ศาสนาคริสต์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ศาสนาคริสต์ by Mind Map: ศาสนาคริสต์

1. พิธีกรรม

1.1. วิวัฒนาการมาจากศาสนายูดาย

1.2. พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ

1.2.1. ศีลล้างบาป (Baptism)

1.2.1.1. โปรเตสแตนท์เรียกว่า "ศีลจุ่ม" เป็นศีลที่สำคัญที่สุดที่ทำครั้งเดียวในชีวิตเมื่อเเรกเกิด เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด สืบต่อมาจากมนุษย์คู่แรกคืออดัมกับอีวา หากไม่รับศีลล้างบาปจะไม่มีสิทธิรับศีลอื่นๆ

1.2.2. ศีลกำลัง (Confirmation)

1.2.2.1. ทำในระหว่างอายุ 9-14ปี เป็นพิธีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์เพื่อยืนยันว่าตนเป็นคริสตศาสนิกชนโดยสมบูรณ์

1.2.3. ศีลมหาสนิท (Holy Communion)

1.2.3.1. โปรเตสแตนท์เรียกศีลนี้ว่า "มิซซา" เป็นพิธีระลึกถึงวันที่พระเยซูเสวยพระกระยาหารร่วมกับอัครสาวกเป็นครั้งสุดท้ายและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ผู้ทำพิธีจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่น ซึ่งหมายถึงเนื้อและเลือดของพระเยซู

1.2.4. ศีลแก้บาป (Confession)

1.2.4.1. คือ การสารภาพบาปต่อบาทหลวง เพื่อขออภัยโทษจากพระเจ้า

1.2.5. ศีลเจิมคนไข้ (Holy Unction)

1.2.5.1. เป็นพิธีที่ทำเพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยหนัก

1.2.6. ศีลบวช (Ordination)

1.2.6.1. เป็นพิธีที่เจ้าอาวาสวัดทำให้ผู้เข้าพิธีบวชพระ หรือบาทหลวงในศาสนาคริสต์

1.2.7. ศีลสมรส (Matrimony)

1.2.7.1. เป็นพิธีแต่งงานของชายหญิงคู่หนึ่งต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้า

1.3. พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

1.3.1. พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต) การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่น เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน

1.4. พิธีมิสซา

1.4.1. พิธีมิสซา คือ พิธีบูชาขอบพระคุณในความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตศาสนิกชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้า เป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปแทนมนุษย์เรา อาศัยพระกายและพระโลหิตที่ยอมสละและพลีชีวิตเพื่อเรา ดังนั้น พิธีมิสซาจึงเป็นพิธีของส่วนรวมในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่คริสตศาสนิกชน จะขอบพระคุณพระเจ้า

2. นิกาย

2.1. โรมันคาทอลิก (Roman Catholic)

2.1.1. มีพระสันตปาปา (Pope) เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักร ทรงพำนักอยู่ที่นครรัฐวาติกัน ประเทศอิตาลี องค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระสันตะปาปาฟาสซิส

2.1.2. นิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก

2.1.3. มีนักบวช และนักบวชไม่สามารถแต่งงานได้

2.1.4. สัญลักษณ์ คือ ไม้กางเขนที่มีพระเยซู

2.1.5. นับถือพระเเม่มารี และนักบุญต่างๆ

2.1.6. มีความเชื่อในดินแดนชำระบาป คำสั่งสอน และประเพณีดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด

2.1.7. นับถือศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการ

2.1.8. ผู้ที่นับถือศานาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เรียกว่า “คริสตัง”

2.2. ออโธดอกซ์ (Orthodox)

2.2.1. ไม่ยอมรับอำนาจของพระสันตะปาปา

2.2.2. แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม

2.2.3. มีแพทริอาร์คเป็นประมุขสูงสุด

2.2.4. นับถือศีลศักดิ์สิทธิ์เพียง 2 ข้อ คือ ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท

2.2.5. มีนักบวช โดยที่นักบวชประจำโบสถ์ท้องถิ่นสามารถแต่งงานได้ แต่บาทหลวงแต่งงานไม่ได้

2.2.6. เคารพรูปเคารพของพระเยซู, พระเเม่มารีและนักบุญท่านต่างๆ โดยทำรูปเคารพสลักบนแผ่นไม้หรือกระเบื้องขัดมันที่มีลักษณะแบนไว้เพื่อสักการะบูชาเรียกว่า “รูปไอคอน”

2.2.7. ห้ามประดิษฐ์รูปเคารพบูชา 3 มิติ เช่น รูปปั้น รูปหล่อ

2.2.8. ไม่เชื่อในแดนชำระบาป

2.2.9. ไม่นับถือศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ข้อ เช่นเดียวกับนิกายโรมันคาทอลิก

2.3. โปรเตสแตนท์ (Protestant)

2.3.1. ชื่อนิกายมาจากคำว่า "Protest" หมายถึงนิกายคัดค้าน

2.3.2. ไม่เชื่อว่าพระสันตะปาปา และบาทหลวงมีอำนาจในการอภัยบาปได้

2.3.3. มีความเชื่อว่าทุกคนสามารถมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้าได้

2.3.4. ลัทธิแรกที่เกิดขึ้น คือ ลัทธิลูเธอรัน

2.3.5. ไม่มีนักบวช มีแต่ผู้สอนศาสนาซึ่งไม่สามารถแต่งงานได้

2.3.6. สัญลักษณ์ คือ ไม้กางเขนที่ไม่มีพระเยซู

2.3.7. ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย เรียกว่าคริสเตียน

2.3.8. ไม่นับถือพระเเม่มารีและนักบุญต่างๆ รวมถึงไม่เชื่อในแดนชำระบาปด้วย

2.3.9. เป็นนิกายที่เกิดขึ้นโดยมาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่งไม่ยอมรับพฤติกรรมของผู้นำทางศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก ที่ขายใบไถ่บาปให้ประชาชนในการระดมทุนเพื่อสร้างวิหาร Saint Peter

3. สัญลักษณ์

3.1. ไม้กางเขน (Cross)

3.1.1. สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ คือ ไม้กางเขน ซึ่งใช้ตรงกันทุกนิกาย

3.1.1.1. ไม้กางเขนประกอบด้วยไม้ 2 ท่อน

3.1.1.1.1. ท่อนที่อยู่แนวดิ่งที่ชี้ขึ้นข้างบน หมายถึง ความรับผิดชอบที่มนุษย์มีต่อพระเจ้า

3.1.1.1.2. แนวขวางชี้ออกไป 2 ข้างนั้น หมายถึง ความรับผิดชอบที่แต่ละคนมีต่อเพื่อนบ้าน

3.1.1.1.3. ความหมายนี้นับว่าถูกต้องเหมาะสมกับหลักคำสอนของศาสนาคริสต์อย่างยิ่ง เพราะศาสนาคริสต์สอนให้รักพระเจ้าสุดชีวิตจิตใจและสอนให้รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

4. หลักธรรม

4.1. หลักตรีเอกนุภาพ (Trinity)

4.1.1. หมายถึง พระเจ้าทรงมี 3 ภาคในองค์เดียวกัน

4.1.1.1. พระบิดา (The Father)

4.1.1.1.1. หมายถึง พระยะโฮวาห์ พระเจ้าผู้สถิตย์อยู่บนสวรรค์ ทรงเป็นผู้สร้างโลก สร้างมนุษยชาติและสรรพสิ่งทั้งหลาย

4.1.1.2. พระบุตร ( The Son)

4.1.1.2.1. หมายถึง พระเยซู พระบุตรของพระเจ้า เสด็จลงมาบนโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้า

4.1.1.3. หมายถึง พระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ ช่วยนำทางให้มนุษย์ทำแต่ความดี

4.1.1.4. พระจิต (The Holy Spirit)

4.2. บาปกำเนิด (Original Sin)

4.2.1. เป็นบาปที่บรรพบุรุษของมนุษย์ (อดัมกับอีวา) ได้กระทำผิดต่อพระเจ้าโดยการแอบทานผลไม้แห่งความรู้ และบาปนั้นได้ตกทอดมาสู่มนุษย์ทั้งหลายตั้งแต่กำเนิด จะหมดไปได้ต่อเมื่อผ่านพิธีรับศีลล้างบาปแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความอ่อนแอทางด้านจิตใจ เป็นเหตุให้กระทำความชั่วได้ง่าย จะต้องยึดมั่นในพระเจ้าเพื่อให้จิตใจ มีความหนักแน่นและทำแต่ความดี

4.3. หลักความรัก ( Love or Agape)

4.3.1. เป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดของศาสนาคริสต์

4.3.1.1. หมายถึงความเป็นมิตร ความเมตตากรุณา การเสียสละ การให้อภัย และความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีคำสอนที่สำคัญดังนี้

4.3.1.1.1. ให้นับถือและรักพระเจ้าอย่างสุดใจ สุดความคิด และสุดกำลัง

4.3.1.1.2. พระเจ้าทรงโปรดให้ฝนตกและแดดออกเหนือคนดีและคนชั่วเหมือนกัน

4.3.1.1.3. จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

4.3.1.1.4. จงรักศัตรู จงทำดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน จงอวยพรผู้ที่สาปแช่งท่าน

4.3.1.1.5. หากผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย

4.4. บัญญัติ10ประการ

4.4.1. 1. จงนมัสการพระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว

4.4.2. 2. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์

4.4.3. 3. อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร

4.4.4. 4. จงนับถือบิดามารดา

4.4.5. 5. อย่าฆ่าคน

4.4.6. 6. อย่าทำอุลามก

4.4.7. 7. อย่าลักขโมย

4.4.8. 9. อย่าผิดประเวณี

4.4.8.1. 8. อย่าใส่ความนินทาผู้อื่น

4.4.9. 10. อย่าคิดโลภในทรัพย์ของผู้อื่น

4.5. คำเทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount)

4.5.1. เป็นการเทศนาที่กระทำต่อหน้าสาวกทั้ง 12 คน และผู้มาชุมนุมจำนวนมาก ถือเป็นการประมวลคำสอนทั้งหมดของพระเยซูอย่างเป็นระบบที่สุด เป็นหลักจริยธรรมที่พระเยซูทรงมอบให้แก่มนุษย์ทุกคนได้ปฏิบัติเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้าสามารถสรุปได้ดังนี้

4.5.1.1. การเป็นผู้มีสุข : มี 8 ประเภท คือ

4.5.1.1.1. ผู้โศกเศร้าจะได้รับการปลอบประโลม

4.5.1.1.2. ผู้มีจิตใจอ่อนโยนจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดก

4.5.1.1.3. ผู้หิวกระหายความชอบธรรมพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์

4.5.1.1.4. ผู้มีใจกรุณาจะได้รับพระกรุณาตอบ

4.5.1.1.5. ผู้มีใจบริสุทธิ์จะได้เห็นพระเจ้า

4.5.1.1.6. ผู้สร้างสันติพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตร

4.5.1.1.7. ผู้ใดถูกข่มเหงเพราะความชอบธรรมแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา

4.5.1.1.8. ผู้ที่ถูกติเตียนนินทาว่าร้ายเพราะพระเจ้าบำเหน็จจะมีบริบูรณ์ในสวรรค์

4.5.1.2. การเป็นเกลือของโลก : มุ่งให้มนุษย์ดำรงรักษาความดีงามเหมือนเกลือรักษาความเค็ม

4.5.1.3. การเป็นความสว่างของโลก : มุ่งให้กำลังใจผู้ทำความดี ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างมั่นคง

4.5.1.4. การไม่ได้บัญญัติหลักธรรมใหม่ : มุ่งชี้แจงว่าพระองค์ไม่ต้องการลบล้างคำสอนเดิมของชาวยิว เพียงแต่ปฏิรูปคำสอนเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4.5.1.5. การห้ามมิให้มีความโกรธ : มุ่งสอนให้ระวังอารมณ์ในจิตใจ เพราะการฆ่าหรือทำร้ายคน จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีความโกรธมากระตุ้น

4.5.1.6. การห้ามล่วงประเวณี : ไม่ใช่เพียงแค่ทางกายเท่านั้น แต่รวมทั้งทางวาจาและใจด้วย

4.5.1.7. การห้ามหย่าร้าง : เพราะการแต่งงานจะเกิดขึ้นเพราะความพอใจ แต่ไม่มีความรับผิดชอบ

4.5.1.8. การไม่สาบาน : มุ่งให้คนรักษาสัจจะด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น มาประกันคำพูดของตน

4.5.1.9. การไม่ตอบโต้ผู้ประทุษร้าย : มุ่งสอนให้ไม่มีความอาฆาตและให้อภัยต่อกัน

4.5.1.10. การรักศัตรู : มุ่งสอนให้มีความเมตตากรุณา

4.5.1.11. การทำความดี : มุ่งสอนให้ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ

4.5.1.12. การสั่งสมทรัพย์สมบัติในสวรรค์ : คือการสั่งสมความดี

4.5.1.13. การไม่กล่าวโทษผู้อื่น : มุ่งสอนให้คนมองความผิดพลาดของตนเอง

4.5.1.14. การขอ, หา, เคาะ : มุ่งสอนให้กระทำต่อผู้อื่นเหมือนที่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำต่อตนเอง โดยมีคำกล่าวที่ว่า "ทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา"

5. คัมภีร์

5.1. คัมภีร์ไบเบิล (Holy Bible)

5.1.1. พันธสัญญาใหม่ (New Testament)

5.1.1.1. บันทึกเป็นภาษากรีก

5.1.1.2. เป็นคัมภีร์ใหม่ของศาสนาคริสต์โดยตรง

5.1.1.3. เนื้อหาเกี่ยวกับคำสั่งสอนของพระเยซู และการปฏิรูปแนวทางการดำเนินชีวิตของพระเยซูครั้งที่เป็นระบบที่สุดคือ การเทศนาบนภูเขา

5.1.2. พันธสัญญาเดิม (Old Testament)

5.1.2.1. บันทึกเป็นภาษาฮิบรูโบราณ

5.1.2.2. คัมภีร์ที่ศาสนาคริสต์และศาสนายูดายนับถือร่วมกัน

5.1.2.3. ชาวยิวไม่ยอมรับพันธสัญญาใหม่เป็นคัมภีร์ของตน เพราะไม่ยอมรับว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้า

6. จุดมุ่งหมายสูงสุด

6.1. เป้าหมายสูงสุดคือการรอดพ้นจากบาปและกลับไปมีชีวิตนิรันดร์ในอาณาจักรของพระเจ้า แต่การที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น มนุษย์จะต้องมีศรัทธาและปฏิบัติตามหลักคำสอนที่พระเจ้าทรงประกาศผ่านพระเยซู ให้มนุษย์ “สร้างความดี ละเว้นบาปหรือความชั่ว”

6.2. การสร้างความดีของชาวคริสต์ เพื่อปฏิบัติตามคำสอนเรื่องการรักเพื่อนมนุษย์ จึงเป็นไปในรูปแบบของการสร้างสาธารณประโยชน์ที่ก่อให้เกิดความสุขแก่สังคม ส่วนรวม เช่น จัดตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และด้านสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการบำเพ็ญประโยชน์เหล่านี้ มาจากหลักคำสอนที่สำคัญอันเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของชาวคริสต์ คือ "รักพระเจ้าสุดจิตสุดใจ และจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง" ซึ่งเป็นคำสอนที่แสดงออกถึงอานุภาพแห่งความรักความเมตตาในศาสนาคริสต์