ระบบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ระบบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ระบบคอมพิวเตอร์

1. ซอฟแวร์ (Software)

1.1. โปรแกรมจัดระบบ (System Software)

1.1.1. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix

1.2. โปรแกรม์ประยุกต์ (Application Software)

1.2.1. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ - โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access Oracle - โปรแกรมพิมพ์เอกสาร เช่น Microsoft Word - โปรแกรมสร้าง Presentation เช่น Microsoft Power Point - โปรแกรมช่วยสอน (CAI - Computer Aids Intrruction ) - โปรแกรมคำนวณ เช่น Microsoft Excel

1.3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Software)

1.3.1. เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวขึ้น และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น - โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus - โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น

1.4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater)

1.4.1. คอมไพเลอร์ (Compiler)

1.4.1.1. โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด (ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C, C++

1.4.2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

1.4.2.1. โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic

2. พีเพิลแวร์ (People Ware)

2.1. ผู้บริหาร (Manager)

2.1.1. ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign)

2.2.1. ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน

2.3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer)

2.3.1. ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

2.4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator)

2.4.1. ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

3. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

3.1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit)

3.1.1. เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone), ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)

3.2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

3.2.1. หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU)

3.2.1.1. ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง

3.2.2. หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU)

3.2.2.1. ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ

3.2.3. หน่วยความจำ

3.2.3.1. เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล

3.3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory)

3.3.1. หน่วยความจำภายใน

3.3.1.1. หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram)

3.3.1.1.1. เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

3.3.1.2. หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom)

3.3.1.2.1. เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่

3.3.2. หน่วยความจำสำรอง

3.3.2.1. ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ - แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้ - แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB - แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

3.4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

3.4.1. ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)