อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 2

นักเรียนดูภาพในกิจกรรม “อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา” แล้วให้ร่วมกันวิเคราะห์อัตลักษณ์ของประเทศที่กำหนดให้เป็น MindMapping 1 ชิ้น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 2 by Mind Map: อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 2

1. ไทย

1.1. การแต่งกาย

1.1.1. "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยของสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน" ส่วนสุภาพสตรี จะมีสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาส

1.2. วัฒนธรรมและประเพณี

1.2.1. ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย เช่น ประเพณี ความเชื่อ จิตรกรรม

1.3. ศาสนา

1.3.1. ประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความเสรีในด้านการนับถือศาสนา คนไทยจึงเลือกนับถือศาสนาต่างๆ ได้ตามความสมัครใจ โดยประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณีส่วนใหญ่ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน

2. ลาว

2.1. การแต่งกาย

2.1.1. ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

2.2. ศาสนา

2.2.1. ประชากรลาวประมาณร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี(Animism) ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตามแต่ละท้องถิ่นที่เหลือเป็นคริสต์ มุสลิม และอื่นๆ แม้ว่าทางรัฐบาลลาวให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่พุทธศาสนาแบบเถรวาท ได้นำมาสร้างอำนาจความชอบธรรมในการปกครองของรัฐและเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาวซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านเดียวกับไทย

2.3. วัฒนธรรม

2.3.1. มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทน รักอิสระเสรี รักหมู่คณะ ไม่ชอบการเบียดเบียนข่มเหง เป็นชาติที่รักสงบ มีความเคารพนับถือในบรรพบุรุษ นับถืออาวุโสทางอายุเป็นเกณฑ์สำคัญ มีอิสระในการเลือกคู่ครอง และมักจะศึกษาจิตใจกันก่อน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ เช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไป การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมเกล้าผม นุ่งผ้าซิ่น และมีสไบเฉียงพาดไหล่ ผู้ชายแต่งกายเช่นเดียวกับคนไทยในภาคอีสาน ส่วนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นิยมแต่งกายตามประเพณีของเผ่า ที่อยู่อาศัย บ้านเป็นหลังคาทรงแหลมชะลูด ยกพื้น สร้างด้วยไม้ อาหารการกิน อาหารหลักคือข้าวเหนียวและลาบ เช่นเดียวกับชาวอีสานของไทย การดนตรี เครื่องดนตรีประจำภาคคือ แคน และการแสดงคือ หมอลำแคน ส่วนการฟ้อนรำและดนตรีส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากไทย

3. มาเลเซีย

3.1. การแต่งกาย

3.1.1. ผู้หญิง นุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม สวมเสื้อคอยูแขนยาวถึงข้อมือ ปล่อยชายเสื้อไว้นอกโสร่ง บางคนจะมีผ้าบาง ๆ คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาวมาลายูชอบใช้เสื้อผ้า สีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต ๆ สลับสีกัน ชาวจีนแต่งกายแบบจีนเรียกว่า “กี่เพ้า” หรือ “ฉ่งชำ” ทำด้วยผ้าเป็นดอกดวง ฉูดฉาด ชาย นุ่งโสร่งเป็นตา และสวมเสื้อแขนยาว บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ คนแก่มัก มีผ้าห้อยไหล่

3.2. ศาสนา

3.2.1. ชาวมาเลเซียสามารถนับถือและประกอบพิธีทางศาสนาได้อย่างอิสระ ด้วยเหตุนี้ มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางจิตวิญญาณ ทุกศาสนาอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หากคุณไปเยือนมาเลเซีย บ่อยครั้งคุณจะเห็นสุเหร่า โบสถ์คริสต์ วัดพุทธ และวัดฮินดู ตั้งเรียงรายกันอยู่บนถนนเส้นเดียวกัน ในขณะที่สมาชิกในครอบครัวใหญ่ของมาเลเซียอาจนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอิสลามหรือคริสต์ อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)

3.3. สังคมและวัฒนธรรม

3.3.1. ในด้านสังคมและวัฒนธรรมของมาเลเซียแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป เช่น ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong ที่ยึดถือทางฝ่ายบิดาเป็นผู้รับมรดกสืบทอด เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู (ยกเว้นรัฐเนกรีเซมบีลัน) ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคมะละกาแผ่ขยายไปรัฐต่างๆ ทั่วแหลมมลายูขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemanggungan จากเกาะสุมาตรา มีการผสมผสานเข้ากับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้วเกิดเป็นกฎหมายที่แตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka) กฎหมายโยโฮร์ (Undang-Undang Johor) และกฎหมายเคดะห์ (Undang-Undang Kedah)

3.3.2. ส่วนชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih เป็นขนบธรรมเนียมที่่ยึดถือในรัฐเนกรีเซมบีลันและบางส่วนของรัฐมะละกา ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ คือ Datuk Nan Sebatang ซึ่งเป็นพี่น้องของ Datuk Ketumanggungan และความโดดเด่นของ Adat Minangkabau หรือ Adat perpatih คือ จะยึดถือทางฝ่ายมารดา (Matrilineal) หมายถึง อำนาจต่างๆ และทรัพย์มรดกจะถูกสืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งทางสายเลือดของมารดา มรดกของชาว Minangkabau จะเป็นของบุตรสาว

4. เวียดนาม

4.1. การแต่งกาย

4.1.1. ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า

4.1.2. ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

4.2. ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม จึงมีพื้นฐานด้านจิตใจที่อุดมและลุ่มลึกทั้งยังยอมรับนับถือลิทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า และศานาคริสต์นิกายคาทอลิก อย่างไรก็ดี เวียดนาม ไม่มีศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญเวียดนามบัญญัติให้ประชาชนมีเสรี ในการเลือกนับถือศาสนา ประชากรเวียดนามส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ และที่เหนือนับถือศาสนาอื่นๆ อีก 3 เปอร์เซ็นต์

4.3. ศาสนา

4.4. วัฒนธรรม

4.4.1. วัฒนธรรมพื้นบ้าน

4.4.2. สิ่งก่อสร้าง รูปทรงและศิลป์การตกแต่งนับตั้งแต่ตึกรามบ้านช่องของคนเวียดนามยังคงมี รูปลักษณ์ของจีนอยู่มากแต่บางพื้นที่ก็มีศิลป์ของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น อยู่อย่างกลมกลืน แต่เท่านี้สิ่งสังเกต ศิลป์ของเวียดนามจากสถานที่สำคัญๆ แม้จะเป็นศิลป์วัฒนธรรมของจีนแต่ในส่วนที่เป็นการตกแต่งดูจะมี ความอ่อนไหวกว่าเล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็มองเหมือนศิลป์จีนชัดเจน

4.4.3. ศิลปพื้นบ้านที่เด่นๆเท่าที่สังเกตก็คล้ายกับของไทย เช่น เครื่องจักรสาน เครื่องปั้นดินเผาควรทำ โดยไฟจากกระดาษ แต่ในเรื่องของดนตรียังมีกลิ่นไอของเพลงจีนอยู่อย่างแนบแน่น เครื่องดนตรีเพียง ๒ - ๓ ก็สามารถสร้างความไพเราะได้อย่างน่าชม

4.4.4. อาหารเวียดนาม

4.4.5. สำหรับอาหารของเวียดนาม เป็นอาหารที่คนไทยรู้จักมาอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นอาหารที่มีผักเป็น เครื่องแกล้ม และไม่ค้อยมีไขมัน ปัจจุบันร้านอาหารเวียดนามมาแพร่หลายในกรุงเทพฯอย่างกว้างขวาง ซึ่ง สมัยก่อนจะรับประทานอาหารเวียดนามต้องไปแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดหนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี ฯลฯ แต่เมื่อได้ไปสัมผัสกับเจ้าของตำรับจริงๆกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากรสชาติที่ค่อนข้างจืดชืด