1. เรื่องน่ารู้
1.1. พระราชทานบรรดาศักดิ์
1.1.1. ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ เป็นชาวตะวันตกคนที่ ๒ ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากัลยาณไมตรีชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นพระยากัลยาณไมตรี
1.2. โดยใน พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๕๑ เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หลังจากนั้นเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๘ จึงกราบถวายบังคมลาออกกลับไปสหรัฐอเมริกา เวสเตนการ์ดได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔
2. ผลงานที่สำคัญ
2.1. พระยากัลยาณไมตรี ก็มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี ร่างนั้นมีเพียง ๑๒ มาตรา เรียกว่าเป็น “Outline of Preliminary Draft”
2.1.1. มาตรา ๑ ว่าด้วยการยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร
2.1.2. มาตรา ๒ - มาตรา ๖ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งบริหารราชการแผ่นดินโดยรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีและถอดถอนรัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารกระทรวงต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีประชุมปรึกษากันแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องนำข้อราชการสำคัญขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย
2.1.3. มาตรา ๗ กำหนดการแต่งตั้งคณะอภิรัฐมนตรีให้มีอำนาจหน้าที่ถวายคำปรึกษา
2.1.4. มาตรา ๘ สภาองคมนตรี
2.1.5. มาตรา ๙ กำหนดตำแหน่งรัชทายาท
2.1.6. มาตรา ๑๐ กำหนดเรื่องศาลฎีกาและศาลต่างๆ ภายใต้พระราชอำนาจ
2.1.7. มาตรา ๑๑ กำหนดให้อำนาจนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์
2.1.8. มาตรา ๑๒ กำหนดให้สภาองคมนตรีโดยคะแนนเสียง ๓ ใน ๔ ถวายคำแนะนำให้แก้รัฐธรรมนูญได้
2.2. พระยากัลยาณไมตรี ยังได้ไปเจรจาในการขอแก้ไขสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างประเทศสยามกับประเทศต่างๆ โดยเดินทางไปยังประเทศเหล่านั้นเพื่อเจรจาโดยตรง ฟันฝ่าอุปสรรถมากมายจนได้ข้อสรุปกับ ๑๑ ประเทศ เป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต รวมทั้งยกเลิกข้อกำหนดซึ่งจำกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้า ซึ่งได้ทำให้ประเทศสยามมีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ในบรรดา ๑๑ ประเทศนั้น ๖ ประเทศ ดำเนินการแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ และอีก ๕ ประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ ๗
3. ชีวิตบั้นปลาย
3.1. ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ พระยากัลยาณไมตรี ก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการของสยามก็ได้กลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา ไปเป็นอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ยังคงถือว่าเป็นข้าราชการไทยอยู่โดยไม่รับเงินเดือน
3.2. ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยประจำศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
3.3. ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3.4. ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๕ ได้ทำงานให้กับสำนักงานบรรเทาทุกข์และบูรณะฟื้นฟู ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นองค์การบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูของสหประชาชาติ (UNRRA) ไปดำเนินงานในประเทศต่างๆ แถบอาหรับ แอฟริกา อเมริกาใต้ และยุโรป ซึ่งครั้งนี้ท่านได้เป็นที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง
3.5. ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศสหรัฐอเมริกาในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ ๒
3.6. ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ท่านได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อปฏิบัติงานด้านส่งเสริมศาสนาคริสเตียนและระบอบประชาธิปไตย
3.7. ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยครั้งแรกหลังจากลาออกจากราชการไทย
3.8. ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งสุดท้าย
3.9. ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านของท่านในกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕ รวมอายุได้ ๘๖ ปี
4. อ้างอิง http://personinhistory.exteen.com/page-6 , https://www.youtube.com/watch?v=G_KVJrR2dKc
5. พระราชประวัติ
5.1. ประวัติ
5.1.1. พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี.แซร์ เป็นชาวอเมริกา
5.1.2. บุตรของนายโรเบิรต์ และนางมาร์ธา ฟินเล่ย์ เนวิน
5.1.3. เกิดทางตอนใต้ของเมืองเซาท์เบทเลเฮม เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘
5.2. การสมรส
5.2.1. ได้สมรสกับนางสาวเจสซี วูดโรว์ วิลสัน หลังจากภรรยาคนแรกถึงแก่กรรม ก็ได้สมรสอีกครั้งกับนางเอลิซาเบธ อีแวนส์ เกรฟส์
5.3. การศึกษา
5.3.1. จบการศึกษาจากวิทยาลัยวิลเลียมส์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒
5.3.2. ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕
5.3.3. ปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑
5.4. ประสบการณ์การทำงาน
5.4.1. เป็นผู้ช่วยอธิการบดีวิทยาลัยวิลเลียมส์ (Williams College) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ – ๒๔๖๐
5.4.2. เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย Princeton ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔๖๔
5.4.3. เป็นอาจารย์วิชาการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๔๖๖
5.4.4. เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ในวิชากฎหมาย
5.5. วิดิโอ
5.5.1. วิดิโอ