อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 1

นักเรียนดูภาพในกิจกรรม “อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา” แล้วให้ร่วมกันวิเคราะห์อัตลักษณ์ของประเทศที่กำหนดให้เป็น MindMapping 1 ชิ้น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 1 by Mind Map: อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา  กลุ่ม 1

1. ไทย

1.1. การแต่งกาย

1.1.1. ผู้ชาย : สวมเสื้อพระราชทาน เป็นเสื้อคอตั้ง มีสาบอก กระดุมกลมแบนผ้าสีเดียวกับตัวเสื้อ นุ่งกางเกงขายาว

1.1.2. ผู้หญิง : ชุดไทยจักรีเป็นชุดไทยแบบหนึ่งของชุดไทยพระราชนิยม ชุดไทยจักรีประกอบด้วยเสื้อตัวที่ไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มสไบปักดิ้นทองทิ้งชายยาวด้านหลังพอสมควร นุ่งผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว มีจีบยกข้างหน้าและชายพก คาดเข็มขัดไทย

1.2. ศาสนา

1.2.1. ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท

1.3. วัฒนธรรม

1.3.1. วัฒนธรรมและประเพณี ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์

2. มาเลเซีย

2.1. การแต่งกาย

2.1.1. ชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) เป็นเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวคลุมถึงสะโพก ผ่าด้านหน้าแต่ไม่มีกระดุม จะใช้เข็มกลัดสามอันกลัดแทนกระดุม สวมกับกางเกงขายาว แล้วคลุมทับด้วยโสร่งสั้นเหนือเข่า ตัวเสื้อและกางเกงนิยมตัดจากผ้าที่มีลวดลายและสีสันเดียวกัน ส่วนชุดของผู้หญิงจะเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju kurung) เป็นเสื้อคลุมแขนยาวใส่กับกระโปรงยาว ผ้าที่ใช้โดยมากเป็นผ้าซองเก็ต (Songket) ซึ่งเป็นผ้าที่ทออย่างประณีต มีลวดลายสวยงา

2.2. ศาสนา

2.2.1. ชาวมาเลเซียประมาณร้อยละ 60 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19 นับถือ ศาสนาพุทธ และ ร้อยละ 12 นับถือศาสนาคริสต์

2.3. วัฒนธรรม

2.3.1. เนื่องจากประเทศมาเลเซียประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย ด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติภายในประเทศ ทำให้เกิดการหล่อหลอมของวัฒนธรรมและส่งผลต่อ การดำรงชีวิตของชาวมาเลเซีย จึงเกิดประเพณีที่สำคัญมากมาย อาทิเช่น การรำซาบิน (Zapin) ซึ่งเป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ , เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่

3. เวียดนาม

3.1. การแต่งกาย

3.1.1. ผู้หญิง : นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี ผู้ชาย : แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันนิยมแต่งตามแบบสากล

3.2. ศาสนา

3.2.1. ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน

3.3. วัฒนธรรม

3.3.1. เนื่องจากประเทศเวียดนามโดนปกครองโดยประเทศจีนมาหลายครั้ง จึงทำให้วัฒนธรรมคล้ายคลึงกับประเทศจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านศิลปของโบราณสถานต่างๆ เช่น พระราชวัง วัด สุสาน

4. ลาว

4.1. การแต่งกาย

4.1.1. ผู้ชาย : ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด

4.1.2. ผู้หญิง : ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้

4.2. ศาสนา

4.2.1. ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ

4.3. วัฒนธรรม

4.3.1. วัฒนธรรมและลักษณะประจำชาติ มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทน รักอิสระเสรี รักหมู่คณะ ไม่ชอบการเบียดเบียนข่มเหง เป็นชาติที่รักสงบ มีความเคารพนับถือในบรรพบุรุษ นับถืออาวุโสทางอายุเป็นเกณฑ์สำคัญ มีอิสระในการเลือกคู่ครอง และมักจะศึกษาจิตใจกันก่อน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ เช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไป