ปฏิบัติการเคมีทั่วไป2 เรื่องค่าคงที่ผลคูณการละลายและความสามารถในการละลายของแคลเซียมไอดรอกไซด์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปฏิบัติการเคมีทั่วไป2 เรื่องค่าคงที่ผลคูณการละลายและความสามารถในการละลายของแคลเซียมไอดรอกไซด์ by Mind Map: ปฏิบัติการเคมีทั่วไป2 เรื่องค่าคงที่ผลคูณการละลายและความสามารถในการละลายของแคลเซียมไอดรอกไซด์

1. บทนำ

1.1. สารละลายอิ่มตัว(saturated solution)ของสารประกอบไอออนิกใดๆที่ละลายน้ำได้น้อยจะเกิดการสมดุลระหว่าง เกลือส่วนที่ละลายซึ่งจะแตกตัวเป็นไอออนหมด กับที่อยู่ในรูปของของแข็งในสารละลาย

1.2. "ค่าคงที่ผลคูณการละลาย"มีค่าเท่ากับผลคูณของความเข้มข้นของไอออนแต่ละชนิดยกกำลังด้วยสัมประสิทธิ์จำนวนโมลของไอออนนั้น การละลายของเกลือจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอออนร่วม

2. สารเคมี

2.1. 1.สารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เตรียมโดยการละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 3 กรัมในน้ำ 1 ลิตร

2.2. 2.สารละลายกรดเกลือเจือจางความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร

2.3. 3.สารละลายฟินอล์ฟธาลีน

2.4. 4.ผงแคลเซียมคลอไรด์

3. วัตถุประสงค์

3.1. 1. เพื่อหาค่าคงที่ผลคูณการละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์

3.2. 2.เพื่อศึกาอิทธิพลของไอออนร่วมที่มีผลต่อสมดุลการละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์

4. เครื่องมือและอุปกรณ์

4.1. 1.ขวดรูปชมพู่

4.2. 2.บิวเรต

4.3. 3.กรวยแก้วและกระดาษกรองเบอร์ 1

4.4. 4.ปิเปต

4.5. 5.บีกเกอร์

4.6. 6.กระบอกตวง

5. การทดลอง

5.1. ตอนที่1

5.1.1. การเตรียมสารละลาย

5.1.1.1. ทำได้โดยการเติมผงแคลเซียมไฮดรอกไซด์ 3 กรัม ในน้ำ 1 ลิตร กวนเเล้วตั้งทิ้งไว้ให้ตะกอนนอนก้นอย่างน้อย 1 ชม. ก่อนการทดลองที่ 2 กรองสารละลายด้วยกระดาษกรองเพื่อใช้เฉพาะส่วนใส

5.2. ตอนที่2

5.2.1. การหาความสามารถในการละลายและการหาความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์

5.2.1.1. 1.บรรจุสารละลายมาตรฐานกรดเกลือเจือจางความเข้มข้น0.1 โมลต่อลิตรลงในบิวเรต

5.2.1.2. 2.ปิเปตสารละลายส่วนใสที่ผ่านการกรองจากตอนที่1 มาใส่ในขวดรูปชมพู่ 2 ใบๆละ5.00ลบ.ซม. เติมน้ำกลั่นขวดละ 25.00 ลบ.ซม.

5.2.1.3. 3.เติมฟีนอล์ฟธาลีนอินดิเคเตอร์ ลงไป 1หยด

5.2.1.4. 4.ไทเทรตสารละลายเเต่ละขวดด้วนสารละลายที่เตรียมไว้แล้ว เมื่อถึงจุดยุติ สารละลายเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสารละลายใสไม่มีสี

5.2.1.5. 5.บันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการไทเทรตสารละลายในขวดรูปชมพู่เเต่ละใบ แล้วคำนวณหาความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ในสารละลายอิ่มตัว

5.3. ตอนที่3

5.3.1. 1.ปิเปตสารละลายที่กรองได้จากตอนที่1มา 15.00 ลบ.ซม. ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ จากนั้นเติมแคลเซียมคลอไรด์ลงไป0.25 กรัม แกว่งขวดรูปชมพู่ไปมาอย่างช้าๆ กรองตะกอนออกเมื่อสารละลายขุ่นเเละอาจมีอนุภาคแขวนลอย แล้วเอาส่วนที่เป็นสารละลายใสมาทำการไทเทรตเพื่อหาความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ เหมือนในการทดลองที่2

5.3.2. 2.เปรียบเทียบความเข้มข้นของไออนแต่ละชนิด เมื่อมีการเติมแคลเซียมคลอไรด์(ตอนที่3ข้อ1) และไม่มีการเติม (ตอนที่2)

5.3.3. 3.คำนวณหาค่าคงที่ของการละลายจากความเข้มข้นเฉลี่ยของแคลเซียมไอออนและไฮดรอกไซด์ไอออน เมื่อมีการเติมแคลเซียมคลอไรด์ เปรียบเทียบกับค่าคงที่ของการละลายที่หาไว้ก่อนหน้านี้ในข้อที่5ตอนที่2