1. นิราศลอนดอน
1.1. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หม่อมราโชทัยได้เรียนภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีจนมีความรู้ในภาษาอังกฤษดี ใน พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักอังกฤษ โดยได้พรรณนาและบรรยายถึงเหตุการณ์เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทาง นับเป็นเหตุการณ์สำคัญก่อนที่ไทยจะเปิดประตูรับอารยธรรมจากต่างประเทศในการวางรากฐานความเจริญของบ้านเมืองต่อมา ซึ่งหมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้นำมาพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2402 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2408
1.2. ลักษณะการประพันธ์
1.2.1. แต่งโดยใช้กลอนนิราศ ในรูปแบบจดหมายเหตุการณ์เดินทางแล้วตามด้วยบทร้อยกรอง
1.3. จุดมุ่งหมายในการแต่ง
1.3.1. เพื่อพรรณนาและบรรยาย ถึงเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการเดินทางของผู้แต่ง
1.4. เนื้อเรื่องย่อ
1.4.1. คณะราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาร พร้อมทั้งเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียณ พระราชวังวินเซอร์ (พระราชวังประจำฤดูหนาว) ซึ่งทำให้ได้รับผลดีคือมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ โดยที่ไทยได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จากนั้นคณะราชทูตไทยได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำและน้ำชาและได้พักค้างแรม ณ พระราชวังวินเซอร์ 1 คืน ต่อมาจึงได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญๆ เช่น โรงพยาบาล โรงงานทำเหรียญกษาปณ์ ป้อมศาสตราวุธแห่งลอนดอน
1.5. คุณค่าทางวรรณศิลป์
1.5.1. 1.มีกลวิธีดำเนินเรื่องเป็นไปตามลำดับเวลาและสถานที่ 2.มีการเลือกใช้คำซึ่งมีทั้งคำราชาศัพท์ คำภาษาต่างประเทศ จนถึงคำที่ใช้ในร้อยกรองทั่วไป 3.ได้มีการใช้ภาษาที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก สอด แทรกไว้ในเนื้อความบางตอน 4.มีการใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ทำให้การพรรณนาบรรยายในเนื้อเรื่องออกมาอย่างชัดเจน 5.เนื้อหามีลักษณะเป็นสารคดีปนอยู่ด้วย 6.มีการเปรียบเทียบถึงสิ่งที่เคยและไม่เคยพบเห็น รวมทั้งมีการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
1.6. คุณค่าทางสังคม
1.6.1. เหตุการณ์ในนิราศลอนดอนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญของไทยก่อนที่ไทยจะเปิดประตูบ้านรับอารยธรรมจากต่างประเทศเข้ามา สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมของประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษกับไทย สะท้อนฐานะของไทยในสายตาต่างชาติ
1.7. คณะราชทูตไทย
1.7.1. ทูต
1.7.1.1. 1.พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ราชทูต) 2.เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี (อุปทูต) 3.จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ (ตรีทูต)
1.7.2. ล่าม
1.7.2.1. 1.หม่อมราโชทัย (ล่ามหลวง) 2.ขุนปรีชาชาญสมุทร 3.ขุนจรเจนทะเล
1.7.3. ผู้ควบคุมเครื่องราชบรรณาการ
1.7.3.1. 1.หมื่นราชามาตย์ 2.นายพิจารณ์สรรพกิจ