1. สถาบันครอบครัว
1.1. ความหมาย
1.1.1. กลุ่มสังคมในสถาบันครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เช่น บิดา มารดา บุตร วงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องโดยสายโลหิต หรือการสมรส หรือมีบุตรบุญธรรม
1.2. องค์ประกอบ
1.2.1. บิดา
1.2.2. มารดา
1.2.3. บุตร
1.2.4. วงศาคณาญาติ
1.3. หน้าที่
1.3.1. ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม เพื่อทดแทนสมาชิกของสังคมที่สิ้นชีวิตลง
1.3.2. เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้มีชีวิตรอด เนื่องจากทารกแรกเกิดและเด็ก ไม่สามารถดูแลตนเองได้
1.3.3. ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเพื่อให้ เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
1.4. สัญลักษณ์
1.4.1. แหวนหมั้น
1.4.2. แหวนแต่งงาน
2. สถาบันเศรษฐกิจ
2.1. ความหมาย
2.1.1. สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางวัตถุ เพื่อการดำรงชีวิตเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตการกระจายสินค้า และบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
2.2. องค์ประกอบ
2.2.1. ร้านค้า
2.2.2. โรงงานและองค์กรเศรษฐกิจ
2.2.3. ผู้จัดการ
2.2.4. พนักงาน
2.2.5. กรรมกร
2.2.6. เกษตรกร
2.3. หน้าที่
2.3.1. ผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยสินค้าพื้นฐานจนถึงสินค้าอำนวยความสะดวก
2.3.2. การกระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึง
2.3.3. การกระจายบริการต่าง ๆ ไปสู่สมาชิกในสังคม
2.3.4. การกำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม
2.3.5. สถาบันทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดหน้าที่สำคัญ คือ เป็นพื้นฐานอำนาจทางการเมือง
2.4. สัญลักษณ์
2.4.1. เครื่องหมายทางการค้า
3. สถาบันการศึกษา
3.1. ความหมาย
3.1.1. เกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้และการฝึกทักษะอาชีพเพื่อความเป็นสมาชิกที่ เหมาะสมของสังคม
3.2. องค์ประกอบ
3.2.1. โรงเรียน
3.2.2. มหาวิทยาลัย
3.2.3. กระทรวง
3.2.4. ทบวง
3.2.5. ครู
3.2.6. อาจารย์
3.3. หน้าที่
3.3.1. ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกในสังคม
3.3.2. สร้างบุคลิกภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สามารถปรับตนในการติดต่อสัมพันธ์กับ บุคคลอื่นและปฏิบัติตนให้มีคุณค่าแก่สังคม
3.3.3. การกำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม สถานภาพจากสถาบันการศึกษาเป็นส่วนประกอบสำคัญ ประการหนึ่งในการจัดช่วงชั้นทางสังคม
3.3.4. ผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม
3.3.5. สร้างกลุ่มเพื่อนเป็นหน้าที่แฝงของสถาบันการศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนเพื่อสนองความต้องการ ทางจิตใจของสมาชิกในสังคม
3.4. สัญลักษณ์
3.4.1. เข็มเครื่องหมายของโรงเรียน
4. สถาบันการเมืองการปกครอง
4.1. ความหมาย
4.1.1. เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของ สมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
4.2. องค์ประกอบ
4.2.1. กษัตริย์
4.2.2. พรรคการเมือง
4.2.3. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4.2.4. ทหาร
4.2.5. ตำรวจ
4.2.6. กำนัน
4.2.7. ผู้ใหญ่บ้าน
4.3. หน้าที่
4.3.1. จัดสรรให้ประชาชนได้ผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน
4.4. สัญลักษณ์
4.4.1. ธงชาติ
4.4.2. กฎหมาย
5. สถาบันศาสนา
5.1. ความหมาย
5.1.1. สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคม เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปกติสุขโดยปฏิบัติตามคติความเชื่อ
5.2. องค์ประกอบ
5.2.1. คณะสงฆ์
5.2.2. กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม
5.3. หน้าที่
5.3.1. สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม
5.3.2. สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม
5.3.3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม
5.3.4. สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่างๆ
5.4. สัญลักษณ์
5.4.1. ธรรมจักร
5.4.2. ไม้กางเขน
5.4.3. โอม
5.4.4. ดาวและจันทร์เสี้ยว
5.4.5. คันด้า