การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี by Mind Map: การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

1. การควบคุมมลพิษทางอากาศ

1.1. เครื่องแยกโดยการตกเนื่องจากน้ำหนัก

1.1.1. ฝุ่นละอองที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ต้องมีการควบคุมหรือแก้ปัญหา จึงมีการนำความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงมาใช้แยกอนุภาคของฝุ่นละอองออกจากอากาศ นั่นคืออากาศเสียจะถูกดูดผ่านท่อที่มีพื้นที่ขนาดเล็กเข้ามาสู่ห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้อนุภาคฝุ่นมีความเร็วลดลงและตกลงสู่ด้านล่างเครื่อง และอากาศที่ไม่มีฝุ่นจะไหลผ่านท่อ เพื่อปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม

1.1.2. ข้อดี

1.1.2.1. 1.อุปกรณ์ออกแบบง่าย ควบคุมดูแลและบำรุงรักษาง่าย

1.1.2.2. 2.แยกอนุภาคขนาดใหญ่ 40-60 ไมครอน

1.1.3. ข้อเสีย

1.1.3.1. 1.มีประสิทธิภาพต่ำ (20-60%) จึงมักใช้ในการบำบัดขั้นต้น เพื่อการกำจัดฝุ่นละอองขนาดใหญ่

1.1.3.2. 2.มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการก่อสร้าง

1.1.3.3. 3.ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก

1.2. เครื่องแยกด้วยแรงเหวี่ยง(ไซโคลน)

1.2.1. เครื่องแยกโดยการตกเนื่องจากน้ำหนัก ไม่สามารถควบคุมฝุ่นขนาดเล็กกว่า 40-60 ไมครอนได้ จึงมีการนำความรู้เรื่องแรงหนีศูนย์กลาง แรงเหวี่ยงมาพัฒนาโดยแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดขึ้นจะบังคับให้ฝุ่นละออง เคลื่อนที่แนบติดกับผนังไซโคลนและเกิดการหมุนลงไปยังส่วนปลายไซโคลนที่เรียวเล็กลงไปเรื่อย และบังคับให้ฝุ่นละอองออกจากตัวไซโคลนที่ด้านล่าง

1.2.2. ข้อดี

1.2.2.1. 1.แยกอนุภาคฝุ่นละอองขนาดมากกว่า 10 ไมครอน

1.2.2.2. 2.ค่าติดตั้งและดำเนินการไม่สูง

1.2.2.3. 3.สามารถใช้ได้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิสูง

1.2.3. ข้อเสีย

1.2.3.1. 1.ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก

1.2.3.2. 2.เกิดการสึกหรอของตัวเครื่องอย่างรวดเร็ว

1.3. เครื่องแยกอนุภาคด้วยถุงกรอง

1.3.1. เครื่องแยกอนุภาคด้วยแรงเหวี่ยง ควบคุมได้เฉพาะอนุภาคฝุ่นละอองขนาดมากกว่า 10 ไมครอน จึงมีการนำหลักของการกรองซึ่งจะแยกอนุภาคสารปนเปื้อนโดยผ่านตัวกรอง ตัวกรองทำจากถุงผ้าฝ้ายหรือไฟเบอร์กลาสหรือใยหินหรือไนลอน

1.3.2. ข้อดี

1.3.2.1. 1.แยกอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กถึง 0.1 ไมครอน

1.3.3. ข้อเสีย

1.3.3.1. 1.ใช้ควบคุมได้เฉพาะฝุ่นแห้ง

1.3.3.2. 2.ต้องการการเปลี่ยนถุงกรอง

1.3.3.3. 3.อายุการใช้งานของถุงกรองอาจสั้น เนื่องจากอุณหภูมิสูงหรือสภาพความเป็นกรดด่าง

1.3.3.4. 4.ใช้กับอากาศเสียที่มีความชื้นสูงไม่ได้ เพราะทำให้ถุงกรองอุดตัน

1.4. เครื่องพ่นจับแบบเปียก

1.4.1. เครื่องแยกอนุภาคด้วยถุงกรองไม่สามารถแยกไอสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการผลิต จึงนำหลักการทำงานแบบสัมผัสกันระหว่างอากาศเสียและของเหลวมาใช้ดักจับฝุ่นละออง และไอสารเคมี โดยการฉีดละอองของเหลวให้เป็นฝอยลงสู่อากาศเสีย โดยไอสารเคมีและฝุ่นละอองที่เปียกจะรวมกันเป็นกลุ่มก้อน และตกลงด้านล่างของเครื่องพร้อมกับน้ำเสียจากการใช้งาน

1.4.2. ข้อดี

1.4.2.1. 1.แยกแก๊สและฝุ่นละอองได้

1.4.2.2. 2.สามารถใช้ได้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงได้

1.4.2.3. 3.เหมาะสำหรับการควบคุมอากาศเสียที่เป็นกรด-ด่าง

1.4.3. ข้อเสีย

1.4.3.1. 1.มีปัญหาการผุกร่อนและสึกหรอของตัวเครื่อง

1.4.3.2. 2.มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย

1.5. เครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิต

1.5.1. เตรื่องพ่นจับแบบเปียก ก่อให้เกิดน้ำเสียและตะกอนเหลวที่เกิดจากการแยกอนุภาค และไม่สามารถดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนได้ จึงนำความรู้เรื่องแรงทางไฟฟ้ามาใช้ในการแยกฝุ่นละอองขนาดเล็กออกจากอากาศ การทำงานประกอบด้วยแผ่นที่ให้ประจุลบกับอนุภาคฝุ่น และแผ่นเก็บฝุ่นซึ่งมีประจุบวกทำหน้าที่จับและเก็บฝุ่นไว้ เมื่อฝุ่นเกาะหนาประมาณ 6-12 มิลลิเมตร จะถูกเคาะให้ฝุ่นร่วงลงมาในท่อเพื่อลำเลียงออกไปจากตัวเครื่องนำไปฝังกลบต่อไป

1.5.2. ข้อดี

1.5.2.1. 1.สามารถแยกฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99%

1.5.2.2. 2.ใช้ได้กับอากาศที่มีความชื้นและแห้ง

1.5.3. ข้อเสีย

1.5.3.1. 1.มีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก

1.5.3.2. 2.ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสูง

1.5.3.3. 3.ไม่สามารถใช้กับฝุ่นละอองที่มีสมบัติติดไฟหรือระเบิดง่าย

2. การจัดการขยะมูลฝอย

2.1. เทกลางแจ้ง

2.1.1. เมื่อมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น จึงมีการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดโดยการเทกองรวมไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่า เพื่อให้ขยะมูลฝอยเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ

2.1.2. ข้อดี

2.1.2.1. 1.เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการจัดการขยะมูลฝอยและใช้งบประมาณน้อย

2.1.3. ข้อเสีย

2.1.3.1. 1.เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค และเกิดกลิ่นรบกวน

2.1.3.2. 2.ใช้พื้นที่มาก ทำให้บ้านเมืองสกปรก และไม่เป็นระเบียบ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

2.1.3.3. 3.เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ และทัศนียภาพ

2.2. ฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล

2.2.1. ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค จึงมีการนำขยะมูลฝอยมาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลักวิชาการ เช่น การปูพื้นบ่อขยะด้วยพลาสติกกันซึม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำหรือปนเปื้อนลงในดิน การวางท่อระบายแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อยู่ในบ่อขยะ

2.2.2. ข้อดี

2.2.2.1. 1.เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดูแลระบบไม่สูง

2.2.2.2. 2.สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ทุกประเภท ยกเว้นขยะพิษ และขยะติดเชื้อ

2.2.2.3. 3.แก๊สมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้

2.2.3. ข้อเสีย

2.2.3.1. 1.ใช้พื้นที่ฝังกลบมาก และพื้นที่ต้องห่างไกลจากชุมชน

2.2.3.2. 2.มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย

2.2.3.3. 3.ใช้ดินกลบทับขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมาก

2.3. หมักทำปุ๋ย

2.3.1. ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ของเหลือจากการเกษตร) เพิ่มมากขึ้น พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบ จึงใช้ความรู้เรื่องการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยนำขยะอินทรีย์มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็นปุ๋ย เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน

2.3.2. ข้อดี

2.3.2.1. 1.สร้างประโยชน์จากขยะอินทรีย์ โดยการผลิตปุ๋ย

2.3.2.2. 2.มีการคัดแยกขยะอินทรีย์ก่อนเข้ากระบวนการหมักทำปุ๋ย

2.3.3. ข้อเสีย

2.3.3.1. 1.พื้นที่ในการทำปุ๋ยหมักต้องห่างไกลจากชุมชน เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน

2.3.3.2. 2.มีการดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก

2.4. เตาเผาในชุมชน

2.4.1. เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล แต่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการเผาไหม้มากขึ้น จึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็กสามารถจัดการขยะมูลฝอยปริมาณไม่มากได้เป็นอย่างดี

2.4.2. ข้อดี

2.4.2.1. 1.ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้างในชุมชน

2.4.2.2. 2.ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย

2.4.2.3. 3.ใช้พื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอยน้อย

2.4.2.4. 4.ก่อนการเผามีการคัดแยกขยะอินทรีย์และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้

2.4.3. ข้อเสีย

2.4.3.1. 1.ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อระบบหายใจ

2.4.3.2. 2.มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ

2.5. เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน

2.5.1. ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อน จากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็นแนวคิด"เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน" คุณส่ง 10 มีนาคม เวลา 21:49 น. ข้อ

2.5.2. ข้อดี

2.5.2.1. 1.ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

2.5.2.2. 2.ใช้พื้นที่น้อย ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้าง

2.5.3. ข้อเสีย

2.5.3.1. 1.หากดำเนินการไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศทำให้ระคายเคืองกับระบบหายใจ

2.5.3.2. 2.เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

2.5.3.3. 3.ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบสูง

3. การบำบัดน้ำเสีย

3.1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์

3.1.1. เป็นการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบหลัก มีลักษณะใกล้เคียงกับบึงในธรรมชาติ หลักการทำงาน สารอินทรีย์ส่วนหนึ่ง จะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้นหิน โดยได้รับออกซิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา

3.1.2. ข้อดี

3.1.2.1. 1.การทำงานไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการบำบัด

3.1.2.2. 2.พืชน้ำที่ใช้ในการบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้

3.1.3. ข้อเสีย

3.1.3.1. 1.การบำบัดน้ำเสียใช้ระยะเวลานาน และมีประสิทธิภาพต่ำ จึงไม่สามารถรองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณมากได้

3.2. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ

3.2.1. เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์มากขึ้น จึงมีการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เครื่องเติมอากาศ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องเติมอากาศให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้รวดเร็วกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์

3.2.2. ข้อดี

3.2.2.1. 1.สามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

3.2.2.2. 2.การดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก

3.2.3. ข้อเสีย

3.2.3.1. 1.ใช้ไฟฟ้าในการทำงานของระบบบำบัด

3.2.3.2. 2.มีค่าซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องเติมอากาศ

3.3. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง

3.3.1. เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์สูงมากขึ้น ใช้เวลาในการบำบัดนาน จึงมีการเติมแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย พร้อมกับมีการเติมอากาศ ซึ่งเป็นการผสมให้น้ำเสียและจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อเร่งการย่อยสลายอินทรีย์และอนินทรีย์ให้เร็วขึ้น

3.3.2. ข้อดี

3.3.2.1. 1.สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

3.3.2.2. 2.ใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียน้อยลง

3.3.3. ข้อเสีย

3.3.3.1. 1.การดำเนินงานและบำรุงรักษามีความยุ่งยาก เพราะ ต้องควบคุมสภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

3.4. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโคแอกกูเลชั่น

3.4.1. การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็ก(อนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-1 นาโนเมตร) จึงนำหลักการของกระบวนการโคแอกกูเลชั่นซึ่งเป็นกระบวนการประสานคอลลอยด์มาใช้ในการบำบัด โดยการเติมสารช่วยให้เกิดการตกตะกอน เช่น สารส้ม ลงไปในน้ำเสียทำให้สารแขวนลอยขนาดเล็กจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อนจนมีน้ำหนักมากและสามารถตกตะกอนลงมาได้อย่างรวดเร็ว

3.4.2. ข้อดี

3.4.2.1. 1.สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็กและมีไขมันหรือน้ำมันละลายอยู่

3.4.3. ข้อเสีย

3.4.3.1. 1.มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี และมีการใช้ไฟฟ้าในการกวนผสมสารเคมีกับน้ำเสีย

3.4.3.2. 2.การดำเนินงานและบำรุงรักษายุ่งยาก เพราะต้องหาค่าปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมกับน้ำเสียที่เข้าระบบ

3.4.3.3. 3.ในกรณีที่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดยังมีค่าสารอินทรีย์สูงต้องส่งไปบำบัดต่อ

3.5. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบการแลกเปลี่ยนประจุ

3.5.1. รงงานอุตสาหกรรมบางแห่งมีโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำเสีย จึงมีการพัฒนาให้สามารถบำบัดโลหะหนักได้ โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างโลหะหนักในน้ำเสียกับตัวกลางหรือเรซิน โดยโลหะหนักจะแลกเปลี่ยนประจุกับเรซินแล้วถูกเรซินจับไว้ ทำให้น้ำเสียที่ผ่านระบบไม่มีสารปนเปื้อนของโลหะหนักเหลืออยู่

3.5.2. ข้อดี

3.5.2.1. 1.บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโลหะหนักปนเปื้อน

3.5.2.2. 2.ฟื้นฟูสภาพของเรซินที่เสื่อมสภาพให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้

3.5.2.3. 3.นำโลหะหนักที่เป็นสารปนเปื้อนมาใช้ประโยชน์ใหม่

3.5.3. ข้อเสีย

3.5.3.1. 1.ใช้สารเคมีในการฟื้นฟูสภาพของเรซิน

3.5.3.2. 2.มีค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ และอุปกรณ์มีราคาแพง