พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี  (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี  (คอซิมบี้ ณ ระนอง) by Mind Map: พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี  (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

1. คุณธรรม

1.1. มีความเป็นผู้นำ

1.2. เห็นคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์

1.3. มีความรับผิดชอบ

1.4. มีความอดทน

2. ผลงาน

2.1. ด้านการปกครอง

2.1.1. หลักพ่อปกครองลูก ทำนองเดียวกับที่ใช้ในยุคสุโขทัย

2.1.2. ยึดหลักในการแบ่งงาน และความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

2.2. ด้านการส่งเสริมอาชีพราษฎร

2.3. ด้านการคมนาคม

2.3.1. ให้ความสำคัญเป็นที่สุด โดยเฉพาะการสร้างถนน

2.4. ด้านการรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย

2.4.1. ราษฎรทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่โดยเพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะทอดธุระให้แก่เจ้าพนักงาน บ้านเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้

2.5. ด้านการศึกษา

2.5.1. ใช้วัดเป็นโรงเรียน จัดหาครูไปสอน บางครั้งก็นิมนต์พระสงฆ์ไปสอน

2.5.2. คัดเลือกบุตรหลานข้าราชการ ผู้ดีมีสกุลในจังหวัดต่าง ๆ ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ปีนัง

2.6. ด้านการสาธารณสุข

2.6.1. ณรงค์เรื่องความสะอาด บังคับให้ราษฎรดูแลบ้านเรือน ให้สะอาดเรียบร้อย

3. “ความร่ำรวยในอาชีพด้านการเกษตรนั้น คือ ความร่ำรวยของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป และนั่นก็คือความมั่นคงของชาติอันเป็นส่วนรวม”

4. บทเพลงหนึ่งศตวรรษของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี  (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

5. ประวัติ

5.1. เกิดที่จังหวัดระนองเมื่อวันพุธ เดือนห้า ปีมะเส็ง ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. 2400 เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซูเจียง ณ ระนอง) และนางกิม

5.2. เมื่ออายุได้ 9 ปี ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่ลงลายมือชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา

5.3. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล

5.3.1. การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน

5.3.2. ส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร

5.3.3. ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน

5.4. พระยารัษฎานุประดิษฐ์เป็นข้าราชการชาวไทย ระหว่างเป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต และเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ระนอง

5.5. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังนาน 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง

5.6. พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456 ณ บ้านจักรพงษ์ ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกคนสนิทยิงพร้อมกับพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) หลานชาย ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 สิริอายุได้ 56 ปี

6. ละครสั้นประวัติของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

7. อ้างอิง

7.1. http://lc.dpim.go.th/kb/1006

7.2. http://guru.sanook.com/4299/

7.3. https://www.youtube.com/watch?v=d789XaRPnmw

7.4. https://www.youtube.com/watch?v=RJSB3hqWFbY

7.5. https://www.youtube.com/watch?v=KZ5lsXez49A

8. จัดทำโดย

8.1. นางสาวธิปนรา  พันธุ์ประยูร  ม.6/3 เลขที่ 20   โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย