ภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอห้วยกระเจา “การอยู่ไฟ”🔥

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอห้วยกระเจา “การอยู่ไฟ”🔥 by Mind Map: ภูมิปัญญาท้องถิ่น     อำเภอห้วยกระเจา     “การอยู่ไฟ”🔥

1. ความเป็นมา

1.1. การตั้งครรภ์และสุขภาพหลังคลอดถือได้ว่าเป็นช่วงวิกฤติของผู้หญิง เนื่องจากร่างกายมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของร่างกายโดยเฉพาะในช่วงหลังคลอดที่ร่างกายอยู่ในสภาวะไม่สมดุล ทำให้การอยู่ไฟ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญในการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอด ซึ่งภูมิปัญญานี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาชาติ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกปัญญาชาติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ.2558

2. ลักษณะจำเพาะที่แสดงถึงภูมิปัญญา

2.1. 1.การใช้ความร้อน ในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล

2.2. 2.อาหารและสมุนไพร

2.3. 3.ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ

2.4. 4.การทำความสะอาดร่างกาย

2.5. 5.การดูแลความผิดปกติของร่างกายในขณะที่อยู่ไฟ

3. ประโยชน์ของการอยู่ไฟ

3.1. 1. ช่วยให้คุณแม่ได้พักผ่อน ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ

3.2. 2. ช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น เข้าอู่เป็นปกติได้ไวขึ้น

3.3. 3. ช่วยขับน้ำคาวปลา

4. ขั้นตอนการอยู่ไฟ

4.1. มีการเข้ากระโจม คือ การอบตัวด้วยไอน้ำที่มาจากสมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีการที่สำคัญมากเพราะเชื่อว่าเป็นการกำจัดมลทิน ต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวเนื้อให้หมดไปกำจัดน้ำเหลืองเสียและบำรุงผิวหน้า

4.2. การประคบตัว ซึ่งจะทำหลังคลอดและอยู่ระหว่างการอยู่ไฟหลังคลอด ๒-๓ วัน จะประคบตัวติดต่อกันเป็นเวลา ๓-๗ วัน สมุนไพรที่ใช้ลูกประคบ ส่วนใหญ่จะใช้ไพล ขมิ้นอ้อย ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือ ใช้ประคบตามร่างกายและประคบเต้านมทำให้น้ำนมไม่คัด น้ำนมเดินสะดวก

4.3. การทับหม้อเกลือ คือ การนำเกลือไปบรรจุลงในหม้อตาล ที่มีฝาปิด ตั้งไฟให้ร้อนจัดจนเกลือในหม้อแตกประทุ ยกหม้อลงไป วางบนใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง ใช้ผ้าห่อหม้อเกลือให้คลุมทั้งใบพลับพลึงหรือใบละหุ่งที่วางไว้ประคบตามตัวของหญิงหลังคลอดและหัวเหน่า จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วทำวันละ ๒ ครั้ง เช้ามืดและช่วงบ่าย

5. วิธีทำอบสมุนไพร

5.1. 1.หาสุ่มและผ้ามาปิดไว้ให้มิดชิด โดยเว้นช่วงหัวให้สามารถออกมาหายใจได้ หรือจะใช้ตู้อบไอน้ำสำเร็จรูปก็ได้เช่นกันค่ะ

5.2. 2.นำหม้อน้ำร้อน ที่ผสมด้วยสมุนไพรต่างๆ อาทิเช่น มะกรูด, ตะไคร้, ไพร, ขมิ้นชัน, การบูร, พิมเสน, ผักบุ้งแดง, หัวหอมแดง, ใบมะขาม, ใบส้มป่อย, ใบส้มเสี้ยว, เปลือกส้มโอ และสมุนไพรอื่น ๆ

5.3. 3.อยู่ในกระโจม โดยไม่ควรเกิน 15 นาที ให้เหงื่อไหลออกมา หลังจากนั้นสามารถนำน้ำอุ่นที่เหลือมาอาบได้เพื่อล้างคราบเหงื่อก็เป็นอันเสร็จ