
1. ความสำคัญ
1.1. มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ประกอบกิจการงานใด หรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ก็ต้องสื่อสารด้วยการพูดเสมอ จึงมักพบว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในกิจธุระการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่น ตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม ล้วนแต่เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นส่วนหนึ่งของการพูดสามารถสอนและฝึกได้
2. มารยาทในการพูด
2.1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
2.1.1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
2.1.2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขาพูดยังไม่จบ
2.1.3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
2.1.4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน
2.2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
2.2.1. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
2.2.2. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
2.2.3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
2.2.4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
2.2.5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
2.2.6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
2.2.7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
2.2.8. พูดให้ดังพอได้ยินทั่วกันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
3. ประเภทของการพูด
3.1. การพูดระหว่างบุคคล
3.1.1. การทักทายปราศัย
3.1.2. การแนะนำตนเอง
3.1.3. การสนทนา
3.2. การพูดในกลุ่ม
3.2.1. เป็นเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มได้ซักถาม แสดงความคิดเห็น หรือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาเล่าให้ฟังกัน