2.2.2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน

2.2.3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถ ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

2.2.4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลส าเร็จในการเรียนรู้

2.2.5. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด

2.2.6. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.3. 3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ออซูเบล (Ausubel)

2.3.1. ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎ ในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Learning Theory : Behaviorism) ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด

3.1. 1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

3.1.1. 1.1 หลักการเรียนรู

3.1.1.1. กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง (Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่ง เร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะ กระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมากำหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการ เรียนรู้ขึ้นแล้ว

3.1.2. 1.2 กฎการเรียนรู้

3.1.2.1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะ เกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ

3.1.2.2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร

3.1.2.3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิด จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะ เกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ

3.1.2.4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่ พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้

3.1.3. 1.3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

3.1.3.1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง

3.1.3.2. การสำรวจความพร้อมของผู้เรียน

3.1.3.3. หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้

3.1.3.4. เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้

3.1.3.5. การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการ สอนประสบความสำเร็จ

3.2. 2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory)

3.2.1. 2.1 หลักการเรียนรู้

3.2.1.1. พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือ มีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ าลายไหล เป็นต้น

3.2.2. 2.2 กฎการเรียนรู้

3.2.2.1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคย ปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก

3.2.2.2. กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก

3.2.2.3. กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่น ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข

3.2.2.4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะ ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ

3.2.3. 2.3 การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

3.2.3.1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

3.2.3.2. การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์

3.2.3.3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

3.2.3.4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

3.3. 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner Behavior Theory)

3.3.1. 3.1 หลักการเรียนรู้

3.3.1.1. จากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการ กระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น

3.3.2. 3.2 กฎแห่งการเรียนรู้

3.3.2.1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่างเช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง

3.3.2.2. อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ

3.3.3. 3.3 การนำไปใช้ในการเรียนการสอน

3.3.3.1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้ เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

3.3.3.2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning)

4. Bloom อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้าน เมื่อบุคคล เกิดการเรียนรู้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

4.1. 1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง

4.2. 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม (Affective Domain) หมายถึง เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ ความเชื่อ ความสนใจ

4.3. 3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor Domain) หมายถึง การที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้ว ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ

5. ความหมายการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และ พฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนอง ตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ