
1. มาตราฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
1.1. มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และการนำไปใช้
1.2. ค 1.1 ป.4/3 บอก อ่าน และเขียนเศษส่วน จำนวนคละแสดงปริมาณสิ่งต่างๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามเศษส่วน จำนวนคละที่กำหนด
1.3. ค 1.1 ป.4/4 เปรียบเทียบ เรียงลำดับเศษส่วนและจำนวนคละที่ตัวส่วนตัวหนึ่งเป็นพหุคูณของอีกตัวหนึ่ง
2. ภาระงาน/ชิ้นงาน
2.1. ใบงาน
2.2. ใบกิจกรรม
2.3. ชิ้นงานเศษส่วน
3. แนวทางการจัดกิจกรรม
3.1. รูปแบบการสอน MIAP
3.1.1. ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน โดยใช้สื่อหรือเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนกิดความสนใจในเรื่องที่เรียน (Motivation)
3.1.2. ขั้นที่ 2 ขั้นสอน ผู้สอนดำเนินการสอนตามแผนที่เตรียมไว้ (Information)
3.1.3. ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์เป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Application)
3.1.4. ขั้นที่ 4 ขั้นสำเร็จผล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการทำกิจกรรมของผู้เรียน (Progress)
4. สาระสำคัญ
4.1. ชนิดของเศษส่วน
4.1.1. เศษส่วนแท้ คือ เศษส่วนที่มีตัวเศษน้อยกว่าตัวส่วน
4.1.2. เศษเกิน คือ เศษส่วนที่มีตัวเศษมากกว่าตัวส่วน
4.1.3. จำนวนคละ ประกอบด้วย จำนวนนับกับเศษส่วนแท้
4.2. การเปรียบเทียบเศษส่วน
4.2.1. การเปรียบเทียบเศษส่วนชนิดเดียวกัน (มีส่วนเท่ากัน) ให้พิจารณาดูเศษ เศษส่วนที่มีเศษมาก ย่อมมีค่ามากกว่าเศษส่วนที่มีเศษน้อย
4.2.2. การเปรียบเทียบเศษส่วนต่างชนิดกัน(มีส่วนไม่เท่ากัน)
4.2.2.1. เศษส่วนที่มีเศษเท่ากันแต่ส่วนไม่เท่ากันให้พิจารณาที่ส่วนคือเศษส่วนที่มีส่วนน้อยย่อมมีค่ามากกว่า เศษส่วนที่มีส่วนมาก
4.2.2.2. เศษส่วนที่มีเศษและส่วนไม่เท่ากัน ให้ทำให้เศษส่วนเหล่านั้นเป็นเศษส่วนชนิดเดียวกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบ
4.3. การบวก ลบ คูณและหารเศษส่วน
4.3.1. การบวกและการลบเศษ เศษส่วนจะบวกลบกันได้ต้องทำให้ตัวส่วนของเศษส่วนเท่ากับเสียก่อน และจากนั้นให้นำตัวเศษมาบวกลบกันตามปกติได้เลย
4.3.2. การคูณเศษส่วน จะทำการคูณตัวเศษกับตัวเศษ และตัวส่วนกับตัวส่วนได้เลย
4.3.3. การหารเศษส่วน จะต้องเปลี่ยนเครื่องหมายหารของเศษส่วนให้เป็นการคูณแทน โดยใช้หลักการที่ว่า “การเปลี่ยนหารเป็นคูณ กลับเศษส่วน”