1. เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
1.1. การจัดระเบียบราชการและพระราชานุกิจ
1.1.1. มีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินปัญหาในการจัดพระราชานุกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
1.1.1.1. ด้านการศึกษา
1.1.1.2. ขนบธรรมเนียมประเพณี
1.1.1.3. การออกว่าราชการ
1.1.1.4. การเสด็จออกรับฎีกา
1.1.1.5. การเสด็จประพาสในประเทศและต่างประเทศ
1.1.1.6. พระจริยาวัตร
1.1.2. อาศัยแนวคิด 2 ประการ
1.1.2.1. การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมืองนั้น ไม่ได้เอาอำนาจไว้แต่ในตัวผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเท่านั้น แต่เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือพร้อมเพรียงกันของข้าราชการผู้ชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร
1.1.2.2. การฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้เอง
1.2. การก่อสร้างและการบำรุงการคมนาคม
1.2.1. สร้างประภาคารที่มีพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
1.2.1.1. บริจาคทรัพย์ส่วนตัว
1.2.1.2. ควบคุมการก่อสร้าง
1.2.1.3. ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ
1.2.1.4. ยกประภาคารแห่งนี้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
1.2.1.5. ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Regent Lighthouse แปลว่า ประภาคารของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
1.2.1.6. ชื่อภาษาไทยว่า ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา
1.2.1.7. คนทั่วไปเรียกว่า กระโจมไฟสันดอน
1.2.1.8. เป็นประโยชน์ในด้านการเดินเรือ
1.2.2. เป็นแม่กองในการก่อสร้างและบูรณะสถานที่ต่าง ๆ
1.2.2.1. พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
1.2.2.2. พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
1.2.2.3. พระอภิเนาว์นิเวศน์ ภายในพระบรมมหาราชวัง
1.2.2.4. ขุดคลอง
1.2.2.4.1. คลองผดุงกรุงเกษม
1.2.2.4.2. คลองดำเนินสะดวก
1.2.2.5. ก่อสร้างถนน
1.2.2.5.1. ถนนเจริญกรุง
1.2.2.5.2. ถนนตรง
1.2.2.5.3. ถนนสีลม
1.3. กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี
1.3.1. ร่วมกับคณะเสนาบดีร่างถวายทรงทราบเพื่อลงพระปรมาภิไธย
1.3.2. ริเริ่มประเพณีทำบุญวันเกิดเป็นครั้งแรกเมื่ออายุครบ 50 ปี
1.4. การบำรุงวรรณกรรม การละครและดนตรี
1.4.1. มีความสนใจและมีบทบาทในการทะนุบำรุงและเผยแพร่วรรณกรรม
1.4.2. วรรณกรรมจีน
1.4.2.1. แปลพงศาวดารจีนออกเป็นภาษาไทย
1.4.2.1.1. ออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้การพิจารณาคดีในศาลรวดเร็วขึ้น
1.4.2.1.2. ไซจิ๋น
1.4.2.1.3. ตั้งจิ๋น
1.4.2.1.4. น่ำซ้อง
1.4.2.1.5. ซ้องกั๋ง
1.4.2.1.6. หนำอิดซือ
1.4.2.1.7. เม่งฮวดเชงฌ้อ
1.4.3. จัดพิมพ์วรรณกรรมไทย
1.4.3.1. อิเหนา
1.5. การรักษาความสงบภายในประเทศ
1.5.1. ใช้ความสามารถและความเด็ดขาดระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ
1.5.1.1. ความวุ่นวายในช่วงผลัดแผ่นดิน
1.5.1.2. ต่างชาติใช้เหตุอ้างว่าสยามไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเพื่อเข้าแทรกแซงประเทศ
2. ก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
2.1. การให้ความอุปถัมภ์ชาวต่างประเทศ
2.1.1. ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศ
2.1.2. รับความเจริญมาจากชาติตะวันตก
2.1.3. เห็นถึงความสำคัญของวิชาความรู้ วิทยาการ และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
2.1.3.1. การแพทย์
2.1.3.2. การพิมพ์
2.1.3.3. การรักษาพยาบาล
2.1.4. ให้ความอุปการะอำนวยความสะดวกแก่หมอสอนศาสนา
2.1.5. คอยติดต่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
2.1.5.1. เป็นนายช่างไทยคนแรกที่สามารถต่อเรือแบบฝรั่งได้
2.1.6. สามารถต่อ "เรือกำปั่น" ได้เอง
2.2. การติดต่อกับต่างประเทศ
2.2.1. ติดต่อและต้อนรับชาวต่างประเทศและคณะทูต
2.2.2. รับคณะทูตนำโดยเซอร์จอห์น เบาริงที่ปากน้ำ
2.2.3. ร่วมเป็นหนึ่งในคณะผู้แทนสยาม 5 คน
2.2.3.1. เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางการค้า (สนธิสัญญาเบอร์นี)
2.2.4. ลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ฉบับใหม่
2.2.4.1. วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398
2.2.4.2. สนธิสัญญาเบาริง
2.3. การทหาร
2.3.1. จัดกรมทหารแบบยุโรป
2.3.2. โรงทหารตั้งอยู่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงศ์
2.3.3. สนามฝึกหัดอยู่ข้างวัดบุปผาราม
2.3.4. ช่วยบิดาด้านทหารเรือ
2.3.4.1. สนใจเรียนรู้ในวิทยาการใหม่
2.3.4.2. เรียนวิธีต่อกำปั่นแบบใหม่
2.3.4.3. เป็นนายช่างไทยที่สามารถต่อเรือฝรั่งแบบฝรั่งสำเร็จเป็นคนแรก
2.3.4.3.1. ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร"
2.3.4.4. ได้รับการยกย่องจากกองทัพเรือเป็นผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวงท่านแรก
2.4. การอัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์
2.4.1. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต
2.4.2. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงมีอำนาจยิ่งใหญ่ในราชการแผ่นดิน
3. ความรับผิดชอบในชีวิตราชการ
4. เกียรติคุณและอนุสรณ์
4.1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
4.1.1. ทางราชการได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่
4.1.2. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2458
4.1.3. ตราประจำโรงเรียน คือ รูปเสมาสุริยมณฑล
4.2. แสตมป์
4.2.1. เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปี ชาตกาล
4.2.2. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551
5. ผู้จัดทำ
5.1. นางสาวณัฐนิช วงค์ไข่ ม.6/3 เลขที่ 19
6. พ.ศ. 2394 อายุได้ 43 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมันพงศพิสุทธิ มหาบุรุษรัตโนดม ว่าที่สมุหพระกลาโหม
7. ประวัติ
7.1. เป็นบุตรชายคนโต
7.1.1. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
7.1.2. ท่านผู้หญิงจันทร์
7.2. เกิด
7.2.1. ปีมะโรง วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ
7.2.2. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2351
7.3. มีพี่น้อง 9 คน แต่มีชีวิตเพียง 4 คน
7.3.1. เจ้าคุณหญิงแข (เจ้าคุณตำหนักใหม่)
7.3.2. เจ้าคุณหญิงปุก (เจ้าคุณกลาง)
7.3.3. เจ้าคุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย)
7.3.4. พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)
7.4. การศึกษา
7.4.1. ในวัยเยาว์เรียนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
7.4.2. เมื่อเติบใหญ่เล่าเรียนวิชาที่บ้านจากบุคคลในตระกูล
7.4.3. ศึกษาราชการต่างๆ จากบิดา
7.5. การรับราชการ
7.5.1. บิดาได้นำท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7.5.1.1. ช่วยบิดาทำงาน
7.5.1.1.1. ด้านการคลัง
7.5.1.1.2. ด้านกรมท่า
7.5.1.1.3. ติดต่อกับต่างประเทศ
7.5.2. หลังจากการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
7.5.2.1. ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
7.5.2.2. มีอำนาจบรมอิสริยยศบรรดาศักดิ์ 30,000 ไร่
7.5.2.3. ดำรงตรามหาสุริยมณฑล
7.5.2.4. บังคับบัญชาสิทธิขาดราชการแผ่นดินในกรุงนอกกรุงทั่วพระราชอาณาจักร
7.5.2.5. สำเร็จสรรพอาญาสิทธิประหารชีวิตคนที่ถึงอุกฤษฏโทษมหันตโทษได้
7.5.3. ดำรงบรรดาศักดิ์ ระดับ "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้ายของประวัติศาสตร์ไทย
7.6. สมรส
7.6.1. ท่านผู้หญิงกลิ่น
7.6.1.1. มีบุตรธิดา 4 คน บุตรชาย 1 คน
7.6.1.1.1. เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
7.6.1.1.2. คุณหญิงกลาง ภรรยาพระยาสีหราชฤทธิไกร (แย้ม บุณยรัตพันธุ์)
7.6.1.1.3. คุณหญิงเล็ก
7.6.1.1.4. คุณหญิงปิ๋ว
7.6.2. ท่านผู้หญิงพรรณ
7.6.3. ท่านผู้หญิงหยาด
7.6.4. ท่านผู้หญิงปราง
7.7. บั้นปลายชีวิต
7.7.1. ชอบออกไปตรวจราชการตามหัวเมืองต่าง ๆ
7.7.2. พำนักอยู่ที่เมืองราชบุรีเป็นส่วนใหญ่
7.8. ถึงแก่พิราลัย
7.8.1. โรคลม
7.8.2. สิริอายุได้ 74 ปี 27 วัน
7.8.3. 19 มกราคม พ.ศ. 2425
8. เกียรติยศ
8.1. บรรดาศักดิ์
8.1.1. พ.ศ. 2369 อายุได้ 18 ปี เป็นนายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร
8.1.2. พ.ศ. 2376 อายุได้ 25 ปี เป็นหลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์
8.1.3. พ.ศ. 2384 อายุได้ 33 ปี เป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก
8.1.4. พ.ศ. 2385 อายุได้ 34 ปี รัชกาลที่ 3 ทรงเพิ่มสร้อยนามพระราชทานว่า “จมื่นไวยวรนาถ ภักดีศรีสุริยวงศ์”
8.1.5. พ.ศ. 2393 อายุได้ 42 ปี เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ วางจางมหาดเล็ก
8.1.6. พ.ศ. 2398 อายุได้ 47 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่ง
8.1.7. พ.ศ. 2412 อายุได้ 61 ปี เลื่อนยศเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
8.1.8. พ.ศ. 2416 อายุได้ 65 ปี เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
8.2. เครื่องยศ
8.2.1. มาลาเครื่องยศ
8.2.2. เสื้อทรงประพาส
8.2.3. ดาบฝักทอง
8.2.4. พานหมากทองคำ
8.2.5. คนโททองคำ
8.2.6. กระโถนทองคำ
8.2.7. หีบไม้แดงลงยา (หีบหมากทองคำลงยา)
8.2.8. ที่ยาทองคำ
8.3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
8.3.1. พ.ศ. 2415 เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ฝ่ายหน้า
8.3.2. พ.ศ. 2412 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
8.3.3. พ.ศ. 2416 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า
8.3.4. พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2416 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 มหาวราภรณ์
8.3.5. พ.ศ. 2419 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์
8.4. ดวงตราประจำตัว
8.4.1. ตราสุริยมณฑล
8.4.1.1. มีลักษณะเป็นตราเทพบุตรชักรถ
8.4.2. ภายหลัง
8.4.2.1. ดัดแปลงเป็นรูปพระอาทิตย์แบบฝรั่ง
8.4.2.2. แบบตราพระอาทิตย์จากพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส