1. เรื่องย่อ
1.1. ครั้งหนึ่งพระพันวษาเสด็จประพาสสุพรรณบุรีเพื่อทรงล่าควายป่า แต่ควายป่าแตกตื่นขวิดแทงผู้คน ขุนไกรพ่อของพลายแก้วที่มีหน้าที่ต้อนควายป่าจึงได้รับโทษประหาร นางทองประศรีผู้เป็นภรรยาจึงพาพลายแก้วไปอยู่กาญจนบุรี เมื่อพลายแก้วอายุ ๑๕ ปี ได้ไปเรียนที่วัดส้มใหญ่ เมื่อเรียนวิชาอาคมจนจบได้ไปบวชเรียนต่อที่วัดป่าเไลยก์เมืองสุพรรณบุรี ต่อมาพลายแก้วได้แต่งงานกับนางพิม หลังผ่านไปสองวัน พลายแก้วต้องยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และได้รับชัยชนะจึงได้นางลาวทองเป็นภรรยา ขณะที่พลายแก้วทำศึก นางพิมล้มป่วย ขรัวตาจูจึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทองเพื่อรักษาอาการไข้ ขุนช้างที่รักนางวันทองมาโดยตลอดจึงได้ใช้อุบายว่าพลายแก้วไปทัพตายเเล้วและออกอุบายต่างๆจนได้แต่งงานกับนางวันทอง เมื่อพลายแก้วมาถึงกรุงศรึอยุธยา จึงได้รับพรราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้าน เมื่อขุนแผนรู้ถึงการแต่งงานของนางวันทองกับขุนช้างก็โกรธ ประกอบกับนางวันทองวิวาทกับนางลาวทอง ขุนแผนจึงพานางลาวทองไปอยู่กาญจนบุรี ต่อมาขุนแผนกับขุนช้างได้ไปฝึกราชการกับจมื่นศรีเสาวรักษ์ทั้งสองได้คืนดีกัน กระทั่งนางลาวทองป่วย ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้าง เมื่อพระพันวษารับสั่งถามถึงขุนแผน ขุนช้างกลับทูลว่าขุนแผนหนีเวรไปหานางลาวทอง จึงสั่งให้ลงโทษขุนแผนและนางลาวทอง ขุนแผนมีความเเค้นจึงไปสุพรรณบุรีเพื่อพานางวันทองหนีแต่เข้าห้องผิดจึงได้นางแก้วกิริยาที่เป็นทาสของขุนช้างเป็นภรรยา เมื่อนางวันทองใกล้คลอดขุนแผนจึงขอร้องให้พระพิจิตรส่งตัวไปสู้คดีกับขุนช้างเเละชนะความมา ขุนแผนคิดถึงนางลาวทองจึงกราบทูลให้อภัยโทษกับนาลาวทอง เเต่พระพันวษากริ้วเเละรับสั่งให้จำคุกขุนแผน นางวันทองได้คลอดบุตรที่บ้านขุนช้าง เเละให้ชื่อว่าพลายงาม ขุนช้างที่รู้ว่าไม่ใช่บุตรของตนจึวางแผนลอบฆ่า นางวันทองที่ทราบเรื่องก็ไปช่วยได้ทันเเล้วพาไปอยู่กับย่าทองประศรี และได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ เมื่อโตขึ้นจมื่นศรีพาเข้าไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ต่อมา พลายงามมีโอกาสกราบทูลอาสาไปทัพเนื่องจากมีพระราชสาสน์มาท้าทายและได้กราบทูลให้ขุนแผนไปทัพด้วย ขุนแผนจึงพ้นโทษ ศึกในครั้งนี้ขุนแผนและพลายงามได้รับชัยชนะ พลายงามจึงได้รับพระราชทานเป็นจมื่นไวยวรนาถ ส่วนขุนแผนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุรินทรฦาไชยมไหสุริยภักดิ์ ครองเมืองกาญจนบุรี จมื่นไวยฯได้ลอบขึ้นเรือนขุนช้างพานางวันทองมาอยู่ที่บ้าน ขุนช้างจึงถวายฎีกา พระพันวษารับสั่งให้นางวันทองเลือกว่าต้องการอยู่กับใคร นางวันทองกราบทูลเป็นกลางว่าแล้วเเต่พระพันวษาจะทรงตัดสิน พระพันวษากริ้วจึงรับสั่งให้ประหารนางวันทอง
2. ความเป็นมา
2.1. ขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าได้กล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องขุนช้างขุนแผนไว้
3. ลักษณะคำประพันธ์
3.1. เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนเสภา ๔๓ตอน ซึ่งมีอยู่ ๘ตอน ลักษณะคำประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพและเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่างเล่านิทาน จึงมีการใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจนแก้ผู้ฟังและมุ่งเอาการขับได้ไพเราะเป็นสำคัญ
4. คุณค่าวรรณคดี
4.1. คุณค่าด้านเนื้อหา
4.1.1. รูปแบบ
4.1.1.1. กวีเลือกใช้คำประพันธ์ประเภทกลอนเสภา ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลอนสุภาพ
4.1.2. องค์ประกอบของเรื่อง
4.1.2.1. สาระ
4.1.2.1.1. มีข้อคิดว่าการตกเป็นทาสของอารมณ์ ย่อมทำให้มนุษย์ขาดสติในการกระทำสิ่งต่างๆ โดยไม่นึกถึงผลที่จะตามมา
4.1.2.2. โครงเรื่อง
4.1.2.2.1. เป็นเรื่องราวความรักของชายสองคนกับหญิงหนึ่งคน ชายคนหนึ่งรูปงาม มีวิชาอาคมแต่เจ้าชู้ ส่วนชายอีกคนหนึ่ง เป็นคนหน้าตาอัปลักษณ์แต่ร่ำรวย ทั้งสองคนปรารถนาคนเดียวกันจึงเกิดการแย่งชิงขึ้น
4.1.2.3. ฉากและบรรยากาศ
4.1.2.3.1. สภาพสังคมไทยในสมัยอยุธยาเเละรัตนโกสินทร์ตอนต้น
4.1.2.4. ตัวละคร
4.1.2.4.1. นางวันทอง
4.1.2.4.2. พลายงาม
4.1.2.4.3. ขุนช้าง
4.1.2.4.4. ขุนแผน
4.1.2.5. กลวิธีการแต่ง
4.1.2.5.1. กวีนำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครโดยการเล่าด้วยถ้อยคำภาษาที่ไพเราะงดงาม มีการใช้คำที่ทำให้เห็นภาพและการใช้ความเปรียบเทียบสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน
4.2. คุณค่าด้านสังคม
4.2.1. สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม
4.2.2. สะท้อนความเชื่อของคนในสังคม
4.2.2.1. ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์
4.2.2.2. ความเชื่อเกี่ยวกับความฝัน
4.2.2.3. ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม
4.2.3. สะท้อนค่านิยมของคนในสังคม
4.2.3.1. ค่านิยมเกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะ
4.2.3.2. ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงต้องมีสามีคนเดียว
4.2.4. สะท้อนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย
4.2.4.1. บทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อประชาชนในสังคมไทย
4.2.4.2. บทบาทของสตรีในสังคมไทย
4.3. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
4.3.1. การสรรคำ
4.3.1.1. การเลือกใช้คำได้ถูกต้องตรงตามวามหมายที่ต้องการ
4.3.1.2. การเลือกใช้คำที่เหมาะแก่เนื้อเรื่องเเละฐานะของบุคคลในเรื่อง
4.3.1.3. การเลือกใช้คำได้เหมาะแก่ลักษณะคำประพันธ์
4.3.1.4. การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
4.3.2. การใช้โวหาร
4.3.2.1. อุปมาโวหาร
4.3.2.2. บรรยายโวหาร
4.3.3. การใช้ภาพพจน์
4.3.3.1. การใช้ภาพพจน์อุปมา
4.3.3.2. การใช้ภาพพจน์อัปลักษณ์
4.3.4. ลีลาการประพันธ์
4.3.4.1. เสาวรจนี
4.3.4.1.1. บทชมความงาม
4.3.4.2. นารีปราโมทย์
4.3.4.2.1. แสดงความรักใคร
4.3.4.3. พิโรธวาทัง
4.3.4.3.1. แสดงความหึงหวง โกรธ ประชดประชัน
4.3.4.4. สัลลาปังคพิสัย
4.3.4.4.1. แสดงความโศรกเศร้า